คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กมล เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากลูกจ้างของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินงานตาม พ.ร.ก.ปฏิรูปสถาบันการเงิน
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2541 บัญญัติว่า นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา 30 ได้ก่อขึ้น มิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้ ซึ่งคำว่า หนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ย่อมหมายถึงหนี้ทุกประเภทโดยไม่ต้องคำนึงถึงเจ้าหนี้ว่าเป็นผู้ใด และเข้ามาขอรับชำระหนี้ตามพระราชกำหนดนี้ได้โดยวิธีใด ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการจึงตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2541
แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลางก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มีบทบัญญัติห้ามฟ้องไว้แต่เฉพาะในมาตรา 26 โดยห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเท่านั้น เมื่อคดีนี้เป็นคดีแรงงานไม่ใช่คดีล้มละลาย โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฟ้องคดีและมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การยึดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ แม้มีการวางเงินชำระหนี้บางส่วน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ จำเลยต้องรับผิดชำระค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยแม้ก่อนหน้าในวันที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยนั้น จำเลยจะวางเงินชำระหนี้แก่โจทก์ 1,000,000 บาท ก็เป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนยังมีหนี้ตามคำพิพากษาอยู่อีกถึง 1,965,741.45 บาท ชอบที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เหลือได้และแม้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะมีราคาสูง แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่จำเลยวางเป็นประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นทุเลาการบังคับโดยสภาพไม่สมควรแบ่งการยึดระหว่างที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพราะอาจทำให้ทรัพย์สินเสื่อมราคา การกระทำของโจทก์หาใช่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็นซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904-5911/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เหตุเลิกจ้าง & ผลของการแถลงรับเฉพาะบางส่วนของผู้คัดค้าน
ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งแปด อ้างว่าผู้คัดค้านทั้งแปดกระทำความผิดที่สมควรจะเลิกจ้างเป็นการเสนอคดีฝ่ายเดียว ผู้ร้องต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่ามีเหตุตามที่กล่าวอ้างจริงและเป็นเหตุที่สมควรจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งแปดได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านทั้งแปดยอมรับในข้อเท็จจริงใด ศาลก็อาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นโดยผู้ร้องไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดง ผู้คัดค้านทั้งแปดจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาหรือไม่ก็ได้ และไม่ใช่คำให้การ ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองที่จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้องรวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธ มิฉะนั้นจะทำให้คดีไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทและผู้คัดค้านทั้งแปดไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบเพราะต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำร้อง หลังจากผู้คัดค้านทั้งแปดยื่นคำคัดค้าน ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วให้ผู้คัดค้านทั้งแปดสืบแก้ แสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่า ผู้คัดค้านทั้งแปดมิได้ยอมรับว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้น ผู้คัดค้านทั้งแปดมีสิทธินำพยานเข้าสืบและศาลแรงงานกลางนำพยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งแปดมาใช้ประกอบการวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904-5911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานของผู้ถูกร้องในคดีเลิกจ้างเมื่อผู้ร้องเสนอคดีฝ่ายเดียว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน อ้างว่าผู้คัดค้านกระทำความผิดที่สมควรจะเลิกจ้าง อันเป็นการเสนอคดีฝ่ายเดียว ผู้ร้องจะต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้นจริงและเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านยอมรับในข้อเท็จจริงใด ศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นโดยผู้ร้องไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดง ทั้งนี้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาหรือไม่ก็ได้ และคำคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ใช่คำให้การ ไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ที่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้อง รวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธ คดีนี้หลังจากผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้ว ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่ เพียงใด โดยให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วให้ผู้คัดค้านสืบแก้ แสดงว่าศาลแรงงานเห็นว่า ผู้คัดค้านมิได้ยอมรับว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้น และกรณีสมควรที่จะฟังพยานหลักฐานของผู้คัดค้านประกอบการพิจารณาวินิจฉัยข้ออ้างของผู้ร้องด้วยซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจที่จะกระทำได้ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบและศาลแรงงานสามารถนำพยานหลักฐานของผู้คัดค้านมาใช้ประกอบการวินิจฉัย อันเป็นกรณีที่จะต้องรับฟังจากพยานหลักฐานอื่นต่อไป ซึ่งพยานหลักฐานอื่นที่ศาลแรงงานนำมารับฟังดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการนำสืบของผู้ร้องทั้งสิ้น การรับฟังพยานหลักฐานและการวินิจฉัยคดีของศาลแรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความสองคนขาดนัดศาล แม้คนหนึ่งป่วย ศาลถือจงใจขาดนัด เหตุอีกคนสามารถดำเนินคดีแทนได้
แม้ตัวจำเลยหรือทนายจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อทราบวันนัดของศาล ก็ต้องถือว่าตัวจำเลยและทนายจำเลยอีกคนหนึ่งทราบวันนัดของศาลแล้ว การที่ ว. ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดของศาล จึงต้องถือว่า พ. ทนายจำเลยอีกคนหนึ่งทราบวันนัดของศาลด้วยทุกครั้ง ที่จำเลยอ้างว่า ว. เจ็บป่วย พ. ทนายจำเลยอีกคนหนึ่งก็สามารถที่จะดำเนินคดีแทนได้ ดังนั้น การที่ทนายจำเลยทั้งสองคนไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัด และไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655-5751/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวเลิกจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบจริง จึงมีผลตามกฎหมาย การบอกกล่าวล่วงหน้ามีความสำคัญ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยได้ส่งสำเนาประกาศเลิกจ้างโจทก์ จากสำนักงานกลางกรุงเทพมหานคร ทางโทรสารไปปิดประกาศเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบที่โรงงานน้ำตาลลำปางที่โจทก์สังกัดอยู่ แม้จะมีการปิดประกาศในวันนั้น แต่จะมีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างต่อเมื่อโจทก์ได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 และมีผลเป็นการเลิกจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือวันที่ 30 สิงหาคม 2541 เมื่อการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้เป็นผลเลิกจ้างกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 582 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วันตามฟ้อง และจำลเยต้องชำระดอกเบี้ยของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ประกอบด้วยมาตรา 224 นับแต่วันฟ้องซึ่งถือเป็นวันผิดนัดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5498/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ และประเด็นค่าอาหารเป็นค่าจ้าง
จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าเงิน ค่าอาหารมิใช่ค่าจ้างและการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ถือเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าอาหารให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ต้องไปทำงานที่โครงการวางท่อส่งก๊าซที่จังหวัดอื่นเป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือนโดยโจทก์ไม่ต้องนำหลักฐานมาเบิกและไม่ว่าโจทก์จะทำงานเดือนละกี่วัน เงินดังกล่าวจึงเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ไปทำงานในโครงการ ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างในระหว่างนั้น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมติคณะรัฐมนตรีต่อสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังเปลี่ยนสถานะ - เงินช่วยเหลือพิเศษและค่าจ้าง
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++ คดีแดงที่ 5489-5494/2543
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์ทั้งหกต่างเป็นลูกจ้างจำเลย ทำงานติดต่อกันมาคนละครบ 10 ปีขึ้นไป มีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุตามระเบียบของจำเลยในปี 2541 เดิมจำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
++ มีข้อบังคับการทำงานเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเพราะเกษียณอายุ การจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุและการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคมว่า พนักงานที่มีอายุครบเกณฑ์เกษียณอายุในปีใดให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในวันที่ 31 ธันวาคมของปีนั้น โดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุตามกฎหมายแรงงานและจะจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคมตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนดเป็นคราว ๆ
++ ซึ่งปรากฏว่า ในปี 2541 จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่พนักงานที่ทำงานจนถึงเดือนธันวาคม 2541 เท่ากับเงินเดือนคนละ 1 เดือน
++ ประมาณกลางปี 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้เข้าถือหุ้นของจำเลยเกินร้อยละห้าสิบ มีผลทำให้จำเลยเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ทั้งหกเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534
++ ซึ่งสรุปได้ว่า พนักงานที่เกษียณอายุในปีใดให้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 30 กันยายน ของปีนั้น และถ้าพนักงานนั้นได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีระเบียบในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานแล้ว
++ ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม 2541 จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ 1ตุลาคม 2541 ครั้นเดือนกันยายน 2541 กระทรวงการคลังทำเรื่องหารือคณะรัฐมนตรีขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามเอกสารหมาย จ.ล.2 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ตามเอกสารหมายจ.ล.3
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกและจำเลยว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลทำให้สิทธิเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุ และสิทธิได้รับค่าชดเชยของโจทก์ทั้งหกยังคงมีอยู่ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยเดิมหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า แม้มติคณะรัฐมนตรีจะไม่ใช่กฎหมาย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้ แต่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ และโจทก์ทั้งหกเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรี เว้นเสียแต่ว่ามติคณะรัฐมนตรีนั้นจะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีตามเอกสารหมาย จ.ล.3 เป็นมติที่เกิดขึ้นและอนุวัตตามการขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่ถูกกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปของกระทรวงการคลัง ตามเอกสารหมาย จ.ล.2 ซึ่งมีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อน ทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่กล่าวมานี้มิได้ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย จึงมีผลใช้บังคับ
++ แต่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคดีนี้ให้จำเลยได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของจำเลยเฉพาะแต่ในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงานตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารหมาย จ.ล.2 ข้อ 2.3.2 เท่านั้น หาได้ยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งหกและจำเลยด้วยไม่
++ ดังจะเห็นได้จากข้อความในเอกสารหมาย จ.ล.2 ข้อ 2.4 ที่มติคณะรัฐมนตรี ตามเอกสารหมาย จ.ล.3ระบุถึง
++ ดังนั้น สิทธิเกี่ยวกับการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากการเกษียณอายุและสิทธิที่จะได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานของโจทก์ทั้งหก จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534
++ กล่าวคือ โจทก์ทั้งหกต้องพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยเนื่องจากเกษียณอายุในวันที่ 30 กันยายน2541 และมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
++ จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ทั้งหกพ้นจากการเป็นพนักงานในวันที่ 1ตุลาคม 2541 ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2541 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 ให้โจทก์ทั้งหก
++ เมื่อโจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิทำงานจนถึงเดือนธันวาคม2541 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่โจทก์ทั้งหก
++ และการที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เพราะเหตุเกษียณอายุให้โจทก์ทั้งหกเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานถูกต้องแล้ว
++ เมื่อจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ทั้งหกอีก จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินนั้นให้โจทก์ทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีเก่ากับคดีใหม่ต้องกระทำภายในระยะเวลารอการลงโทษ หากพ้นระยะเวลาแล้วไม่สามารถบวกโทษได้
ตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคหนึ่งจะเห็นได้ว่าโทษที่รอไว้ในคดีก่อนอันจะนำมาบวกกับโทษในคดีหลังนั้น ความผิดในคดีหลังจะต้องกระทำภายในระยะเวลาระหว่างรอการลงโทษตามที่คดีก่อนกำหนดไว้
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2542 ให้จำคุกและปรับจำเลยโดยโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี ช่วงระยะเวลารอการลงโทษคือนับแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นวันพิพากษาเป็นต้นไป มีกำหนด 2 ปี แต่คดีนี้จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีก่อน การกระทำความผิดของจำเลยคดีหลังนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58 วรรคหนึ่ง จะนำโทษในคดีก่อนที่รอการลงโทษมาบวกเข้ากับคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5286-5363/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ คณะรัฐมนตรีปรับลดโบนัสรัฐวิสาหกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ขัดต่อข้อตกลงสภาพการจ้าง
ธนาคารออมสิน จำเลย เป็นกิจการของรัฐ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 และโจทก์ทั้งหมดมีสถานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วย โจทก์ทั้งหมดและจำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน แม้จำเลยใช้หลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลานาน ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 จะมีบทเฉพาะการในมาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ยังคงใช้บังคับต่อไป ก็มิได้หมายความว่าห้ามไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ไม่อาจดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติถึงวิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้โดยให้นายจ้างหรือลูกจ้างสามารถเรียกร้องให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ เพราะกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในกิจการของเอกชนเท่านั้น ไม่ได้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจด้วย ทั้ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ก็มิได้มีบทบัญญัติในลักษณะเช่นนั้น ประกอบกับรัฐวิสาหกิจเป็นกิจการของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เมื่อประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ การปรับลดเงินโบนัสของรัฐวิสาหกิจจะช่วยให้รัฐวิสาหกิจนำเงินที่ประหยัดได้ไปเพิ่มวงเงินเพื่อใช้ในการลงทุน ซึ่งจะทำให้วงเงินลงทุนที่เบิกจ่ายได้จริงมีจำนวนสูงขึ้นและรัฐวิสาหกิจยังไม่ได้จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2541 ให้แก่พนักงาน คณะรัฐมนตรีย่อมมีมติให้ปรับลดเงินโบนัสของพนักงานรัฐวิสาหกิจประจำปี 2541 ลงได้ไม่เป็นการลงมติย้อนหลัง และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้ปรับลดเงินโบนัสกรรมการและพนักงานฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ลงทุกแห่ง ทุกคน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลใด มติคณะรัฐมนตรีจึงมีผลใช้บังคับ
of 467