พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8354/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นลงโทษกักขังแทนจำคุก และศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก และศาลอุทธรณ์ภาค 9มิได้กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น จะอนุญาตตามมาตรา 219 ตรีไม่ได้จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาล อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8254/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 เนื่องจากเป็นการยกข้อกล่าวหาเดิมซ้ำ โดยไม่ได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีข้อพิรุธสงสัยโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใดตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไร คงคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาไว้ในฎีกาเท่านั้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8254/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 เหตุจากจำเลยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาใช้โดยมิได้คัดค้านข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีข้อพิรุธสงสัยโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใด ตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไร คงคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาไว้ในฎีกาเท่านั้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8193/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งหยุดงานชั่วคราวของนายจ้างชอบด้วยกฎหมายหากมีเหตุผลทางธุรกิจ และจ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ประสบปัญหาด้านการตลาด คำสั่งซื้อสินค้าลดลงมาก ทำให้การดำเนินงานของโจทก์ในส่วนการประกอบชิ้นส่วนลดน้อยลง ถือเป็นเหตุจำเป็นที่โจทก์สามารถสั่งให้หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวได้ การที่โจทก์สั่งให้ลูกจ้างที่ทำงานในส่วนการประกอบหยุดงานชั่วคราวเป็นเวลา 2 เดือนจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในช่วงที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างในวันทำงาน รวมทั้งเบี้ยขยันและค่าอาหาร รวมแล้วประมาณร้อยละ 80 ของค่าจ้าง นับว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างปกติเต็มจำนวนให้แก่ลูกจ้างที่โจทก์สั่งให้หยุดงานชั่วคราวอีก
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในช่วงที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างในวันทำงาน รวมทั้งเบี้ยขยันและค่าอาหาร รวมแล้วประมาณร้อยละ 80 ของค่าจ้าง นับว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างปกติเต็มจำนวนให้แก่ลูกจ้างที่โจทก์สั่งให้หยุดงานชั่วคราวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8139-8142/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ล่าช้าเกินกำหนดและไม่มีเหตุจำเป็นพิเศษ ศาลฎีกายืนคำสั่งศาลแรงงานกลาง
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างปฏิเสธเลยว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งคำบังคับไปให้จำเลยเป็นการส่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คงกล่าวอ้างเพียงว่า ไม่เคยได้รับหมายเรียกและ สำเนาคำฟ้อง ส่วนคำบังคับก็ได้รับล่าช้ามากเพราะพนักงานของจำเลย ที่รับคำบังคับไว้แทนจำเลยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จงใจขาดนัด พฤติการณ์ตามข้ออ้างของจำเลยดังนี้ยังถือไม่ได้ ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พนักงานของจำเลยได้รับคำบังคับที่ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไว้แทนจำเลยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับ กล่าวคือ ต้องยื่นภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2542 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังจากพ้นกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยชอบแล้ว
พนักงานของจำเลยได้รับคำบังคับที่ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไว้แทนจำเลยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับ กล่าวคือ ต้องยื่นภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2542 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังจากพ้นกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีแรงงานและการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ว่า "คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือ และต้องกล่าวหรือ แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี พร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น" กรณีจึงไม่อาจนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 มาใช้ในการ วินิจฉัยคดีแรงงานอีก
ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดคำเบิกความของ ช. จึงไม่เป็นพิรุธ เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยแล้วเห็นว่าสอดคล้องกันตามลำดับไม่เป็นพิรุธมีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์ประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้ให้เหตุผลไว้ครบถ้วนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางหยิบยกพยานหลักฐานส่วนที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยมาวินิจฉัยโดยไม่นำพยานหลักฐานส่วนของโจทก์ที่เป็นประโยชน์มาหักล้าง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดคำเบิกความของ ช. จึงไม่เป็นพิรุธ เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยแล้วเห็นว่าสอดคล้องกันตามลำดับไม่เป็นพิรุธมีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์ประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้ให้เหตุผลไว้ครบถ้วนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางหยิบยกพยานหลักฐานส่วนที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยมาวินิจฉัยโดยไม่นำพยานหลักฐานส่วนของโจทก์ที่เป็นประโยชน์มาหักล้าง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลคำวินิจฉัยคดีแรงงาน: ศาลแรงงานต้องให้เหตุผลชัดเจนและไม่อาจอุทธรณ์ดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือ และต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น" กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 141มาใช้ในการวินิจฉัยคดีแรงงานอีก
ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดคำเบิกความของ ช.จึงไม่เป็นพิรุธ เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยแล้วเห็นว่าสอดคล้องกันตามลำดับไม่เป็นพิรุธ มีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์ประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้ให้เหตุผลไว้ครบถ้วนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางหยิบยกพยานหลักฐานส่วนที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยมาวินิจฉัยโดยไม่นำพยานหลักฐานส่วนของโจทก์ที่เป็นประโยชน์มาหักล้าง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดคำเบิกความของ ช.จึงไม่เป็นพิรุธ เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยแล้วเห็นว่าสอดคล้องกันตามลำดับไม่เป็นพิรุธ มีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์ประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้ให้เหตุผลไว้ครบถ้วนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางหยิบยกพยานหลักฐานส่วนที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยมาวินิจฉัยโดยไม่นำพยานหลักฐานส่วนของโจทก์ที่เป็นประโยชน์มาหักล้าง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8098/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: ต้องมีคำฟ้องอุทธรณ์ที่ศาลรับไว้แล้วจึงจะแก้ไขได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติถึงการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 ประกอบมาตรา 246 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานมิได้รับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จึงไม่มีตัวคำฟ้องอุทธรณ์ที่จำเลยจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติม จำเลยย่อมไม่อาจขอขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเพื่อการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ได้
ศาลแรงงานมิได้รับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จึงไม่มีตัวคำฟ้องอุทธรณ์ที่จำเลยจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติม จำเลยย่อมไม่อาจขอขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเพื่อการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8098/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: การใช้บทบัญญัติ ป.วิ.พ. โดยอนุโลมและการขยายระยะเวลา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มิได้บัญญัติถึงการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.มาตรา 179 ประกอบมาตรา 246 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานมิได้รับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จึงไม่มีตัวคำฟ้องอุทธรณ์ที่จำเลยจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติม จำเลยย่อมไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเพื่อการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ได้
ศาลแรงงานมิได้รับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จึงไม่มีตัวคำฟ้องอุทธรณ์ที่จำเลยจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติม จำเลยย่อมไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเพื่อการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7954/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้ขับรถที่เสพยาเสพติดขณะปฏิบัติหน้าที่: การพิจารณาบทลงโทษตามกฎหมายจราจรและกฎหมายยาเสพติด
จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถซึ่งขณะที่จำเลยกระทำความผิดนี้ มีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ยกเลิกความในมาตรา 127 ทวิ เดิมและให้เพิ่มความในวรรคสองของมาตรา 127 ทวิ ว่า "ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 102(3 ทวิ) หรือ (3 ตรี)ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแล้วแต่กรณีแต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม" จึงต้องลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 127 ทวิ วรรคสอง