คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กมล เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6900/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท และการรอการลงโทษในคดีป่าสงวน
จำเลยรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษตามฟ้องจริง แต่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลฎีกามีอำนาจรอการลงโทษจำคุกจำเลยได้
จำเลยรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 34 กับมีไว้ในความครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ วรรคหนึ่ง, 71 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะการรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียมีเจตนาเดียวเพื่อครอบครองของป่านั่นเอง ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมา 2 กระทงจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ใบกำกับภาษีปลอมเพื่อเครดิตภาษี: กรรมการมีส่วนร่วมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมในนามของจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำผิดอันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 อยู่แล้ว กรณีไม่จำต้องอาศัยความในมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานให้กรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคลต้องรับโทษฐานนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกภาษี: กรรมการร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคล ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลรัษฎากร มาตรา 90/4 (7), 86/13, 77/1 ป.อ. มาตรา 83 เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน และเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 อันจะต้องรับผิดตาม ป.อ. มาตรา 83 อยู่แล้ว กรณีจึงไม่ต้องอาศัยความในบทบัญญัติมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นบทสันนิษฐานให้กรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล ต้องรับโทษฐานนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ขายยาเสพติดและยาแผนปัจจุบัน ศาลปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่หนักที่สุด
ความผิดฐานร่วมกันขายโดยการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 71 และพ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 101 นั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 101 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนความผิดฐานมีไว้เพื่อขาย ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิด
สำหรับความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบัน ตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันจึงถือเป็นความผิดอย่างเดียวกัน จำเลยที่สองร่วมกันมียาแผนปัจจุบันไว้ในครอบครองเพื่อขายและร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันที่มีอยู่บางส่วนในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวคือ การขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่า ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็น 2 กรรมก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไว้เอง โดยให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงกรรมเดียวโดยไม่แก้โทษในความผิดฐานดังกล่าวตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ การปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
การมีไว้เพื่อขายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติว่าเป็นความผิดคงบัญญัติความผิดเฉพาะฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง,71 และเมื่อเป็นยาแผนปัจจุบันด้วย จึงเป็นความผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง,101 อีกด้วย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6785/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือคนต่างด้าวเข้าประเทศผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม
การช่วยเหลือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายเป็นการสร้างปัญหาให้แก่ประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายประการ ทางด้านความมั่นคงคนต่างด้าวจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาประกอบอาชญากรรมซึ่งเป็นภัยต่อสังคมและประเทศชาติ และโดยที่คนต่างด้าวดังกล่าวไม่มีเอกสารหลักฐานประจำตัวของทางราชการไทยและไม่อยู่ในฐานะที่จะแจ้งที่อยู่ในทะเบียนบ้านได้จึงยากแก่การควบคุมดูแลตลอดจนสืบหาติดตามตัวอันทำให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมซึ่งก่อโดยคนต่างด้าวเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้นทางด้านสาธารณสุขนอกจากคนต่างด้าวจะนำเชื้อโรคซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในประเทศของตนเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทยแล้ว เมื่อคนต่างด้าวเหล่านั้นเจ็บป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลสถานพยาบาลและโรงพยาบาลของรัฐย่อมไม่อาจปฏิเสธการรักษาพยาบาลได้ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินงบประมาณด้านสาธารณสุขในแต่ละปีโดยไม่จำเป็นเป็นจำนวนมากและทางด้านสังคมคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรมักจะเข้ามาแย่งอาชีพของคนไทยในด้านแรงงานทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมโดยมีผู้ประกอบการและนายจ้างบางรายที่มุ่งเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนในการจ้างแรงงานราคาถูกเพื่อประสงค์จะลดต้นทุนการผลิตโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่ตามมา ทำให้คนไทยต้องกลายเป็นผู้ไม่มีอาชีพหรือตกงานเป็นจำนวนมาก การที่จำเลยทั้งสามช่วยเหลือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากถึง 1,661 คนถือเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหาดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ซึ่งมีคนต่างด้าวลักลอบเข้ามา อันส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ มิใช่เป็นความผิดเฉพาะของผู้เป็นเจ้าของโรงงานชั้นในดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างในฎีกา พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6509/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอมและการพิจารณาเหตุรอการลงโทษ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรให้รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 10,000 บาท และให้รอการลงโทษไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แต่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากคือนอกจากแก้โทษจำคุกให้เบาลงและเพิ่มโทษปรับแล้วยังให้รอการลงโทษไว้ด้วย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอมเพื่อประโยชน์สำหรับการใช้รถยนต์ที่มิได้ขออนุญาตนำเข้าผ่านกรมการค้าต่างประเทศโดยไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายและเป็นความผิดร้ายแรงที่สมควรกำราบปราบปรามมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ทั้งจำเลยไม่รู้สึกตัวกลัวผิดกลับต่อสู้คดีมาตลอด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลในคดีอาญา: สิทธิอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 54(2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ในคดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่อาจใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลมได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 54 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อ
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5749/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเดิมที่รับรองไว้ และโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โดยจำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่ากรณีไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งได้เพราะความผิดที่จำเลยกระทำในคดี ดังกล่าวและคดีนี้เป็น การกระทำกรรมเดียวกัน การที่จำเลยฎีกาโดยอ้างข้อเท็จจริงและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้รับฟังว่าการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้และคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อได้เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย อันเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง
ในความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเป็นจำคุก 1 ปี 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
of 467