คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กมล เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการลงโทษ: การพิจารณาปัจจัยผู้ต้องหา, ภยันตรายร้ายแรงต่อสังคม และภาวะจิต
ศาลจะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจ โดยศาลอาจหยิบยกเหตุต่าง ๆ ตาม ป.อ. มาตรา 56 ขึ้นวินิจฉัยประกอบดุลพินิจก็ได้ เมื่อศาลใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยย่อมแสดงว่าศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ อาชีพ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาและภาวะแห่งจิตของจำเลยตลอดจนเหตุอื่นแล้ว โดยศาลไม่จำเป็นต้องระบุถึงเหตุต่าง ๆ ตาม ป.อ. มาตรา 56 ให้ปรากฏโดยแจ้งชัดในคำพิพากษา นอกจากนี้ ป.อ. มาตรา 56 ก็มิใช่บทมาตราซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือบทกำหนดโทษ และไม่ใช่กรณีที่ศาลรอการ ลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ศาลจึงไม่ต้องปรับบทมาตราดังกล่าวในคำพิพากษา
การกระทำความผิดใดเป็นภยันตรายร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป และสภาพความผิดดังกล่าวศาลอาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้ หาเป็นการปรับบทลงโทษ คลาดเคลื่อนต่อ ป.อ. มาตรา 63 ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยมิได้อ้างว่าจำเลยมีจิตฟั่นเฟือน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีจิตฟั่นเฟือน การที่ศาลมิได้นำ ป.อ. มาตรา 65 มาประกอบการวินิจฉัย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ศาลฎีกายกฟ้อง แม้กระบวนการพิจารณาเสร็จสิ้น
โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) แต่การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่ง นั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ จึงไม่วินิจฉัยฎีกาของจำเลยและพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปแล้ว ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีอาญาที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่ศาลฎีกา จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้จึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการร้องแก้ไขคำพิพากษา: ผู้เสียหายไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขคุมความประพฤติ
ผู้เสียหายซึ่งมิได้เป็นโจทก์ โจทก์ร่วมหรือพนักงานคุมประพฤติผู้มีอำนาจหน้าที่ทำรายงานเสนอให้ศาลทราบถึงการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติตามที่ศาลกำหนดหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การคุมความประพฤติของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 15 จึงไม่อาจยื่นคำร้องยกเหตุดังกล่าวขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเป็นลงโทษจำคุก โดยไม่รอการลงโทษแก่จำเลยได้ การที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้เสียหายและมีคำสั่งอย่างใดย่อมเป็นการไม่ชอบ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการพิจารณาที่ไม่ชอบเสียได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องคุมความประพฤติ: ผู้เสียหายไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้ลงโทษจำเลย
ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เสียหายมิได้เป็นโจทก์ โจทก์ร่วม หรือพนักงานคุมประพฤติผู้มีอำนาจหน้าที่ทำรายงานเสนอให้ศาลทราบถึงการที่จำเลยผู้ถูกคุมความประพฤติไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติตามที่ศาลกำหนดหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การคุมความประพฤติของจำเลยผู้ถูกคุมความประพฤติเปลี่ยนแปลงไปตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 15 ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำแถลงและคำร้องในเรื่องดังกล่าวต่อศาลได้ การที่ศาลชั้นต้นรับคำแถลงและคำร้องของผู้ร้องดำเนินการไต่สวนพยานหลักฐานและมีคำสั่งจึงเป็นการสั่ง โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอน คำสั่งและการดำเนินการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง เงินเพิ่มร้อยละ 15 ไม่บังคับใช้ แม้ไม่จ่ายตามกำหนด
เงินโบนัสที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานมิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ในคำนิยามของคำว่าสภาพการจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินค่าจ้างค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
คู่มือการบริหารงานบุคคลระบุว่า ธนาคารนายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานปีละ 2 ครั้ง พนักงานที่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจะต้องปฏิบัติงานในงวดนั้นไม่ต่ำกว่า 1 เดือน และต้องอยู่ปฏิบัติงานจนถึงวันสิ้นงวดบัญชีงวดแรกคือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย ทำงานกับจำเลยมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสในงวดบัญชีแรกของจำเลยตามข้อบังคับของจำเลยและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่ายให้ครบถ้วนจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 แต่มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นภายหลังโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จัดทำขึ้นดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกรณีผิดนัดชำระเฉพาะค่าจ้าง, ข้อตกลงใหม่หลังพ้นสภาพงานไม่ผูกพัน
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานเท่านั้น มิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง เงินโบนัสจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 เมื่อเงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างและต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 9 วรรคสอง
ข้อบังคับของธนาคารจำเลยที่ระบุว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสให้ปีละ 2 ครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจำงวด นั้นแม้จำเลยจะจ่ายโบนัสครั้งแรกพร้อมเงินเดือนในเดือนมิถุนายนโดยตลอดก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นกำหนดเวลาจ่ายเงินโบนัสครั้งแรก หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระ จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามก่อน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแล้ว การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน ธ. และต่อมาได้มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสขึ้นใหม่ ภายหลังที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามอัตราเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117-4287/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพจ้างเรื่องโบนัสมีผลใช้บังคับต่อเนื่อง หากไม่มีการแก้ไขหรือตกลงใหม่ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เฉพาะปี
จำเลยกับสหภาพแรงงานทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกในปี 2539 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับไว้ คงกำหนดเพียงว่าสหภาพแรงงานจะไม่เรียกร้องโบนัสประจำปีเป็นระยะเวลา 2 ปี กำหนดระยะเวลานี้จึงหาใช่กำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ แต่เป็นข้อตกลงยอมสละสิทธิการเรียกร้องเรื่องโบนัสภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและไม่มีผลทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับแต่อย่างใด ทั้งข้อความที่ว่าจะไม่เรียกร้องเรื่องโบนัสเป็นระยะเวลา 2 ปี แสดงให้เห็นว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องโบนัสไม่ได้มีลักษณะให้ใช้บังคับเฉพาะในปีแรกที่ทำข้อตกลงเท่านั้น กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 12
ข้อตกลงเกี่ยวกับสหภาพการจ้างฉบับแรก ย่อมมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่วันที่ตกลงกัน หลังจากใช้บังคับครบหนึ่งปีแล้วไม่มีการตกลงกันใหม่ ข้อตกลงฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละหนึ่งปี หาใช่สิ้นผลเมื่อใช้บังคับครบ 2 ปี ดังที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ ซึ่งจำเลยได้จ่ายโบนัส สำหรับปี 2539 และปี 2540 แก่ลูกจ้างครบถ้วนแล้ว ครั้นในปี 2541 จำเลยประสบปัญหาขาดทุน จำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงฉบับที่สองกับสหภาพแรงงานโดยไม่มีการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสเฉพาะปี 2541 เป็นให้จ่ายในอัตราเฉลี่ย 1.29 เท่าของเงินเดือน ส่วนเงื่อนไขการจ่ายโบนัสประการอื่นคงให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม และลูกจ้างทุกคนยอมรับ ถือได้ว่าข้อตกลงฉบับที่สองเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่คู่กรณีทำขึ้นเพื่อแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมฉบับแรก แม้ข้อตกลงฉบับที่สองจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างน้อยกว่าข้อตกลงฉบับแรก ก็มีผลใช้บังคับได้ และเมื่อหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสตามข้อตกลงฉบับที่สอง มีข้อความลักษณะให้ใช้บังคับเฉพาะการจ่ายโบนัสในปี 2541 เท่านั้น จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสตามอายุงานในปี 2539 ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรก มาใช้บังคับแก่การจ่ายโบนัสในปี 2541 ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงฉบับที่สองได้กำหนดไว้ด้วยว่า เงื่อนไขการจ่ายโบนัสในเรื่องอื่นนอกจากหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสดังกล่าวยังคงใช้บังคับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมในฉบับแรก ดังนั้น หลังจาก ข้อตกลงฉบับที่สองใช้บังคับครบกำหนดแล้ว หลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสประจำปี 2541 ตามข้อตกลงฉบับนี้ ย่อมสิ้นผลและไม่อาจนำไปใช้บังคับแก่การจ่ายโบนัสในปี 2542 ได้ ต่อมาในปี 2542 สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับที่สาม กำหนดให้มีผลใช้บังคับ 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา และระบุว่าสภาพการจ้างใดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อตกลงฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตามเดิม โดยไม่ได้กำหนดเรื่องโบนัสไว้เช่นนี้ เกี่ยวกับเรื่องโบนัสในปี 2542 จำเลยจึงผูกพันจะต้องจ่ายโบนัส ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมในฉบับแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวข้องกับคดีอาญา และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญารวม 3 คดีในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงินรวม 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่อัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์เป็นจำนวน 1,560,375.45 บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ใช้คืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายไว้แล้ว โดยมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินส่วนที่เกินจากคำฟ้องในคดีอาญาเป็นเงิน 334,203.30 บาท เท่านั้น
of 467