พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8689/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรม: การประเมินพฤติกรรมลูกจ้างที่ไม่ร้ายแรงเพียงพอต่อการเลิกจ้าง
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะกระทำความผิดดังที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างวันใด อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่คลาดเคลื่อนขัดต่อความเป็นจริง ขัดต่อพยานหลักฐานนั้น ไม่อาจก่อให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การที่ลูกจ้างไม่สนใจในการประชุม เข้าประชุมสาย ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลา และไม่ออกเยี่ยมเยือนลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นเพียงกรณีที่ลูกจ้างไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน ไม่อุทิศเวลาให้แก่งานและไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้แล้ว ลูกจ้างแสดงท่าทางไม่พอใจ แสดงกิริยาไม่สุภาพหรือมีความประพฤติกระด้างกระเดื่อง ก็เป็นเพียงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมอันไม่ควรพึงปฏิบัติเท่านั้น การกระทำของลูกจ้างยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างในกรณีร้ายแรง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
การที่ลูกจ้างไม่สนใจในการประชุม เข้าประชุมสาย ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลา และไม่ออกเยี่ยมเยือนลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นเพียงกรณีที่ลูกจ้างไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน ไม่อุทิศเวลาให้แก่งานและไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้แล้ว ลูกจ้างแสดงท่าทางไม่พอใจ แสดงกิริยาไม่สุภาพหรือมีความประพฤติกระด้างกระเดื่อง ก็เป็นเพียงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมอันไม่ควรพึงปฏิบัติเท่านั้น การกระทำของลูกจ้างยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างในกรณีร้ายแรง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8622/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน: การยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลต้องทำในคำให้การ และอายุความสัญญาจ้าง
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่ จำเลยจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การให้เป็นประเด็นพิพาท เพื่อที่จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดี เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วจำเลยเพิ่งจะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ตามคำฟ้องโจทก์เสนอข้อหาต่อศาลว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างดังกล่าวมิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องโจทก์เสนอข้อหาต่อศาลว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างดังกล่าวมิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการรับพยานหลักฐาน และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงาน ไว้โดยเฉพาะที่จะเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบ และมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าจะทำให้ได้ ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ
ศาลแรงงานสั่งรับเอกสารที่จำเลยส่งศาลและรับฟังสำเนาเอกสารของจำเลยเพราะเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีที่จะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ เป็นการสั่งรับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะดังกล่าว จึงเป็นการสั่งรับและรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์โดยไม่ตั้งผู้แทนจากสหภาพแรงงานร่วมเป็นกรรมการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นการสอบสวนและเลิกจ้างโดยไม่ชอบ โจทก์มิได้กล่าวอ้างเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้จำเลยไม่ยื่นสำเนาเอกสารต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานก็มีอำนาจใช้ ดุลพินิจสั่งรับเอกสารดังกล่าวไว้เป็นพยานของจำเลยได้ โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการ สั่งรับเอกสารเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานสั่งรับเอกสารที่จำเลยส่งศาลและรับฟังสำเนาเอกสารของจำเลยเพราะเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีที่จะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ เป็นการสั่งรับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะดังกล่าว จึงเป็นการสั่งรับและรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์โดยไม่ตั้งผู้แทนจากสหภาพแรงงานร่วมเป็นกรรมการตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นการสอบสวนและเลิกจ้างโดยไม่ชอบ โจทก์มิได้กล่าวอ้างเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้จำเลยไม่ยื่นสำเนาเอกสารต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานก็มีอำนาจใช้ ดุลพินิจสั่งรับเอกสารดังกล่าวไว้เป็นพยานของจำเลยได้ โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการ สั่งรับเอกสารเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการรับพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้คู่ความมิได้ยื่นสำเนา
จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.14 ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีประกอบคำเบิกความพยานบุคคลของจำเลยต่อศาล โดยไม่ยื่นสำเนาต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานและส่งสำเนาเอกสารหมาย ล.11/6 เป็นพยานต่อศาล เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นต้องสืบพยานเอกสารหมาย ล.1ถึง ล.14 อันเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จึงสั่งรับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของจำเลย และรับฟังสำเนาเอกสารหมาย ล.11/6 ประกอบคำเบิกความของพยานจำเลย ย่อมเป็นการสั่งรับโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะการสั่งรับและรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8299/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้รับอนุญาต และการแสดงตนเป็นผู้มีสิทธิฯ เป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยซึ่งมิได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะนำใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะของบุคคลอื่นและหนังสือรับรองของโรงพยาบาล ส. ซึ่งรับรองว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่พยาบาลมาแสดงเพื่อให้บุคคลอื่นและประชาชนทั่วไป เข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะ โดยกระทำการตรวจโรค วินิจฉัยโรค และบำบัดโรคให้แก่ประชาชน การกระทำดังกล่าวนี้เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อจะทำการประกอบโรคศิลปะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8299/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้รับอนุญาต และการแสดงตนเท็จว่าเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
การที่จำเลยซึ่งมิได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะนำใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะของบุคคลอื่น และหนังสือรับรองของโรงพยาบาลซึ่งรับรองว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่พยาบาลมาแสดงเพื่อให้บุคคลอื่นและประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะ โดยกระทำการตรวจโรค วินิจฉัยโรค และบำบัดโรคให้แก่ประชาชนตาม พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 30, 57 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว คือ เพื่อจะทำการประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำคุก 6 เดือน ฐานกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะ จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 10 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 5 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตและความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นกรรมเดียวให้ลงโทษตามความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดให้จำคุก 6 เดือน รวมจำเลยจำคุก 1 ปี 3 เดือน เป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อยและยังคงจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำคุก 6 เดือน ฐานกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะ จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 10 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 5 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตและความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นกรรมเดียวให้ลงโทษตามความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดให้จำคุก 6 เดือน รวมจำเลยจำคุก 1 ปี 3 เดือน เป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อยและยังคงจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8159/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนกรรมการสภาองค์การลูกจ้างที่ถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์หลังการประชุมใหญ่วิสามัญ
สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยกำหนดนัดประชุมใหญ่วิสามัญในวันที่ 12 ตุลาคม 2540 เมื่อการประชุมยังไม่เสร็จสิ้นโดยที่ประชุมมีมติให้เลื่อนไปนัดประชุมใหม่ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 จึงถือได้ว่าในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 เป็นวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญอีกด้วย การที่คณะกรรมการบริหาร (ชุดเก่า) ได้ลงมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 ให้เลื่อนวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญไปเป็นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2540 ย่อมไม่มีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงมติของที่ประชุมใหญ่โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม และต้องถือว่าวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ยังเป็นวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญเช่นเดิม เมื่อที่ประชุมลงมติไม่ไว้วางใจคณะกรรมการบริหารชุดเดิมและเลือกตั้งกรรมการบริหารชุดใหม่ จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยข้อบังคับของสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย การที่โจทก์ในฐานะประธานกรรมการบริหารชุดใหม่นำรายชื่อคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อจำเลยเป็นการดำเนินการโดยเทียบเคียงตามนัยมาตรา 93 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 120 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จำเลยในฐานะนายทะเบียนตามกฎหมายจะต้องดำเนินการรับจดทะเบียนให้ การที่จำเลยไม่รับจดทะเบียนรายชื่อคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ตามคำขอของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงและการฟ้องเกิน 1 ปี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ด. บิดาจำเลย ต่อมาก่อน ด. จะถึงแก่ความตาย ด. ได้ขายให้โจทก์โดยการส่งมอบ โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตลอดมา จึงได้สิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ด. ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อทำกินต่างดอกเบี้ย มิได้ครอบครองเพื่อตน หลังจาก ด. ถึงแก่ความตายโจทก์จำเลยฟ้องร้องกันเป็นคดีอาญาและต่างฝ่ายต่างถอนฟ้องไปแล้วจำเลยได้กลับเข้าครอบครองที่ดินพิพาท เพราะเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้นไม่เคยตกเป็นของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจมีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยานฝ่ายจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากเหตุผลไม่สมควรหรือไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง อ้างว่าโจทก์หลงลืมและโจทก์เพิ่งทราบในภายหลังว่าตามกฎหมายสามารถเรียกร้องดอกเบี้ยได้ หลังจากที่ศาลแรงงาน สืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เหตุที่โจทก์อ้างก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจรู้หรือไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8074/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก เมื่อกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งข้อความที่เป็นผลร้ายให้แก่จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่คัดค้าน โดยรายงานการสืบเสาะและพินิจดังกล่าวปรากฏว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในครั้งที่สองให้ลงโทษจำคุก 1 เดือนและปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบ 1 ปีจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษในคดีนี้ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และกรณีมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ