คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กมล เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานเรื่องการสืบพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า "ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและ สืบพยานใดบ้าง แล้วจดชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคลสภาพและ สถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความ ทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้" ตามข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ศาลแรงงานมีหน้าที่ต้อง สอบถามคู่ความเกี่ยวกับการอ้างและสืบพยานตลอดจนสอบถามในเรื่องรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันที่สั่งให้มีการสืบพยานหรือภายใน 2 วันซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่ง สัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานเรื่องการระบุพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า"ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้าง แล้วจดชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้" ตามข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ศาลแรงงานมีหน้าที่ต้องสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการอ้างและสืบพยานตลอดจนสอบถามในเรื่องรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันที่สั่งให้มีการสืบพยานหรือภายใน 2 วันซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่งสัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีหลักฐานบังคับคดี การออกเช็คไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2539จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมจำนวน 240,000 บาท กำหนดชำระคืนภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2540 ตามสัญญากู้เงิน เอกสารหมาย จ.5 เมื่อสัญญาครบกำหนด จำเลยขอผัดผ่อนการชำระหนี้ไปอีก 2 เดือน โดยทำสัญญากู้เงินฉบับใหม่ตามเอกสารหมาย จ.6 พร้อมออกเช็คพิพาทจำนวนเงิน240,000 บาท ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมตามเอกสารหมายจ.3 เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์ร่วมได้นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว สำหรับสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้น ปรากฏว่ายังมิได้ปิดอากรแสตมป์
++ คดีคงมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้อันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมิได้ปิดอากรแสตมป์ ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จึงรับฟังไม่ได้ว่ามีการทำสัญญากู้กันเป็นหนังสืออันถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ เมื่อการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมีจำนวนกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป หนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่อาจจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แม้โจทก์ร่วมจะได้ยื่นสัญญากู้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากร และได้รับอนุมัติให้เสียอากรพร้อมกับเรียกเก็บเงินเพิ่มอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113ภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันมีผลให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ดังที่โจทก์ร่วมอ้างก็ตาม แต่ก็เป็นการทำให้หนี้นั้นมีหลักฐานและสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ในภายหลังจากวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดให้ใช้เงินอันถือว่าเป็นวันที่ออกเช็คแล้ว
++ ดังนั้น เมื่อวันที่จำเลยออกเช็ค หนี้ตามสัญญากู้รายนี้ยังไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อกล่าวหาการกระทำผิดหลังยื่นฟ้อง แม้รับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2542 เวลากลางวันถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2542 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดอันเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดภายหลังวันที่โจทก์ยื่นฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากกล่าวหาการกระทำความผิดหลังยื่นฟ้อง แม้จำเลยรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยวันที่ 22 มิถุนายน 2542 กล่าวหาว่า จำเลยกระทำความผิดระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2542 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดภายหลังวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งรายงานสืบเสาะในชั้นฎีกาต้องเคยยกขึ้นว่ากล่าวในศาลล่าง และพฤติการณ์ร้ายแรงกระทบต่อสังคม
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยแถลงไม่คัดค้านและลงชื่อไว้ในกระบวนพิจารณาด้วย ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะมาโต้แย้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในชั้นฎีกาไม่ได้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของคู่สมรส แม้ทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
แม้ที่ดินที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกจะเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนสมรสกับผู้ร้อง อันเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย แต่ผู้ร้องก็เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายผู้ร้องย่อมเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 และตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้จำกัดเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะร้องขอไม่ เมื่อผู้ร้องมิได้ถูกตัดมิให้รับมรดก ผู้ร้องจึงเป็นผู้ที่มีสิทธิรับมรดกย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ในปัญหาข้อกฎหมายว่า ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ และขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของคู่สมรสผู้มีสิทธิรับมรดก แม้สินส่วนตัว
แม้ที่ดินที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกจะเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนสมรสกับผู้ร้องอันเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย แต่ผู้ร้องก็เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายผู้ร้องย่อมเป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 และตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้จำกัดเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะร้องขอไม่ เมื่อผู้ร้องขอมิได้ถูกตัดมิให้รับมรดก ผู้ร้องจึงเป็นผู้ที่มีสิทธิรับมรดกย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ในปัญหาข้อกฎหมายว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ และข้อให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกที่บรรทุกเกินน้ำหนักกฎหมาย ก่ออันตรายต่อความปลอดภัยสาธารณะ และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อสังคม
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางมีน้ำหนักบรรทุกทั้งน้ำหนักรถเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 10,850 กิโลกรัม โดยไม่นำพาว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงเพียงใดต่อสภาพทางหลวงแผ่นดินซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมและมีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของสาธารณชนทำให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากสภาพถนนที่ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายที่เกิดจากสภาพของรถยนต์ที่มีน้ำหนักบรรทุกเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับขี่จะควบคุมให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัย เมื่อจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางโดยมุ่งแต่ประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจของตนเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจว่าจะก่อผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอย่างไร ดังนั้น รถยนต์บรรทุกและรถพ่วงของกลางซึ่งใช้ในการกระทำความผิดจึงเป็นทรัพย์ที่สมควรต้องริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403-2430/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชย-การแก้ไขคำฟ้อง: กำหนดระยะเวลาของงาน, การปฏิเสธข้อกล่าวหา, กระบวนการยุติธรรม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง แต่ในวรรคสามบัญญัติว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น" และวรรคสี่บัญญัติว่า "การจ้างที่มีกำหนดเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง" จะเห็นได้ว่า ในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอน ส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท โดยในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี คำว่า งานนั้น ย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
of 467