คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กมล เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201-5202/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่จนเกิดเหตุร้ายแรง ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องว่าด้วยการสิ้นสุดสภาพการจ้างในเรื่องการเลิกจ้าง กำหนดให้ผู้ร้องเลิกจ้างพนักงานที่ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบวินัยการทำงานกรณีร้ายแรงได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และบทที่ 8 ว่าด้วยวินัยในการทำงานและการดำเนินการทางวินัย ข้อ 8.2.1 ในเรื่องลักษณะความผิดวินัยว่าด้วยการปฏิบัติงานข้อ 3 กำหนดว่า การละทิ้งหน้าที่เป็นการผิดวินัยในการปฏิบัติงาน เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมีหน้าที่ดูแลเตาอบโฮโมจิไนซ์ซึ่งใช้อบแท่งอะลูมิเนียม ต้องคอยกดปุ่มนำแท่งอะลูมิเนียมที่อบได้ขนาดตามกำหนดเวลาแล้วออกจากเตาอบ เมื่อมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้นและรู้อยู่แล้วว่า หากเปิดเตาอบทิ้งไว้ในขณะที่มีอะลูมิเนียมอยู่ในเตาอบ โดยไม่มีคนคอยดูแลนำอะลูมิเนียมที่อบได้ขนาดแล้วออกจากเตาอบ อะลูมิเนียมอาจจะละลายและอาจเกิดไฟไหม้ได้ การที่ผู้คัดค้านทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปอยู่ที่โรงอาหาร โดยไม่ปิดวาล์วหรือที่ปิดเปิดแก๊สของเตาอบ จนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้บริเวณเตาอบทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าตรวจสอบอาคารพิพาทต้องระบุฝ่ายที่เอนมาเป็นเหตุละเมิดชัดเจน มิใช่ระบุเพียงอาคารทั้งสองหลังเอียง
โจทก์ จำเลยตกลงท้ากันว่าหากโยธาธิการจังหวัดหรือวิศวกรของโยธาธิการจังหวัดชี้ขาดว่าตึกของโจทก์หรือของจำเลยเป็นฝ่ายที่เอนมาจนเป็นเหตุให้เกิดการละเมิด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้คดี ส่วนเรื่องค่าเสียหายคู่ความท้ากันขอให้โยธาธิการจังหวัดหรือวิศวกรของโยธาธิการจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบความเสียหายและคิดคำนวณโดยให้ระบุค่าแรงและค่าวัสดุในการซ่อมแซมตึกไว้ด้วยวิศวกรของโยธาธิการจังหวัดไปตรวจสอบตึกพิพาทของโจทก์ จำเลย แล้วมีหนังสือของโยธาธิการจังหวัดตอบว่า อาคารพิพาทเกิดจากการเอียงของตัวอาคารทั้งสองหลังโดยแต่ละหลังต่างก็เอียงเข้าหากันสาเหตุไม่น่าจะเกิดจากการออกแบบหรือการควบคุมงานก่อสร้างที่ผิดพลาดเนื่องจากอาคารทั้งสองหลังมีอายุการใช้งานมานานกว่า 10 ปีแล้วทั้งไม่พบลักษณะการวิบัติของโครงสร้างอาคารที่พอจะชี้ประเด็นว่าเกิดจากความผิดพลาดของการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง เช่น คาน หรือเสาแตกหักแต่อย่างใด การเอียงตัวของอาคารทั้งสองหลังน่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คือน่าจะเกิดจากความสามารถในการรับน้ำหนักของดินใต้ฐานรากอาคารทั้งสองหลังมีความสามารถในการรับน้ำหนักลดลงน่าจะเกิดจากมีการไหลซึมของน้ำผิวดินลงไปสู่ดินใต้ฐานรากอาคารทำให้ดินใต้ฐานรากอาคารอ่อนตัวลงหรือเกิดจากระดับน้ำใต้ดินที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนเรื่องค่าเสียหายนั้นคู่กรณีแต่ละฝ่ายต่างน่าจะรับผิดชอบค่าเสียหายและซ่อมแซมส่วนที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ดังนี้หนังสือของโยธาธิการจังหวัดยังไม่เป็นการชี้ขาดประเด็นพิพาทตามคำท้า คู่ความต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาทางหน้าศาล ถือเป็นการแจ้งให้ทราบแล้ว แม้โจทก์มิได้ติดตามตรวจสอบ
ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาลโดยให้มีผลทันทีแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 25,26 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัดและศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยจดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาตามกฎหมายแล้ว จึงต้องถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้วในวันนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 140 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เองไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาและการรับทราบคำพิพากษาในคดีแรงงาน การไม่ติดตามคดีถือเป็นความบกพร่องของผู้ฟ้อง
ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาลโดยให้มีผลทันทีแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25, 26 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัดและศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยจดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาตามกฎหมายแล้ว จึงต้องถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้วในวันนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามเดิม แม้จำเลยอ้างมีการตกลงเลิกสัญญา แต่เป็นเหตุสนับสนุนข้ออ้างเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรกโดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างเป็นสาระสำคัญ แม้มีการอ้างตกลงเลิกสัญญา
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรก โดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ขายไม่ผิดสัญญาหากยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อต้องชำระเงินและนัดโอนกรรมสิทธิ์ก่อน
แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทข้อ 3 จะระบุไว้ว่า ผู้จะขายทุกคนจะเริ่มดำเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยตลอดจนบริวารของผู้เช่าหรือผู้อาศัยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินทันทีนับแต่วันทำสัญญานี้และผู้จะขายสัญญาว่าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญา แต่เจตนารมณ์ของคู่สัญญามิได้ถือเอาตามสัญญาข้อ 3 เป็นข้อสาระสำคัญอันถือว่าผู้จะขายเป็นผู้ผิดสัญญา เพราะตามสัญญาข้อ 6 ยังระบุว่า แม้ผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาข้อ 3 ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญาแต่ผู้จะซื้อยังมีหน้าที่จะต้องแจ้งเป็นหนังสือถึงผู้จะขายให้ทราบถึงกำหนดระยะเวลานัดชำระเงินจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เหลือ โดยกำหนดไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดสัญญาตามข้อ 3 ทั้งเมื่อผู้จะซื้อชำระเงินส่วนที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ให้ผู้จะขายตามสัญญาข้อ 6 แล้ว ตามสัญญาข้อ 7 ยังกำหนดให้ผู้จะซื้อแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้จะขาย ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันที่ผู้จะซื้อได้ชำระเงินตามข้อ 6 แล้ว ผู้จะขายทุกคนตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ผู้จะซื้อทันทีและผู้จะซื้อจะชำระเงินส่วนที่เหลือให้ผู้จะขายในวันดังกล่าว โดยผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อยึดเงินไว้จำนวน 500,000 บาท เพื่อให้ผู้จะซื้อใช้จ่ายดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เช่าหรือ ผู้อาศัยตลอดจนบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทเรียบร้อยแล้ว ผู้จะซื้อจึงจะคืนเงินส่วนที่เหลือตามความเป็นจริงให้ผู้จะขายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นนี้ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าแม้ผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยตลอดจนบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท ก็ยังไม่ถือว่า ผู้จะขายผิดสัญญาอันเป็นเหตุให้ผู้จะซื้อบอกเลิกสัญญาได้ ผู้จะซื้อยังมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 และข้อ 7 ต่อไป
กรณีที่ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกปฏิบัติว่าจะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไปหรือจะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทได้ต้องเป็นไปตามสัญญาข้อ 11 คือ เป็นกรณีที่ผู้จะขายทุกคนไม่สามารถทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ว่าแปลงหนึ่งแปลงใดให้ผู้จะซื้อได้ และตามสัญญาข้อ 8 ระบุว่า ผู้จะขายไม่นำที่ดินพิพาท ไปก่อภาระผูกพัน หากนำไปก่อภาระผูกพันก็ต้องปลดภาระผูกพันให้เสร็จสิ้นก่อนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้จะซื้อ เห็นได้ว่า กรณีที่ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกที่จะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไปหรือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามข้อ 11 และข้อ 8 จะต้องเป็นกรณีที่มีการกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันแล้ว ผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ว่าแปลงใดแปลงหนึ่งให้ผู้จะซื้อได้ หรือในวันดังกล่าวผู้จะขายยังไม่สามารถปลดภาระผูกพันให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันในวันนั้น หากเพียงผู้จะขายผิดสัญญาตามข้อ 3 ยังไม่ทำให้ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกว่าจะดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือจะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้จะขายไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาข้อ 3 ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ผู้จะซื้อได้บอกเลิกหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายต่อผู้จะขาย โดยผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 และข้อ 7 ที่จะชำระเงินที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ และผู้จะซื้อไปดำเนินการกำหนดนัดเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกับผู้จะขาย ถือได้ว่าโจทก์ผู้จะซื้อเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4956/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพร่วมกับพยานหลักฐานอื่น เชื่อได้ว่าจำเลยมีส่วนร่วมในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
แม้ตามทางสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนจับกุมทราบเพียงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกอีกสองคนจะมาส่งมอบเมทแอมเฟตามีน โดยไม่ได้ระบุชื่อจำเลยที่ 2 ด้วยก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็ร่วมเดินทางมาในรถยนต์คันเดียวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมีห่อเมทแอมเฟตามีนวางอยู่ที่เบาะด้านหลังในชั้นจับกุมจำเลยต่างรับสารภาพว่าได้ร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนมาส่งมอบแก่ลูกค้า ซึ่งเป็นคำรับสารภาพในชั้นต้นทันทีที่ถูกจับ ยังมิได้มีโอกาสคิดปรุงแต่งเรื่องให้ผิดไปจากความจริง คำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 สอดคล้องกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมีรายละเอียดของบุคคลที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนของการกระทำผิดตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถูกจับ จึงน่าเชื่อว่าเป็นการรับสารภาพตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ รับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันระงับสิ้นเมื่อสัญญาหลักเปลี่ยนแปลง และการพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีแรงงาน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน และอธิบดีผู้พิพากษาแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ในส่วนนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่เกิดจากการทำงานและความผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลัง คือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ขอให้บังคับตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการทำงานระงับสิ้นเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ ศาลพิพากษาเกินฟ้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงานและอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 5 ในส่วนนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่ 1ที่เกิดจากการทำงาน และความรับผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลังคือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
of 467