คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กมล เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าตรวจรักษาคนไข้ไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เนื่องจากเป็นเงินที่คนไข้จ่ายโดยตรง ไม่ใช่ค่าตอบแทนการทำงานปกติ
ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ค่าจ้างต้องเป็นเงินที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงจ่ายกันตามสัญญาจ้าง ประการที่สอง เงินที่จ่ายดังกล่าวนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ประการที่สาม เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
เงินค่าตรวจรักษาคนไข้ตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง มีลักษณะเป็นเงินที่คนไข้จ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นแพทย์ ที่ตรวจรักษาคนไข้โดยให้นายจ้างรับไว้แทนแล้วจ่ายคืนให้แก่ลูกจ้างที่ตรวจรักษาคนไข้ในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่ง มิใช่เงินของนายจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตรวจรักษาแพทย์ไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินค่าตรวจรักษาคนไข้ที่แพทย์ของโรงพยาบาลโจทก์รวมทั้งจำเลยร่วมได้รับ เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยร่วมตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง มีลักษณะเป็นเงินที่คนไข้จ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาโดยโจทก์รับไว้แทนแล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่ง จึงมิใช่เงินของนายจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทน การทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างไม่ต้องนำไปเป็นฐานเพื่อคำนวณค่าชดเชยให้แก่จำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกอาศัยการกระทำผิดซ้ำใน 5 ปี ต้องพิจารณาโทษจำคุกที่เคยได้รับจริง ไม่ใช่โทษที่รอการลงโทษ
ในคดีก่อนที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นในคดีนั้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน และปรับ 20,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วภายใน 5 ปี มากระทำความผิดคดีนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 แห่งประมวลกฎหมายอาญามิได้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การทำร้ายร่างกายภรรยาจากความขัดแย้งเรื่องการเลิกร้างและบุตร
จำเลยใช้ไม้ตีพริกของกลางยาวประมาณ 1 ศอก ตีศีรษะผู้เสียหายที่ 1 หลายครั้ง และใช้มีดปลายแหลมแทงบริเวณหน้าอกของผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 2 แผล ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย จนผู้เสียหายที่ 1 สลบไปและกะโหลกศีรษะข้างขวาส่วนหน้าแตกเป็นทางยาว และรอยประสานของกะโหลกศีรษะข้างขวาส่วนหน้าแตกแยก กับบาดแผลที่ถูกมีดแทง 2 แผล ยาว 1.5 เซนติเมตร กว้าง 0.2 เซนติเมตร ลึกเข้าช่องอก มีลมออกที่ช่องอกทั้งสองข้าง แสดงว่าจำเลยใช้ไม้ตีพริกที่ศีรษะของผู้เสียหายที่ 1 อย่างแรงหลายที และใช้มีดปลายแหลมแทงอย่างแรงเข้าบริเวณหน้าอกของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย จนผู้เสียหายที่ 1 สลบไป หากไม่สามารถนำผู้เสียหายที่ 1 ให้แพทย์รักษา ทันท่วงทีผู้เสียหายที่ 1 ย่อมถึงแก่ความตายได้ การที่จำเลยใช้อาวุธของกลางดังกล่าวทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 จำเลยย่อมเล็งผลว่าผู้เสียหายที่ 1 อาจถึงแก่ความตายได้ แต่ผู้เสียหายที่ 1 ไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
สาเหตุที่ผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยพูดจาโต้เถียงกันเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายที่ 1 คิดจะเลิกอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยและไปแต่งงานใหม่ ผู้เสียหายที่ 1 จึงบอกแก่จำเลยว่าจะพาบุตรชายที่เกิดกับจำเลยไปให้มารดาผู้เสียหายที่ 1 เลี้ยงดู แต่จำเลยไม่ยินยอมและตกลงกันไม่ได้ ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยก็มีปากเสียงกันมาก่อนแล้ว เมื่อจำเลยกลับมาที่ห้องเกิดเหตุก่อนและผู้เสียหายที่ 1 กลับมาทีหลัง โดยดื่มสุรามึนเมา ก็ยังมามีปากเสียงกันอีก จำเลยโมโหและได้ใช้ไม้ตีพริกและมีดปลายแหลมเข้าทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเป็นสามีของผู้เสียหายที่ 1 มา 4 ปีเศษ มีบุตรด้วยกัน 1 คน เป็นชาย ก่อนเกิดเหตุมีชายอื่นมาติดพันผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 1 จะเลิกร้างกับจำเลยและไปอยู่กินกับชายคนใหม่และจะพาบุตรไปจากจำเลย จำเลยพูดขอร้องไม่ให้พาบุตรไป แต่ผู้เสียหายที่ 1 ก็ไม่ยินยอมและพูดยืนยันทำนองว่าจะพาบุตรไปจากจำเลยให้ได้ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มึนเมาสุรา ทำให้จำเลยเกิดความโมโห การกระทำของผู้เสียหายที่ 1 ดังกล่าว เป็นการข่มเหงน้ำใจอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยได้ใช้ไม้ตีพริกตีและมีดแทงผู้เสียหายที่ 1 ในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
แม้ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสจะยุติไปตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์เพราะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรก็มีอำนาจรอการ ลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน: จำเลยคือคณะกรรมการในฐานะตำแหน่งหน้าที่
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัวแต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การฟ้องเป็นคณะบุคคล และอำนาจฟ้อง
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัว แต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาลาออกมีผลผูกพัน แม้ต่อมานายจ้างอ้างเหตุเลิกจ้าง สัญญาเดิมยังคงมีผลบังคับใช้
จำเลยทำคำเสนอให้โจทก์ลาออกโดยยอมจ่ายเงินเพื่อตอบแทนการลาออก ซึ่งโจทก์มีคำสนองรับคำเสนอของจำเลยโดยการลาออก จึงเกิดสัญญาขึ้นระหว่างจำเลยกับโจทก์และมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยื่นหนังสือขอลาออกการที่ภายหลังจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง กระทำทุจริตต่อหน้าที่และกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ก็หามีผลตามกฎหมายไม่เพราะขณะนั้นโจทก์และจำเลยมิได้มีความสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งมิใช่เหตุตามข้อสัญญาหรือบทบัญญัติของกฎหมายที่จะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวมาเพื่อบอกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จ่ายค่าชดเชย เพราะไม่ได้เกิดจากความจำเป็นเพื่อความอยู่รอดของกิจการ
จำเลยเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับเนื่องจากต้องการปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและกำไรมากขึ้น มิใช่ความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเพื่อให้กิจการดำรงอยู่ต่อไปได้ ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ได้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้แก่จำเลยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับการทำงานครบถ้วน ก็เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติ มิใช่เป็นการจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จำเป็นต้องพิสูจน์ความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นอกเหนือจากเหตุตามกฎหมาย
โจทก์ปรับปรุงระบบการทำงานแล้วลดจำนวนพนักงานที่ไม่จำเป็นลงรวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ เนื่องจากต้องการปรับปรุงระบบการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและกำไรมากขึ้นดังกล่าว มิใช่ความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเพื่อให้กิจการดำรงอยู่ต่อไปได้ไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ได้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่จำเลยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับการทำงานครบถ้วนแล้ว ก็เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติมิใช่เป็นการจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง: การพนันในที่ทำงาน
การกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างก็เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่นายจ้างในอนาคต การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานในกรณีร้ายแรงบางประเภทก็ไม่ต้องพิจารณาว่าเกิดความเสียหายแก่นายจ้างแล้วหรือไม่
การพนันเป็นหนทางสู่อบายมุข หากผู้ใดหมกมุ่นก็จะเสียงานเสียการเกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่คนงาน และอาจเป็นผลทำให้คิดกระทำการทุจริตต่อหน้าที่หากเสียการพนันมาก ๆ จนเกิดปัญหาด้านการเงิน อันอาจจะทำให้ ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายได้ แม้ผู้คัดค้านจะรับแทงสลากกินรวบเพียงจำนวน 100 บาท ก็ได้ชื่อว่าผู้คัดค้านจัดให้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในบริษัทผู้ร้องแล้ว ทั้งยังเป็นการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งมีโทษทางอาญาด้วย การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าผืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว ผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและยังเป็นรองประธานสหภาพแรงงานด้วย ควรจะดำรงตน ให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนคนงานด้วยกัน แต่กลับมาชักชวนให้เพื่อนคนงานเล่นการพนันเสียเอง จึงสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
of 467