พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัว vs. สินสมรส: การยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนยึด
แม้ที่ดินพิพาทโฉนดที่ดินเลขที่ 20948 จะเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินกรรมสิทธิ์รวมโฉนดเลขที่ 2996 โดยที่ดินพิพาท 2,000 ส่วน ผู้ร้องรับโอนมาจาก จ. มารดาจากการยกให้โดยเสน่หาจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ส่วนที่ดินอีก 492 ส่วน ที่ผู้ร้องซื้อมาจาก น. ระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่โจทก์จะนำยึดที่ดินพิพาท ผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 492 ส่วน ให้แก่ ว. น้องสาวของผู้ร้องไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 492 ส่วนนั้นแล้ว คงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เฉพาะในที่ดิน 2,000 ส่วนเท่านั้น กรณีจึงไม่มีสินสมรสระคนปนอยู่ในที่ดินแปลงพิพาทอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นสินสมรส ทั้งพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบมาสนับสนุนให้เห็นว่าผู้ร้องและเจ้าของรวมอื่นได้แบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว กรณีจึงไม่เป็นที่สงสัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง สิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ร้องจึงมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 20948 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยที่ 2 กับผู้ร้อง ซึ่งโจทก์จะยึดนำออกขายทอดตลาดได้ จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร้องซ้ำ-การยึดทรัพย์-ปล่อยทรัพย์: ศาลฎีกาตัดสินคดีร้องซ้ำหลังคดีถึงที่สุดแล้ว และพิจารณาผลกระทบของการแก้ไขกฎหมายต่อระยะเวลาการยื่นคำร้อง
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างก่อน ป.วิ.พ. มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 มาตรา 20 มีผลใช้บังคับ คือ วันที่ 5 กันยายน 2560 แต่ผู้ร้องยื่นคําร้องขอปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดหลังจากวันดังกล่าว จึงต้องนําบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่มาบังคับใช้แก่คดี ซึ่งตามมาตรา 323 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "... ให้ยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคําร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคําร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคําร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย บุคคลนั้นจะยื่นคําร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น" เมื่อมีการยึดที่ดินพร้อมอาคารสิ่งปลูกสร้างวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ก่อนวันที่ ป.วิ.พ. มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับ การที่จะยื่นคําร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึดภายในระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันยึดทรัพย์โดยที่บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ยังไม่ใช้บังคับจึงไม่อาจกระทำได้ อีกทั้งก่อนคดีนี้ศาลชั้นต้นเคยพิพากษายกคําร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินมาก่อน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับฎีกา เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุด ผู้ร้องจึงมายื่นคําร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึดเป็นคดีนี้ จึงถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษแล้ว ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคําร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ยึด
ผู้ร้องเคยยื่นคําร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินมาก่อน ตามคําร้องคดีก่อนเป็นการขอให้ปล่อยทรัพย์สินอาคารโรงงานและบ้านพักคนงาน แต่คําขอท้ายคําร้องกลับขอให้ปล่อยทรัพย์สินบ้านพักคนงานและโรงเก็บของ ซึ่งโจทก์ยื่นคำให้การโต้แย้งไว้ชัดแจ้งแล้วว่า ผู้ร้องมิได้มีคําขอให้ปล่อยทรัพย์สินอาคารโรงงาน แต่ผู้ร้องมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จนศาลชั้นต้นคดีก่อนมีคําวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ปล่อยทรัพย์สินโรงเก็บของ มิได้ขอให้ปล่อยอาคารโรงงาน ให้ยกคําร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกามีคําสั่งไม่รับฎีกา คดีจึงถึงที่สุด แม้ผู้ร้องมายื่นคําร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินขึ้นใหม่เป็นคดีนี้โดยมีคําขอท้ายคําร้องขอครบถ้วน แต่ก็เป็นการยื่นคําร้องขอโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ผู้ร้องอาจแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนคําขอท้ายคําร้องในคดีก่อนเพื่อให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปพร้อมกับประเด็นคําร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินบ้านพักคนงาน การที่ผู้ร้องหยิบยกข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีก่อนมาร้องเป็นคดีนี้อีก เท่ากับเป็นการแก้ไขคําร้องขอในคดีเดิมให้สมบูรณ์ขึ้น ถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับผู้ร้องคดีก่อนรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นร้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ผู้ร้องเคยยื่นคําร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินมาก่อน ตามคําร้องคดีก่อนเป็นการขอให้ปล่อยทรัพย์สินอาคารโรงงานและบ้านพักคนงาน แต่คําขอท้ายคําร้องกลับขอให้ปล่อยทรัพย์สินบ้านพักคนงานและโรงเก็บของ ซึ่งโจทก์ยื่นคำให้การโต้แย้งไว้ชัดแจ้งแล้วว่า ผู้ร้องมิได้มีคําขอให้ปล่อยทรัพย์สินอาคารโรงงาน แต่ผู้ร้องมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จนศาลชั้นต้นคดีก่อนมีคําวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ปล่อยทรัพย์สินโรงเก็บของ มิได้ขอให้ปล่อยอาคารโรงงาน ให้ยกคําร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกามีคําสั่งไม่รับฎีกา คดีจึงถึงที่สุด แม้ผู้ร้องมายื่นคําร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินขึ้นใหม่เป็นคดีนี้โดยมีคําขอท้ายคําร้องขอครบถ้วน แต่ก็เป็นการยื่นคําร้องขอโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ผู้ร้องอาจแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนคําขอท้ายคําร้องในคดีก่อนเพื่อให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปพร้อมกับประเด็นคําร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินบ้านพักคนงาน การที่ผู้ร้องหยิบยกข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีก่อนมาร้องเป็นคดีนี้อีก เท่ากับเป็นการแก้ไขคําร้องขอในคดีเดิมให้สมบูรณ์ขึ้น ถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับผู้ร้องคดีก่อนรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นร้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการครอบครองปรปักษ์: การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องให้ปล่อยทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกในวันที่ 31 มกราคม 2561 โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 ซึ่งตามมาตรา 288 (เดิม) ให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอก่อนการขายทอดตลาด แต่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ มีผลให้ใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ให้ยื่นคำร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่ที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แม้มาตรา 21 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 จะบัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาของศาลและกระบวนวิธีการบังคับของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" ก็ตาม แต่ก็มิได้มีข้อความบัญญัติต่อไปว่า และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่เริ่มดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจนถึงที่สุดแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 การยื่นคำร้องขัดทรัพย์นับแต่นั้นจึงต้องดำเนินการตามความในมาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมาตรา 323 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยื่นคำร้องภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก คดีนี้เมื่อมีการยึดที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างก่อนวันที่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ใช้บังคับเช่นนี้ การที่จะให้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่กฎหมายใช้บังคับ ก็ไม่มีกฎหมายระบุให้เป็นเช่นนั้น กรณีถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษแล้ว และการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นการยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจถอนการยึดทรัพย์เอง ศาลต้องเป็นผู้ชี้ขาดสิทธิในทรัพย์สิน
เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำขอยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการในวันดังกล่าวตามคำขอของโจทก์ การยึดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลตามกฎหมาย ส่วนที่จำเลยที่ 4 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านไปก่อนในวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ตามคำขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ผู้คัดค้านคงมีสิทธิเพียงขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน ดังนั้น ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 4 หรือผู้คัดค้านซึ่งได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 4 ก่อนการยึดเพียง 2 วัน จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะวินิจฉัยเองว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านให้การยึดที่ดินพิพาทไม่มีผลตามกฎหมาย ทั้งในกรณีนี้ตามกฎหมายก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจถอนการยึดทรัพย์ได้เองและเรียกให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีได้ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้การยึดที่ดินพิพาทไม่มีผลเป็นการยึดตามกฎหมาย เรียกให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีมานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอให้ปล่อยที่ดินจากการบังคับคดี: อำนาจยื่นคำร้อง, ระยะเวลา, และเหตุสุดวิสัย
ผู้ร้องทั้งสองบรรยายคำร้องว่า ผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลในคดีแพ่งโดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งได้มีการแบ่งการครอบครองกันเป็นส่วนสัด อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของตน ขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ ส. และผู้ร้องที่ 2 หาได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องที่ 1 ด้วยไม่ ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้รับมอบอำนาจของ ล. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวเท่านั้น แม้ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ก็ไม่ทำให้ผู้ร้องที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ในฐานะส่วนตัว เมื่อผู้ร้องที่ 1 ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจยื่นคำร้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่การที่ผู้ร้องที่ 2 จะขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 นั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บุคคลที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยบุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนัดที่ 1 ในวันที่ 25 กันยายน 2561 และมีการงดการบังคับคดีไว้ ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จึงพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้นและช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรกแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนในกรณีนี้ได้ ผู้ร้องที่ 2 จะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอได้ทันภายในกำหนด แต่ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 คงอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของผู้ร้องที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งของศาลจังหวัดหนองคาย โดยไม่ได้อ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนดแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
ศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่การที่ผู้ร้องที่ 2 จะขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 นั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บุคคลที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยบุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนัดที่ 1 ในวันที่ 25 กันยายน 2561 และมีการงดการบังคับคดีไว้ ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จึงพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้นและช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรกแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนในกรณีนี้ได้ ผู้ร้องที่ 2 จะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอได้ทันภายในกำหนด แต่ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 คงอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของผู้ร้องที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งของศาลจังหวัดหนองคาย โดยไม่ได้อ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนดแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14219/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งเงินวางชำระหนี้ และสิทธิเจ้าหนี้รับเงินภายใน 5 ปี
เมื่อมีการวางเงินที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวางที่ศาลเพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป เมื่อมีการดำเนินการแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบแล้ว หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มารับเงินไปภายใน 5 ปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินค้างจ่ายจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดิน
หลังจากจำเลยทั้งสามนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือการดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยทั้งสามนำมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำแถลงของโจทก์ฉบับแรกว่า โจทก์มิได้เรียกเอาเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลภายใน 5 ปี จึงตกเป็นของแผ่นดิน ให้ยกคำแถลง และมีคำสั่งคำแถลงของโจทก์ฉบับที่สองว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำแถลง จึงไม่ถูกต้อง
หลังจากจำเลยทั้งสามนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือการดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยทั้งสามนำมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำแถลงของโจทก์ฉบับแรกว่า โจทก์มิได้เรียกเอาเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลภายใน 5 ปี จึงตกเป็นของแผ่นดิน ให้ยกคำแถลง และมีคำสั่งคำแถลงของโจทก์ฉบับที่สองว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำแถลง จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9982/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินวางประกันคดีล้มละลาย แม้ศาลมิได้แจ้ง และพ้นเวลา 5 ปี เหตุเงินมิได้ค้างจ่าย
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินวางประกันค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาลซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ปรากฏว่าศาลมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่ามีเงินวางประกันค่าใช้จ่ายคงเหลืออยู่ที่ศาลและโจทก์มีสิทธิรับเงินดังกล่าว เงินดังกล่าวจึงมิใช่เงินค้างจ่ายซึ่งจะตกเป็นของแผ่นดินตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์เพิ่งทราบว่ามีเงินคงเหลือและมีสิทธิรับเงินดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงได้ยื่นคำขอรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล กรณีจึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา 5 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินคงเหลือคืนได้ เงินดังกล่าวนั้นย่อมไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7345/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินวางประกันคดีล้มละลายเมื่อศาลไม่แจ้งหนี้ค้างชำระ ผู้มีสิทธิยังไม่ขาดสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินวางประกันค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาลซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงจะต้องนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าศาลมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่ามีเงินวางประกันค่าใช้จ่ายคงเหลืออยู่ที่ศาลและโจทก์มีสิทธิรับเงินดังกล่าว เงินดังกล่าวจึงมิใช่เงินค้างจ่ายซึ่งจะตกเป็นของแผ่นดินตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์เพิ่งทราบว่ามีเงินคงเหลือและมีสิทธิรับเงินดังกล่าวแล้วโจทก์จึงได้ยื่นคำขอรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล กรณีจึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา 5 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนได้ เงินดังกล่าวนั้นย่อมไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16134/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชำระหนี้ต่อศาล: ศาลต้องแจ้งเจ้าหนี้ หากไม่แจ้งเงินไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษานั้น เป็นการกระทำเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้โจทก์ทราบ หากโจทก์ทราบแล้วไม่มารับเงินภายในห้าปีนับแต่มีการวางเงิน เงินดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายและทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ เงินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14102/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาวางเงินชดใช้ค่าเสียหายเพื่อขอรอการลงโทษ แม้ศาลไม่อนุญาต ก็ไม่มีสิทธิถอนเงินคืน
การที่ระหว่างฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอวางเงิน 20,000 บาท ต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคำร้องของจำเลยให้นัดพร้อมเพื่อสอบถามผู้เสียหายว่าประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่แล้ว ทั้งฎีกาของจำเลยก็อ้างเหตุที่จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย เป็นเหตุหนึ่งที่ขอให้ศาลฎีการอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยด้วย เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว หรือมีเหตุอื่นดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา ก็มิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้แก่จำเลยเท่ากับศาลฎีกาได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแล้ว ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตามคำร้องของจำเลยที่ขอวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและศาลฎีกานำข้อเท็จจริงตามคำร้องดังกล่าวมาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นเพิ่งออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่การวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินดังกล่าวกลับไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น เมื่อต่อมาปรากฏตามคำร้องของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้