คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กมล เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหลักทรัพย์ค้ำประกันเมื่อลูกจ้างลาออก สัญญาเดิมเป็นเกณฑ์ แม้มีการยินยอมเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ค. กับจำเลย และนำโฉนดที่ดินมอบให้แก่จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า ในการขอคืนหลักประกันจะกระทำได้ต่อเมื่อ ค. สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน โดยไม่ได้กระทำการใดให้นายจ้างเสียหาย เมื่อ ค. ลาออกจากการเป็นลูกจ้างจำเลย จึงเป็นการสิ้นสภาพการเป็นพนักงาน สัญญาค้ำประกันของโจทก์ทั้งสองย่อมระงับสิ้นไป แม้ ค. ทำหนังสือยินยอมเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการขอคืนหลักทรัพย์ใหม่ ก็หามีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองไม่ และข้อความในสัญญาค้ำประกันฉบับหลังหาใช่เป็นการขยายข้อความที่ว่า โดยไม่ได้กระทำการใดให้นายจ้างเสียหายตามสัญญาค้ำประกันเดิม ดังนั้นจำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงโทษทางวินัยที่หนักขึ้นทำไม่ได้หากไม่ได้รับความยินยอม
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อบริษัทจำเลยได้มีประกาศแก้ไขเปลี่ยนแปลงการลงโทษทางวินัยลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขข้อตกลง หรือฝ่ายลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแต่อย่างใด เพียงแต่บริษัทจำเลยได้ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบ แม้จะไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือว่าลูกจ้างให้ความยินยอมที่บริษัทจำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ดังนั้น ประกาศของจำเลย จึงไม่มีผลใช้บังคับกับบรรดาลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือตักเตือนต้องระบุความผิดและโทษ หากไม่ชัดเจนถือไม่ได้ว่าเป็นการเตือนตามกฎหมาย และการเลิกจ้างแม้จะเป็นเพราะไม่ผ่านทดลองงาน ก็ถือเป็นการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)ไม่ได้กำหนดแบบของหนังสือตักเตือนไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนก็จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างมิให้กระทำผิดซ้ำอีก หากกระทำจะถูกลงโทษแต่หนังสือของจำเลยปรากฏหัวข้อหนังสือว่าเป็นเรื่องการทดลองงานกล่าวถึงผลการทดลองงานว่าโจทก์มีความบกพร่องในการทำงาน เช่น ลากิจลาป่วย และมาสายบ่อยในระหว่างทดลองงานซึ่งเป็นลักษณะตำหนิการทำงาน แล้วจำเลยให้ทดลองงานต่ออีก 2 เดือน มิได้มีข้อความกล่าวถึงว่าการกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นการกระทำผิดใดซึ่งหากกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกจะถูกลงโทษอย่างไรจึงมิใช่หนังสือตักเตือนตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสองบัญญัติว่า การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากการเป็นพนักงานแม้จะเป็นเพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และหนังสือแจ้งผลการทดลองงานไม่ใช่หนังสือตักเตือน
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากการเป็นพนักงาน แม้จะเป็นเพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายอุทยานฯ และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าไม้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2505 มาตรา 16,24โดยบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้หวงห้ามประเภท ก. ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต มิได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพซึ่งไม้หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่นภายในเขตอุทยานแห่งชาติ อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 16(2) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิด แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุให้ลงโทษด้วย และจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษเข้ากับโทษใหม่ แม้โจทก์มิได้ขอแก้ไขฟ้อง ศาลมีอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในระหว่างนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้บวกโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้อีก 2 คดี แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง จึงมีผลเสมือนโจทก์มิได้กล่าวและมีคำขอให้บวกโทษจำคุกคดีเดิมเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและปรับโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ และภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษจำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องบรรยายหรืออ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) หรือ (6) แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่พิพากษาคดีนี้จะใช้อำนาจบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 บวกโทษจำคุกคดีนี้เข้ากับโทษจำคุกในคดีก่อนจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือ ที่มิได้กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษจำคุกคดีทำไม้ฐานความผิดไม่ร้ายแรงและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดได้
ไม้สักแปรรูปที่เจ้าพนักงานยึดเป็นของกลางในคดีนี้มีจำนวนเพียง 1 แผ่น ปริมาตร 0.268 ลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ร้ายแรงนักประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ยังอยู่ในวิสัยที่พนักงานคุมประพฤติจะแก้ไขฟื้นฟูให้จำเลยที่ 1 กลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 58 และเนื่องจากการรอการลงโทษด้วยเหตุสภาพแห่งความผิดและพฤติการณ์ตามรูปคดีดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเช่นกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษจำคุกดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ป.อ. มาตรา 89
ความผิดฐานทำไม้เป็นความผิดทั้งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ อันเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษบทหนักตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เจตนาทำความเสียหาย vs. ละเลยหน้าที่ และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119(2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541นั้น หมายถึงลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างกระทำโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่นายจ้าง
พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยรายงานโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานว่าเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียมีเสียงดังผิดปกติแต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานเป็นการละเลยต่อหน้าที่อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน การลดหรือเลิกจ่ายโดยฝ่ายเดียวทำไม่ได้
ค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ในชื่อค่าครองชีพ เมื่อเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำจำนวนแน่นอนโดยไม่ต้องนำใบเสร็จค่าน้ำมันมาเบิก อันเป็นการจ่ายให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และจำเลยจ่ายให้เพื่อเป็นการชดเชยค่าน้ำมันรถยนต์ให้แก่ผู้บริหารที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว เพื่อการงานของจำเลยอันเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์ ค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
จำเลยออกประกาศจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้แก่ผู้บริหารอันเป็นประกาศที่จำเลยกำหนดขึ้นฝ่ายเดียว แต่ประกาศดังกล่าวเป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีผลบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
การที่จำเลยออกประกาศลดค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารและออกประกาศเลิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว แม้โจทก์และลูกจ้างของจำเลยมิได้คัดค้าน แต่โจทก์และลูกจ้างก็มิได้ยินยอมให้จำเลยลดหรือเลิกการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหาร ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวขัดแย้งกับประกาศเดิมและไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าย่อมไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารถือเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาคำนวณค่าชดเชย การลด/ยกเลิกต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
ค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ในชื่อค่าครองชีพ แม้จะไม่เรียกว่าค่าจ้าง แต่ก็มิใช่สาระสำคัญที่จะถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ เมื่อเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำจำนวนแน่นอนโดยไม่ต้องนำใบเสร็จค่าน้ำมันมาเบิก อันเป็นการจ่ายให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยจ่ายให้เพื่อเป็นการชดเชยค่าน้ำมันรถยนต์ให้แก่ผู้บริหารที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อการงานของจำเลยอันเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์ ค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
จำเลยออกประกาศจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้แก่ผู้บริหารอันเป็นประกาศที่จำเลยกำหนดขึ้นฝ่ายเดียว แต่ประกาศดังกล่าวเป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีผลบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20การที่จำเลยออกประกาศลดค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหาร และออกประกาศเลิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียวแม้โจทก์และลูกจ้างของจำเลยมิได้คัดค้าน แต่ก็มิได้ยินยอมให้จำเลยลดหรือเลิกการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหาร ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวขัดแย้งกับประกาศเดิมและไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าย่อมไม่มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารตามข้อตกลงเดิม
of 467