พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมทำร้ายจนถึงแก่ความตาย ศาลปรับบทลงโทษจากฆ่าเป็นทำร้ายจนถึงแก่ความตาย
การที่ผู้ตายที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทง น. แล้ว น. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 1 จึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างกะทันหันโดยจำเลยมิได้คบคิดนัดหมายกันมาก่อน ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและฐานฆ่าผู้อื่นโดยพลาด แต่เมื่อจำเลยมีเจตนาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้ตายที่ 1 มาตั้งแต่ต้นและร่วมชุลมุนชกต่อยผู้ตายที่ 1 จึงต้องรับผลแห่งการกระทำของพวกจำเลยและ น. ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานทำร้ายผู้ตายที่ 1 จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 และฐานร่วมกันทำร้ายผู้ตายที่ 2 จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 60, 83 อันเป็นความผิดหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยพลาดตามที่โจทก์ฟ้อง และเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งศาลฎีกาลงโทษในความผิดดังกล่าวตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16867/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: เจตนาทำร้าย vs. ผลเกินเจตนา และความรับผิดร่วม
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายทั้งสอง และผู้เสียหายทั้งสี่ข้ามเรือโดยสารจากคลองสานไปท่าเรือสี่พระยา ขณะเรือเทียบท่าเรือสี่พระยา กลุ่มวัยรุ่นประมาณ 10 คน มีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 รวมอยู่ด้วยลงมาที่เรือ มีผู้ชกต่อยเตะถีบโดยมีคนพูดว่าวันนี้เปิดเทอมวันแรก กลุ่มผู้เสียหายข้ามฝั่งมาทำไม ให้ว่ายน้ำกลับไป มีลักษณะข่มขู่ให้โดดลงแม่น้ำ เป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ตกลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ตายทั้งสองจมน้ำหายไป ผู้เสียหายทั้งสี่มีผู้ช่วยขึ้นจากน้ำได้ แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่และผู้ตายทั้งสองจนตกลงไปหรือยอมกระโดดลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ตาม แต่หากไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย น่าจะต้องห้ามปรามพวกของตนไม่ให้กระทำเช่นนั้น หรือหากห้ามปรามแล้วไม่ฟัง ก็น่าจะต้องรีบปลีกตัวออกมาทันที อีกทั้งเมื่อผู้เสียหายทั้งสี่และผู้ตายทั้งสองลงไปอยู่ในแม่น้ำแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกับพวกคนอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจกับพวกในการกระทำดังกล่าวด้วย แต่ก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กับผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่มีสาเหตุโกรธเคืองกันรุนแรงถึงขนาดจะต้องฆ่ากันให้ตายและเมื่อผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ลงไปอยู่ในแม่น้ำแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กับพวก ก็พากันออกมากจากเรือข้ามฟากที่เกิดเหตุ โดยไม่ได้ขัดขวางหรือห้ามไม่ให้ใครเข้าไปช่วยเหลือผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ กรณีมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 เพียงแต่มีเจตนาทำร้ายผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ด้วยความคึกคะนองเพื่อให้เกิดความอับอาย โดยมิได้ประสงค์ให้ผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ถึงแก่ความตาย ก่อนที่จะมีคนช่วยเหลือขึ้นมาจากแม่น้ำ ผู้เสียหายทั้งสี่ยังสามารถพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำได้ แสดงว่าขณะนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ไหลเชี่ยวมากนัก ขณะที่กระทำการดังกล่าวจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ไม่น่าจะเล็งเห็นอยู่แล้วว่าอาจทำให้ผู้ตายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสี่ถึงแก่ความตายได้ แต่เมื่อการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลเกินเจตนา กล่าวคือเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ย่อมต้องมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้ตายทั้งสองเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย และการเพิ่มโทษจากประวัติอาชญากรรม
ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลถูกแทงจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีผู้ตายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ต่อยจนเซไปแล้วและจำเลยที่ 2 แยกไปทำร้าย พ. โดยไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า จึงเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 คงเป็นเพียงแต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายเท่านั้นแต่การร่วมกันทำร้ายมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวรวมความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก อยู่ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7941/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองเกินกว่าเหตุ การใช้กำลังป้องกันต้องสมเหตุสมผลและไม่เกินขอบเขตที่จำเป็น
ผู้ตายตบและชกต่อยจำเลยจนจำเลยล้มลง ผู้ตายกระชากคอเสื้อจำเลยทำให้อาวุธปืนของผู้ตายหล่นออกจากตัวผู้ตาย ผู้ตายและจำเลยแย่งอาวุธปืนกันระหว่างนั้นจำเลยยิงปืน 2 นัด กระสุนปืนถูกผู้ตาย การที่ผู้ตายตบและชกต่อยจำเลยจนล้มลงนับได้ว่าการกระทำของผู้ตายเป็นภยันตรายต่อจำเลยซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันตนเองได้ ดังนั้นเมื่ออาวุธปืนของผู้ตายหล่นจากตัวผู้ตาย ในภาวะเช่นนั้นจำเลยย่อมไม่มีทางเลือกนอกจากจะแย่งอาวุธปืนดังกล่าว เพราะหากผู้ตายแย่งอาวุธปืนได้ ผู้ตายอาจใช้อาวุธปืนยิงจำเลยได้ แต่ขณะที่แย่งอาวุธปืนกันจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึง 2 นัด นับว่าเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 69
จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปโดยมุ่งประสงค์จะนำไปทิ้งในแม่น้ำเพื่อมิให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้ เช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง เพราะจำเลยมิได้เจตนาจะยึดถือไว้อย่างเป็นเจ้าของทั้งการที่จำเลยนำอาวุธปืนของกลางติดตัวไปทิ้งถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาพาอาวุธปืนของกลางไป จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน แม้ความผิดฐานพาอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปโดยมุ่งประสงค์จะนำไปทิ้งในแม่น้ำเพื่อมิให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้ เช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง เพราะจำเลยมิได้เจตนาจะยึดถือไว้อย่างเป็นเจ้าของทั้งการที่จำเลยนำอาวุธปืนของกลางติดตัวไปทิ้งถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาพาอาวุธปืนของกลางไป จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน แม้ความผิดฐานพาอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6490/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้ไฟฟ้าแรงสูงป้องกันทรัพย์สิน (ปลากัด) เป็นการกระทำที่ไม่สมดุล
แม้ขณะเกิดเหตุผู้ตายจะเข้าไปในบริเวณบ่อปลากัดของจำเลยเพื่อลักปลากัด ซึ่งถ้าจำเลยพบเห็นจำเลยย่อมมีสิทธิทำร้ายผู้ตายพอสมควรแก่เหตุเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนได้ แต่กระแสไฟฟ้าที่จำเลยปล่อยผ่านเส้นลวดที่ล้อมรอบบ่อปลากัดย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงโดยสภาพซึ่งสามารถทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ ส่วนทรัพย์สินของจำเลยเป็นเพียงปลากัดมีมูลค่าไม่มากนัก การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าเส้นลวดกับการป้องกันทรัพย์สินของจำเลยย่อมไม่เป็นสัดส่วนกัน เมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าที่จำเลยปล่อยผ่านเส้นลวดดังกล่าวดูดถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนเกินสมควรกว่าเหตุตาม ป.อ. มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายโดยบันดาลโทสะ: ศาลฎีกาแก้ไขโทษลดลงจากเจตนาฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยเป็นพี่ชายของผู้ตาย ถูกผู้ตายซึ่งมึนเมาสุรามาหาเรื่องและทำร้ายชกต่อยจำเลย แม้จำเลยหนีลงจากบ้านไปแล้ว ผู้ตายยังติดตามจำเลยลงไปอย่างกระชั้นชิดและทำร้ายจำเลยอีก เป็นเหตุให้จำเลยเกิดบันดาลโทสะจึงได้หยิบฉวยไม้ด้ามเสียมซึ่งวางอยู่ที่พื้นดิน บริเวณหน้าบ้านนางโปยใกล้ที่เกิดเหตุตีไปที่ผู้ตาย 2 ถึง 3 ครั้ง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำอย่างกระทันหันฉุกละหุก โดยจำเลยไม่มีโอกาสเลือกอาวุธ ทั้งไม่ได้เลือกตีบริเวณส่วนใดของ ร่างกายผู้ตาย เป็นการตีโดยไม่อาจทราบว่าจะถูกอวัยวะส่วนใดของผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าและเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะเพราะถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงเหตุอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐาน ทำร้ายร่างกายผู้ตายจนถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐาน ทำร้ายร่างกายผู้ตายจนถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย: ศาลลดโทษจากฆ่าเป็นทำร้ายจนถึงแก่ความตาย
ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลถูกแทงระหว่างต่อสู้กับจำเลยและ ศ. ในซอยเกิดเหตุ โดย ศ. เพียงคนเดียวมีอาวุธมีด จึงเชื่อว่า ศ. เป็นคนแทงผู้ตาย ส่วนจำเลยซึ่งเข้าช่วย ศ. ร่วมชกต่อยผู้ตายและวิ่งไล่ตามผู้ตายไปกับ ศ. โดยไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธหรือมีสาเหตุโกรธเคืองร้ายแรงประการใดกับผู้ตายมาก่อนจนถึงกับจะต้องร่วมกับ ศ. ฆ่าผู้ตาย การที่ ศ. ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจึงเป็นการกระทำของ ศ. แต่โดยลำพัง จำเลยคงเป็นเพียงแต่ร่วมกับ ศ. ทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แต่การร่วมกันทำร้ายมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวย่อมรวมความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก อยู่ด้วย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่วมกับผู้อื่น ไม่ถึงเจตนาฆ่า: การประเมินความผิดฐานร่วมกันฆ่า
การที่ ป. ใช้ไม้ตีผู้ตาย แล้วจำเลยเข้ามาชกต่อยผู้ตายที่ใบหน้า 1 ครั้ง นอกจากนั้นยังมีคนอื่นเข้ามารุมชกต่อยผู้ตายอีกคนละครั้งสองครั้ง แล้วพากันหลบหนีไป พฤติการณ์แห่งคดีจึงฟังได้เพียงว่าจำเลยชกต่อยผู้ตายเพียง 1 ครั้ง ในขณะที่ผู้ตายถูกคนหลายคนกลุ้มรุมทำร้ายและเกิดเหตุวุ่นวาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีสาเหตุกับผู้ตายมาก่อนหรือมีอาวุธติดตัวมาแต่อย่างใด การที่ป. ใช้ไม้ตีผู้ตายโดยเจตนาฆ่าในระหว่างนั้น จึงเป็นการกระทำของป. โดยลำพัง น่าเชื่อว่าจำเลยมีเจตนาเพียงร่วมกับ ป. กับพวกทำร้ายผู้ตายเท่านั้น แม้จำเลยกับ ป. เป็นพี่น้องกันและเข้าทำร้ายผู้ตายด้วย ก็ไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ ป.ฆ่าผู้ตาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำผิดร่วมกันทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย การพิจารณาเจตนาเฉพาะตัวจำเลย
จำเลยที่ 2 ทำร้ายผู้ตายโดยการชกต่อย ส่วนจำเลยที่ 3 ทำร้ายผู้ตายโดยใช้ไม้ตี ซึ่งล้วนแต่มิได้ก่อให้เกิดบาดแผลแก่ผู้ตายถึงขนาดจะเป็นเหตุแห่งความตายได้ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1เข้ามาทำร้ายผู้ตายด้วยการเตะหาได้ใช้มีดที่พกติดตัวมาแทงทำร้ายผู้ตายทันทีไม่ แสดงชัดว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยเจตนาเพียงร่วมทำร้ายผู้ตายก่อน หลังจากนั้นเกิดการโต้ตอบเป็นเชิงต่อว่าระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 จึงชักมีดออกมาแทงผู้ตาย เป็นเจตนาเกิดขึ้นภายหลัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ทราบถึงการมีอาวุธมีดติดตัวตั้งแต่ก่อนหรือแรกเกิดเหตุไม่มีเหตุที่จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 อาจฆ่าผู้ตายได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาเพียงร่วมในการทำร้ายผู้ตายต้องรับผิดฐานเป็นตัวการร่วมทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเข้าร่วมวิวาท ทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย ศาลลดโทษฐานรับสารภาพ
จำเลยใช้มีดวิ่งเข้าไปจะแทงผู้ตายเพราะโกรธที่พี่ชายจำเลยถูกผู้ตายต่อย และจำเลยยังแทงทำร้ายผู้เสียหายซึ่งใช้เหล็กแป๊บน้ำตีขัดขวางถึงบาดเจ็บเป็นกรณีที่จำเลยสมัครใจเข้าร่วมวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ไม่เป็นการป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่น ส่วนการที่จำเลยวิ่งหนีแล้วผู้ตายซึ่งไม่มีอาวุธวิ่งไล่ตาม และมีผู้เสียหายวิ่งตามหลังผู้ตายไป ก็เป็นพฤติการณ์ต่อสู้เกี่ยวเนื่องติดพันกัน จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวว่าจำต้องกระทำเพื่อต่อสู้ป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นได้ จำเลยวิ่งหนีแล้วหันกลับมาแทงผู้ตายซึ่งวิ่งไล่ตามเพียงครั้งเดียวแล้ววิ่งหนีต่อไป แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายเพียงแต่แทงผู้ตายเพื่อให้พ้นการติดตามของผู้ตายกับพวก โดยไม่มีโอกาสเลือกแทงอวัยวะส่วนใดของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192.