พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภัยร้ายแรงต่อสังคม: ศาลวินิจฉัยได้แม้โจทก์มิได้นำสืบ หากเป็นที่รู้กันทั่วไป
การกระทำความผิดใดจะเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป โดยโจทก์มิต้องนำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1)ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และสภาพความผิดดังกล่าวศาลอาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภัยร้ายแรงต่อสังคม: ศาลหยิบยกพิจารณาลงโทษได้ แม้โจทก์มิได้นำสืบ
การกระทำความผิดใดจะเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป โดยโจทก์มิต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และสภาพความผิดดังกล่าวศาลอาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องเกิดขึ้นขณะเลิกจ้าง การกระทำหลังเลิกจ้างมิอาจเป็นเหตุเลิกจ้างได้ และลูกจ้างทดลองงานก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ
++ เรื่อง คดีแรงงาน
++ คดีแดงที่ 4530-4534/2543
++
การกระทำความผิดของลูกจ้างที่จะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดที่นายจ้างถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างซึ่งจะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2541แต่การกระทำของโจทก์ทั้งหกที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนั้นเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกแล้วการกระทำดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างย้อนหลังเพื่อเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกในวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างได้ แม้จะให้การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2541 ก็ตาม
จำเลยก็ไม่ได้ออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกใหม่อีกครั้งโดยยกเอาการกระทำภายหลังดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกเป็นเหตุเลิกจ้าง ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำภายหลังของโจทก์ทั้งหกดังกล่าวจะเป็นความผิดตามที่จำเลยอุทธรณ์หรือไม่ ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างได้กำหนดไว้ในข้อ 2ว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โดยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างทดลองงานไม่ให้ถือว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายแห่งประกาศข้อดังกล่าว โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ตั้งแต่เป็นลูกจ้างทดลองงานแล้ว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 กันยายน 2539 ข้อ 7 ที่กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในส่วนที่จ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามประกาศดังกล่าวให้แก่โจทก์
++ คดีแดงที่ 4530-4534/2543
++
การกระทำความผิดของลูกจ้างที่จะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดที่นายจ้างถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างซึ่งจะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2541แต่การกระทำของโจทก์ทั้งหกที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนั้นเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกแล้วการกระทำดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างย้อนหลังเพื่อเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกในวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างได้ แม้จะให้การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2541 ก็ตาม
จำเลยก็ไม่ได้ออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกใหม่อีกครั้งโดยยกเอาการกระทำภายหลังดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกเป็นเหตุเลิกจ้าง ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำภายหลังของโจทก์ทั้งหกดังกล่าวจะเป็นความผิดตามที่จำเลยอุทธรณ์หรือไม่ ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างได้กำหนดไว้ในข้อ 2ว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โดยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างทดลองงานไม่ให้ถือว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายแห่งประกาศข้อดังกล่าว โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ตั้งแต่เป็นลูกจ้างทดลองงานแล้ว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 กันยายน 2539 ข้อ 7 ที่กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในส่วนที่จ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามประกาศดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาฐานขับรถโดยเสพยาเสพติด จำเป็นต้องอ้างบทลงโทษเฉพาะสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยขับรถยนต์บรรทุกโดยมิได้รับใบอนุญาต และโจทก์อ้าง พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 151 ซึ่งมีความในวรรคสองว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 93 วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตาม พ.ร.บ.นี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วยแต่เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้อ้างบทมาตรา 102 (3 ทวิ) และ 127 ทวิซึ่งเป็นบทห้ามและบทลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยเสพยาเสพติดแล้วขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลต้องพิจารณาบทลงโทษตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยขับรถยนต์บรรทุกโดยมิได้รับอนุญาต และโจทก์อ้างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 151 ซึ่งมีความในวรรคสองว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 93 วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆอันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วยแต่เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้อ้างบทมาตรา 102(3 ทวิ) และ 127 ทวิซึ่งเป็นบทห้ามและบทลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอและศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ บริษัท ส. จะถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส. กับบริษัท ง. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหากเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัท ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อโฉนดถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งนั้น เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ ดังนั้นผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้ของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอ บริษัท ส. จะถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส.กับบริษัท ค. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัทซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้ขับรถที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ.ขนส่งทางบกแก้ไขโทษหนักกว่ากฎหมายยาเสพติด
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถ ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มี พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา127 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 และให้เพิ่มความในวรรคสองของมาตรา127 ทวิ ว่า "ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 102(3 ทวิ)หรือ (3 ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม"จึงต้องลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 127 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้ขับรถที่เสพยาเสพติด: การพิจารณาโทษตามกฎหมายจราจรและยาเสพติด และการรอการลงโทษ
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถ ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2542 มาตรา 6ให้ยกเลิกความในมาตรา 127 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2535 และให้เพิ่มความในวรรคสองของมาตรา 127 ทวิ ว่า "ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 102(3 ทวิ)หรือ (3 ตรี) ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแล้วแต่กรณี อีกหนึ่งในสาม" จึงต้องลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 127 ทวิ วรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องชั่งผิดกฎหมายเพื่อฉ้อโกงผู้บริโภค เป็นความผิดร้ายแรงสมควรลงโทษ
จำเลยมีเครื่องชั่งสปริงไว้ในครอบครองซึ่งเป็นเครื่องชั่งที่ผิดอัตราไม่ถูกต้องตามประสงค์ทุกประการของพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดฯ กล่าวคือก่อนทำการชั่งด้วยแบบมาตราของทางราชการ เข็มเบนเลย 0 ไปทางน้ำหนักขาด 100 กรัม เป็นการเอาเปรียบและใช้เครื่องชั่งทำการชั่งสินค้าผลไม้ขายแก่ลูกค้าผู้ซื้อซึ่งอยู่ในกิจการค้าอันต่อเนื่องกับผู้อื่นและเป็นการเอาเปรียบในการค้า การกระทำของจำเลยนอกจากเป็นการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายแล้ว ยังเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอาศัยความเชื่อถือไว้วางใจของลูกค้าอย่างน่าละอาย ไม่เป็นแบบอย่างอันดีที่ผู้ประกอบกิจการค้าขายจะพึงประพฤติปฏิบัติ จึงเป็นความผิดร้ายแรงที่สมควรลงโทษเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดโทษและไม่รอการลงโทษให้จำเลยนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว