คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กมล เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องยื่นภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งขาดนัด การส่งหมายเรียกโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วได้กำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลย จึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 68, 1111 แม้จำเลยจะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้วเมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 การที่จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ข้อพิพาทความเสียหายของลูกจ้างกับนายจ้างและการวินิจฉัยอำนาจศาล
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหาว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้ฟ้องรวมกัน
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องของคดีนั้นเป็นเกณฑ์
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัว โจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคนการที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้ฟ้องรวมกันก็ได้
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องของคดีนั้นเป็นเกณฑ์
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัวโจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคน การที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างครูเนื่องจากทุจริตหน้าที่: การตีความคำว่า 'ทุจริต' และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 กำหนดว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ครูซึ่งเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ ฯลฯ และระเบียบดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ ทั้งมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต"ตามที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
การที่โจทก์อนุญาตให้นักศึกษานำเอกสารที่เป็นธงคำตอบของข้อสอบคัดลอกตอบข้อสอบ โดยเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นตำราทั่วไป ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ข้อ 34(1) ทั้งการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 อีกด้วย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างครูเอกชนเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ และการใช้ความหมายของคำว่า 'ทุจริต' ตามพจนานุกรม
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 34 กำหนดว่า ผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ครูซึ่งเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1)ทุจริตต่อหน้าที่ ฯลฯ และระเบียบดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ทั้งมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่มีบัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
การที่โจทก์อนุญาตให้นักศึกษานำเอกสารที่เป็นธงคำตอบของข้อสอบคัดลอกตอบข้อสอบ โดยเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นตำราทั่วไป ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ข้อ 34 (1) ทั้งการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 อีกด้วย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535-6775/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ประชุมใหญ่สหภาพแรงงานชอบด้วยกฎหมาย แม้มติไม่มีรายละเอียดข้อเรียกร้อง ยื่นข้อเรียกร้องภายในระยะเวลาสมควร
มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้ยื่นข้อเรียกร้อง แม้จะไม่มีรายละเอียด ต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อเรียกร้องนั้น ก็ยังเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติบังคับให้มติที่ประชุมใหญ่จะต้องมีรายละเอียดเช่นว่านั้น คำกล่าวของประธานในที่ประชุมสหภาพที่กล่าวในทำนองว่าสหภาพจำเป็นที่จะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปีนั้นเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่เท่านั้นหาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในกำหนดสิ้นปีด้วย เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้ยื่นข้อเรียกร้อง และสหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยภายในระยะเวลาสมควรแล้ว แม้จะล่วงเลยวันสิ้นปีก็ตาม ก็ถือเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535-6775/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และการคำนวณค่าต่างๆ
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 และ 103 และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท. มิได้บังคับว่ามติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานที่ให้ยื่นข้อเรียกร้องจะต้องมีรายละเอียดว่าให้เรียกร้องสิ่งใดเช่น ค่าจ้าง สวัสดิการ เป็นจำนวนเท่าไร และตั้งใครเป็นผู้แทนในการเจรจา ตามที่จำเลยอ้าง ดังนั้น มติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงาน ท. ที่เพียงแต่ระบุให้สหภาพแรงงาน ท. ยื่นข้อเรียกร้องซึ่งเป็นกิจการอันมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของสมาชิกไว้ลอย ๆ โดยไม่มีรายละเอียดดังกล่าว จึงเป็นมติที่ชอบตาม มาตรา 103 (2) และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท.
ข้อความที่ว่า "ประธานกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาเราไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องเลย ฉะนั้นในปีนี้เราจำเป็นจะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปี 2539 นี้ จึงอยากให้ที่ประชุมลงมติว่าเราจะยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่ยื่น" มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่ว่าเพราะเหตุใดจึงขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่เท่านั้น หาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในสิ้นปี 2539 ด้วยไม่ เมื่อที่ประชุมใหญ่มิได้ลงมติไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในปี 2539 และไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกระทำในระยะเวลาใด สหภาพแรงงาน ท. จึงสามารถยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยได้ภายในระยะเวลาอันสมควร ที่ประชุมใหญ่ลงมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2539 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ไม่ปรากฏว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องมาก่อน การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ท. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จึงเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว
การที่สหภาพแรงงาน ท. ทำหนังสือแจ้งข้อพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาททราบตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 21 ในวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ โดยไปยื่นต่อ ส. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเวรประจำที่ทำการของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จึงถือได้ว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแล้ว
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่ยอมจ่ายย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ที่ 19 ถึงที่ 241 ตั้งแต่วันเลิกจ้าง และเพื่อความเป็นธรรมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 18 นับแต่วันเลิกจ้างด้วย แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ได้อุทธรณ์ก็ตาม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวหรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อยื่นอุทธรณ์/ฎีกาแทนโจทก์ร่วม และการขยายระยะเวลา
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท.เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท.จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 62 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อแทนจำเลยในการอุทธรณ์/ฎีกา และเหตุขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท. เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท. จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 62 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเองข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้
of 467