พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการและการมีสิทธิฟ้องขอเลิกห้างหุ้นส่วน
ก. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยมิได้นำรถยนต์ที่ ผู้เป็นหุ้นส่วนนำมาลงหุ้นไปจดทะเบียนโอนเป็นทรัพย์สินของจำเลย ปล่อยให้ซ่อมแซมรักษาและเก็บผลประโยชน์กันเอง จัดทำบัญชีค่าใช้จ่าย ของจำเลยว่ามีค่าซ่อมรถยนต์ค่าซื้ออะไหล่ ค่าน้ำมัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะจำเลยไม่มีรถยนต์เป็นของตนเอง เอาใบเสร็จค่าน้ำมันรถยนต์ ของตนมาลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลย และใบเสร็จรับเงินถูกแก้ไขจำนวนเงินและราคาให้สูงกว่าความเป็นจริง ถือได้ว่า ก. ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบส่อไปในทางทุจริต เป็นการละเมิดข้อบังคับของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เลิกห้างจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(1) และ มาตรา 1080
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, การรับช่วงสิทธิ, และการฟ้องล้มละลายจากหนี้ส่วนตัวและหนี้ของห้างหุ้นส่วน
หนี้ที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2ให้ล้มละลายในคดีก่อนนั้น เป็นหนี้อันเกิดแต่มูลหนี้ส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ แม้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้เป็นลูกหนี้ที่ถูกฟ้องด้วย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เจ้าหนี้โดยตรงของจำเลยที่ 2 ในอันที่จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการด้วยก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ที่อาจใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดคนใดคนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1070,1080 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการให้ร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองได้รับการทวงถามให้ชำระหนี้แล้วไม่ชำระโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
จำเลยที่ 1 มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้ไว้แก่ธนาคาร ท. เพื่อยึดถือไว้เป็นการประกันหนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องใช้เงินแก่ธนาคาร ท. แทนจำเลยที่ 1 ธนาคาร ท. ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงเข้าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวในอันที่จะยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เช่นเดียวกัน มิใช่เป็นเรื่องโจทก์รับซื้อฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตีราคาเท่าหนี้สินที่โจทก์ค้ำประกันไว้ อันจะทำให้หนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไป
จำเลยที่ 1 มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้ไว้แก่ธนาคาร ท. เพื่อยึดถือไว้เป็นการประกันหนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องใช้เงินแก่ธนาคาร ท. แทนจำเลยที่ 1 ธนาคาร ท. ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงเข้าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวในอันที่จะยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เช่นเดียวกัน มิใช่เป็นเรื่องโจทก์รับซื้อฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตีราคาเท่าหนี้สินที่โจทก์ค้ำประกันไว้ อันจะทำให้หนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด: ข้อจำกัดการทำสัญญาค้ำประกันหลังเลิกห้าง และความรับผิดของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่าห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้นมิได้หมายความว่าในระหว่างนั้นห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทนแต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วและอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทนแต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ของห้างฯ แม้เจ้าหนี้ยังไม่ทวงถาม หรือห้างฯ ไม่ผิดนัด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ
จำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) แม้เจ้าหนี้ยังไม่เคยทวงถามและห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นเพียงเหตุที่เจ้าหน้าที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ยังไม่ได้ตาม มาตรา 1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 เท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ฯลฯ" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นห้างหุ้นส่วน จำกัด ท. เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่เจ้าหนี้อยู่เป็นเงิน 987,881.78 บาท จึงถือได้ว่า เจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนนั้นจากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ห้างฯ แม้ยังไม่ผิดนัด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.94
จำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จำเลยก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) แม้เจ้าหนี้ยังไม่เคยทวงถามและห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ก็เป็นเพียงเหตุที่เจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ยังไม่ได้ตามมาตรา 1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 เท่านั้นซึ่งในกรณีนี้พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตามฯลฯ" ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่เจ้าหนี้อยู่เป็นเงิน 987,881.78 บาท จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนนั้นจากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนในการตรวจบัญชีและการแสดงบัญชีของหุ้นส่วนผู้จัดการ
สามีจำเลยกับโจทก์ร่วมกันเข้าหุ้นตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตายโจทก์จำเลยตกลงให้กิจการของห้างดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากสามีจำเลยเป็นจำเลย ทรัพย์สินของสามีจำเลยซึ่งมีอยู่ในห้างย่อมเป็นมรดกได้แก่จำเลย เมื่อจำเลยตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์แทนที่สามีจำเลยก็เท่ากับจำเลยได้ลงหุ้นแล้ว
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนในการตรวจสอบบัญชีและการแสดงบัญชีรับจ่ายของห้างหุ้นส่วน
สามีจำเลยกับโจทก์ร่วมกันเข้าหุ้นตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตายโจทก์จำเลยตกลงให้กิจการของห้างดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากสามีจำเลยเป็นจำเลย ทรัพย์สินของสามีจำเลยซึ่งมีอยู่ในห้างย่อมเป็นมรดกตกได้แก่จำเลย เมื่อจำเลยตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์แทนที่สามีจำเลยก็เท่ากับจำเลยได้ลงหุ้นแล้ว
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรับจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรับจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และอำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชีเกี่ยวกับหนี้ภาษีของห้าง
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม ห้างน.ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5),1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1259(1)
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เลิกกิจการ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม ห้าง น. ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 (5), 1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1257 (1)
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต่อหนี้ของห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดผิดนัดชำระหนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดให้รับผิดชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนหรือล้มละลายก่อนหรือจะต้องปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้