คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1080

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นจากตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087 โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087
โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี แต่ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการให้จำเลยรับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068,1050 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดเจ้าหน้าที่ของโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ให้มาพบกับมีหมายเรียกให้มาไต่สวนให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนทั้งไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลประเมินภาษีแล้วให้จำเลยที่ 1ทราบ จำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ฉะนั้นภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นภาษีเด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 87 ทวิ,88,21 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีที่เจ้าพนักงานประเมิน ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ เจ้าหน้าที่ของโจทก์หมายเรียกมาสอบถามและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบแต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปไต่สวนและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ประเมินและแจ้งผลการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ทราบแล้วจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 71(1),21 จำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า500,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วน, อำนาจผู้ชำระบัญชี, การแต่งทนาย, และการดำเนินคดีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่งทนายสู้คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้งทนายสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้องเพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉินตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้องเป็นตัวแทนกันมาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดีแทน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรมห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่ง ทนายสู้ คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้ง ทนายสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้อง เพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้อง เป็นตัวแทนกันมาก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต อำนาจการดำเนินคดีเป็นของผู้ชำระบัญชี
จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ ถึงแก่ความตายไปก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย ห้างฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่สองคนคือจำเลยที่ 2 และ ว. จึงต้อง เลิกกัน เนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนย่อมไม่มีอยู่ต่อไปอีก คงมีอยู่แต่ เฉพาะ ว. ผู้เดียวหากจะดำเนิน กิจการของห้างฯ จำเลยที่ 1 ต่อไปก็เท่ากับดำเนินการในกิจการส่วนตัวของ ว. เท่านั้น เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1เลิกกันก็ต้อง จัดให้มีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 ถึง1273 ว. จึงไม่มีอำนาจตั้ง ตนเองเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และแต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1259(1) และกรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มาก่อน ว. จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1เพราะเหตุฉุกเฉิน ได้ ดังนี้ ศาลชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่ ว. แต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1เสียทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และผลของการรับทายาทเป็นหุ้นส่วนแทน
เมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)1080แต่หุ้นส่วนที่ยังคงอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้ เมื่อปรากฏว่า บ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาหุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมาและเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทน บ. แล้ว ห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่ความตายและการรับทายาทเข้าเป็นหุ้นส่วน
โดยปกติเมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตายห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5),1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้เมื่อปรากฏว่าหลังจาก บ.หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมา และเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทนบ. แล้วห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการเสียชีวิต และการรับทายาทเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทน
เมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 (5), 1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังคงอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้ เมื่อปรากฏว่า บ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาหุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมาและเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทน บ. แล้ว ห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4411/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาความรับผิดของหุ้นส่วนออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำกัด และการนับวันหยุดตามกฎหมาย
ส. เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.จำเลยที่ 1 และออกจากการเป็นหุ้นส่วนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2526ความรับผิดของ ส. อันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ ส. ออกจากหุ้นส่วนนั้น ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน คือวันที่ 27 เมษายน 2528ซึ่งตรงกับวันเสาร์และในวันรุ่งขึ้น 28 ก็ตรงกับวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการตามประเพณี เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันจันทร์ที่29 เมษายน 2528 จึงถือได้ว่า ยังอยู่ภายในระยะเวลาสองปีอันเป็นเงื่อนเวลาตามกฎหมายที่ ส. ยังมีความผูกพันเกี่ยวกับหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 ที่ ส. จะต้องรับผิด
of 9