พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ต้องพิจารณาลักษณะงานตามประกาศกระทรวงฯ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสาม และวรรคสี่ บัญญัติว่า "ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง"หมายความว่า การจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งนายจ้างไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นการจ้างดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีที่มีลักษณะงานตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติข้างต้น ส่วนงานที่โจทก์ทำมิได้มีลักษณะงานประเภทใดประเภทหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 1 ปีตามสัญญาจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายเก้าสิบวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการหักกลบลบหนี้และเงินประกันความเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344 หมายถึง หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายยังมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับ ดังนั้นเมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบในสินค้าของจำเลยที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์สูญหายไป แต่โจทก์แถลงต่อศาลแรงงานกลางว่าหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ แม้จะให้สืบพยานโจทก์และจำเลยไปก็ไม่ทำให้กลายเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยพนักงานและลูกจ้าง ข้อ 25 กำหนดให้เงินสะสมของพนักงานหรือลูกจ้างรวมทั้งดอกเบี้ยเป็นประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ร้านสหกรณ์โดยการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของพนักงานหรือลูกจ้างนั้น ๆ แต่โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักไว้เป็นรายเดือนให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 10
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยพนักงานและลูกจ้าง ข้อ 25 กำหนดให้เงินสะสมของพนักงานหรือลูกจ้างรวมทั้งดอกเบี้ยเป็นประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ร้านสหกรณ์โดยการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของพนักงานหรือลูกจ้างนั้น ๆ แต่โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักไว้เป็นรายเดือนให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อพิพาท และการคืนเงินสะสมที่หักไว้ให้ลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่าย ยังมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับ
จำเลยอ้างว่าโจทก์ (ลูกจ้าง) จะต้องรับผิดชอบในสินค้าของจำเลยที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์สูญหายไป แต่โจทก์แถลงต่อศาลแรงงานกลางว่าหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ ดังนั้น แม้จะให้สืบพยานโจทก์และจำเลยไปก็ไม่ทำให้กลายเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้
โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือ เงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักสะสมไว้โดยถือว่าเป็นประกันความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10
จำเลยอ้างว่าโจทก์ (ลูกจ้าง) จะต้องรับผิดชอบในสินค้าของจำเลยที่อยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์สูญหายไป แต่โจทก์แถลงต่อศาลแรงงานกลางว่าหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ ดังนั้น แม้จะให้สืบพยานโจทก์และจำเลยไปก็ไม่ทำให้กลายเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้
โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือ เงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักสะสมไว้โดยถือว่าเป็นประกันความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างอันสมเหตุผล: การปรับโครงสร้างองค์กรและการคัดเลือกบุคลากร
บริษัทจำเลยกับบริษัท บ. จำกัด ปรับปรุงองค์กรโดยได้รวมคลังสินค้าและพนักงานเข้าด้วยกันเพื่อความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและลดค่าใช้จ่าย ซึ่งจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลงด้วยที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานในองค์กร เพื่อความเหมาะสมและความอยู่รอดของจำเลยโดยรวมคลังสินค้าและพนักงานกับบริษัท บ. จำกัด จนเหลือคลังสินค้าแห่งเดียวและมีตำแหน่งผู้จัดการคลังสินค้าเพียงตำแหน่งเดียว เมื่อจำเลยเห็นว่า ร. มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารคลังสินค้าและคอมพิวเตอร์เหมาะสมกว่าโจทก์ จึงคัดเลือก ร. ไว้ทำงานต่อไปแล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ จึงนับว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรในการเลิกจ้าง กรณีจึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควร การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อความอยู่รอดถือเป็นเหตุสมควรที่ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานในองค์กรเพื่อความเหมาะสมและความอยู่รอดของจำเลยโดยรวมคลังสินค้าและพนักงานกับบริษัท บ. จนเหลือคลังสินค้าแห่งเดียว และมีตำแหน่งผู้จัดการคลังสินค้าเพียงตำแหน่งเดียว เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่า ร. มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารคลังสินค้าและคอมพิวเตอร์เหมาะสมกว่าโจทก์ จึงคัดเลือก ร. ไว้ทำงานต่อไป แล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ จึงนับว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรในการเลิกจ้างจึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กรณีไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน แม้จำเลยเคยมีหนังสือเตือน
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 39 วรรคสามที่กำหนดหน้าที่ของผู้ประกันตนที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป หากไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 39 วรรคท้าย เป็นคนละกรณีกับการที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันตามมาตรา 41(4)ซึ่งบัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่จำต้องพิจารณาว่าผู้ประกันตนมีเจตนาที่จะไม่ส่งเงินสมทบหรือไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันความเป็นผู้ประกันตนย่อมสิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเนื่องจากไม่ส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน แม้ไม่มีการเตือน
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 39 วรรคสาม ที่กำหนดหน้าที่ของผู้ประกันตนที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป หากไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 39 วรรคท้าย เป็นคนละกรณีกับการที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันตามมาตรา 41 (4) ซึ่งบัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่จำต้องพิจารณาว่า ผู้ประกันตามมีเจตนาที่จะส่งเงินสมทบหรือไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันความเป็นผู้ประกันตนย่อมสิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497-528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีและสะสมเฉพาะกรณีนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออกเองนายจ้างไม่ต้องจ่าย
จำเลยอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 22 มกราคม 2542 เป็นต้นไป แม้สัญญาจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยก็คงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียงวันที่ 21 มกราคม 2542 เท่านั้น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเองอันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ลูกจ้าง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเองจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเองอันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ลูกจ้าง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเองจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497-528/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกด้วยความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 21มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 22 มกราคม 2542 เป็นต้นไป แม้สัญญาจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยก็คงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียงวันที่ 21 มกราคม 2542 เท่านั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันที่ 22ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 ให้แก่โจทก์อีก
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้า ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งจะอนุมัติให้ลาออกในวันที่ 21 มกราคม 2542 ก็เป็นการยื่นคำขอและการอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเอง อันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้ไม่มีข้อความที่แสดงว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิการเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและ วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามที่โจทก์มีสิทธิอยู่แล้ว แต่พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ ลูกจ้างนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มี ความผิดตามมาตรา 119 ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเอง จำเลย จึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้า ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งจะอนุมัติให้ลาออกในวันที่ 21 มกราคม 2542 ก็เป็นการยื่นคำขอและการอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเอง อันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้ไม่มีข้อความที่แสดงว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิการเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและ วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามที่โจทก์มีสิทธิอยู่แล้ว แต่พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ ลูกจ้างนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มี ความผิดตามมาตรา 119 ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเอง จำเลย จึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครองปรปักษ์ และการบังคับคดี
การแย่งการครอบครองที่ดินจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ร. เพราะร. ได้ยกให้ ว. ก่อนตาย ว. ได้ครอบครองทำประโยชน์มาประมาณ20 ปี โดยโจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้อง แล้ว ว. ได้ขายให้จำเลย จำเลยจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์ต่อจาก ว. ไม่ได้บุกรุก เห็นได้ว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าโจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่จึงไม่ชอบ
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมหากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นกระทำการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมหากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นกระทำการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้