คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 323

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินวางศาลชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากเจ้าหนี้ไม่เรียกรับภายใน 5 ปี เงินตกเป็นของแผ่นดิน
เงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ตามที่ศาลออกคำบังคับ ถือได้ว่าเป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์ผู้มีสิทธิจะต้องเรียกเอาภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 มิใช่นับจากวันที่โจทก์ผู้มีสิทธิได้ทราบถึงการวางเงิน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับเอาแก่จำเลยได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในการจ่ายเงินจากการขายทอดตลาด และสิทธิของลูกหนี้ในการรับเงินคืน
เมื่อจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติสองขั้นตอน คือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยเมื่อจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเสร็จแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายเงินตามบัญชีนั้นต่อไป ดังนี้การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายแล้วยังมิได้มีคำสั่งหรือการดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เงินส่วนที่เหลือจึงไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาภายในห้าปีและไม่ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อจำเลยเรียกเอาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบังคับคดีที่เหลือให้ลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการจ่ายเมื่อทวงถาม มิเช่นนั้นยังไม่ถือเป็นเงินค้างจ่าย
เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว มีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติสองขั้นตอน คือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ขั้นตอนหนึ่ง และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายอีกขั้นตอนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายเงินตามบัญชีนั้นต่อไป ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316, 318 และ มาตรา 322 วรรคสอง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายแล้ว ปรากฏว่ายังมิได้มีคำสั่งหรือการ ดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เมื่อยังมีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติอีก เงินส่วนที่เหลือนี้จึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เรียกเอาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็น สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทอดตลาดหลังครบกำหนด 5 ปี: เงินไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องก่อนครบกำหนด
เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2532 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายการขายทอดตลาดให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคม2532 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินดังกล่าว และขอให้สั่งทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำบัญชีเพื่อตรวจจ่ายให้ต่อไปนั้น เท่ากับมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเพื่อตรวจสอบและมีคำสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการจ่ายเงินให้โจทก์ จนเมื่อมีการตั้งสำนักงานบังคับคดีจังหวัดมหาสารคามขึ้นแยกจากงานบังคับคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีอีกและเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินจำนวนดังกล่าวเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รายงานให้ศาลชั้นต้นทราบการปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องการทำบัญชีและขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวตามบัญชีนั้นให้แก่โจทก์นั่นเอง อันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ เพราะถือว่าโจทก์ยื่นคำแถลงขอรับหรือเรียกเอาแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2532 ในเวลาที่ยังไม่พ้นระยะ 5 ปี นับแต่วันที่ถือได้ว่าเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาได้ เงินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าฤชาธรรมเนียมค้างจ่ายเกิน 5 ปี ตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งคืน ศาลมีคำสั่งอนุญาต แต่โจทก์ไม่มารับ แสดงว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ ศาลสั่งอนุญาตให้คืนแก่โจทก์ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์มาแถลง ขอรับเงินดังกล่าวอีกเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาต ให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินไปแล้วตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ค้างจ่ายเกิน 5 ปี ทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งคืนตามคำพิพากษาตามยอม ศาลมีคำสั่งอนุญาต แต่โจทก์ไม่มารับ จึงเป็นเงินที่ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์มาแถลงขอรับอีกครั้งเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าฤชาธรรมเนียมค้างรับเกิน 5 ปี ตกเป็นของแผ่นดิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์15,000 บาท และได้สั่งอนุญาตให้โจทก์รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวไปตามคำแถลงขอรับเงินของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม2524 แล้ว แต่โจทก์ไม่มารับ แสดงว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้คืนแก่โจทก์ยังค้างจ่ายอยู่ในศาลเมื่อโจทก์เพิ่งมาขอรับเงินดังกล่าวในวันที่ 27 มิถุนายน 2533 ซึ่งพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ค้างจ่ายเกิน 5 ปี ทำให้ตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งคืน ศาลมีคำสั่งอนุญาต แต่โจทก์ไม่มารับ แสดงว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งอนุญาตให้คืนแก่โจทก์ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์มาแถลงขอรับเงินดังกล่าวอีกเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการเรียกรับเงินที่วางศาลตามคำพิพากษาตามยอม เริ่มนับจากวันที่วางเงิน ไม่ใช่วันที่รู้เรื่อง
เงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมนั้น ย่อมเป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 323 ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวจะต้องเรียกเอาภายใน 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาลอันเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเอาเงินนั้นได้ หาใช่นับจากวันที่โจทก์ได้รู้ว่ามีการวางเงินไม่ เมื่อโจทก์มิได้เรียกเอาเงินดังกล่าวภายใน 5 ปี เงินจำนวนนี้จึงตก เป็นของแผ่นดินและโจทก์เป็นอันสิ้นสิทธิที่จะขอรับไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค้างจ่ายในศาลตกเป็นของแผ่นดิน หากผู้มีสิทธิไม่เรียกรับภายใน 5 ปี แม้เป็นเงินชำระหนี้ตามคำบังคับ
เงินค้างจ่ายในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323 หมายถึงเงินทั้งหมดที่มีผู้นำมาวางไว้ในคดีและค้างจ่ายอยู่ในศาล มิได้จำกัดเฉพาะแต่เงินที่จำเลยนำมาวางศาลก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 135 เท่านั้น การที่จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำบังคับศาลชั้นต้นที่ออกคำบังคับนั้นมีอำนาจที่จะรับเงินไว้ได้เพราะเป็นศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาล เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323
of 6