พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,667 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7677/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การนับระยะเวลาครอบครองต้องเป็นไปตามที่ศาลรับฟังตามคำร้องขอเดิม การวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยบรรยายคำร้องขอว่า ส. และ น. เจ้าของเดิมยกให้ บ. กับ พ. แล้วเป็นมรดกตกทอดแก่ ภ. ต่อมาปี 2506 ภ. ขายให้แก่ ม. มารดาผู้ร้องม. เข้าครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนกระทั่งปี 2517 ม. ได้ยกให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้เข้าครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันเกินกว่า 10 ปี ดังนี้ คำร้องขอของผู้ร้องไม่อาจจะแปลได้ว่าผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องสามารถนับเวลาการครอบครองของ ม. กับของผู้ร้องรวมกันได้เพราะผู้ร้องได้รับโอนการครอบครองจาก ม. มาโดยการรับมรดกไว้ด้วยเพราะตามคำร้องขอ ม. ยังมีชีวิตอยู่หรือถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ร้องมิได้บรรยายไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จะฟังไม่ได้ว่า ม. ยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องแล้วเมื่อปี 2517 แต่หลังจากที่ ม. ถึงแก่ความตายไปเมื่อปี 2530 ผู้ร้องก็ครอบครองที่ดินเรื่อยมา ผู้ร้องจึงมีสิทธินับเวลาที่ ม. ครอบครองรวมเข้ากับเวลาครอบครองของผู้ร้องได้ ซึ่งเป็นเหตุที่ผู้ร้องไม่ได้อ้างไว้ในคำร้องขอ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องขอนอกประเด็นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7677/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการนับระยะเวลาครอบครองโดยมิอาจรวมเวลาครอบครองของผู้อื่นหากมิได้อ้างเหตุรับมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้อ้างเรื่องการรับมรดกมาเป็นเหตุแห่งการนับเวลาครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่า ม.ซื้อที่ดินพิพาทและเข้าครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2508 จนกระทั่ง ม.ถึงแก่ความตายไปเมื่อปี 2530 โดยมิได้ยกให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่อาจนับเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม.รวมเข้ากับเวลาการครอบครองของผู้ร้องได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จะฟังไม่ได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วเมื่อปี 2517 แต่หลังจากที่ ม.ถึงแก่ความตายไปเมื่อปี 2530 ผู้ร้องก็ครอบครองที่ดินพิพาทเรื่อยมา ผู้ร้องจึงมีสิทธินับเวลาที่ ม.ครอบครองอยู่ก่อนรวมเข้ากับเวลาครอบครองของผู้ร้องได้ อันเป็นการนำเวลาการครอบครองของ ม.และของผู้ร้องมานับรวมกันเพราะเหตุการรับมรดก ซึ่งเป็นเหตุที่ผู้ร้องไม่ได้อ้างไว้ในคำร้องขอ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องขอนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้เอกสารปลอมเพื่อขอประกันภัย ศาลแก้ไขจำนวนกระทงความผิดและปรับบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องความว่าจำเลยทำขึ้นซึ่งเอกสารปลอม โดยปลอมลายมือชื่อของผู้ขอเอาประกันภัยรวม 6 คน และกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในแบบพิมพ์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลของโจทก์ร่วมรวม 6 ฉบับเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงที่ผู้ขอเอาประกันภัยทั้งหกคนดังกล่าวทำขึ้น เพื่อขอประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับโจทก์ร่วมแล้วจำเลยใช้เอกสารปลอมที่ทำขึ้นรวม 6 ฉบับดังกล่าวยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อขอเอาประกันภัย เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อ จึงได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้มีรายชื่อขอเอาประกันภัยทั้งหกคนนั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารทั้งหกฉบับและใช้เอกสารปลอมทั้งหกฉบับซึ่งแต่ละฉบับมีชื่อผู้ขอเอาประกันภัยแต่ละคนอ้างต่อโจทก์ร่วมเอง แม้ปรากฏว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งที่จำเลยใช้เอกสารปลอมดังกล่าวจำนวน 2 ฉบับ ในวันเดียวกันก็ตาม ต้องถือว่าจำเลยใช้เอกสารปลอมรวม 6 กระทง ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมมาเพียง 5 กระทงจึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7564/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง แม้ในช่วงการเจรจาข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน
วันเกิดเหตุผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้องเดินมาพูดกับ ธ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาว่า มาเสือกอะไรกับแผนกเช็คเกอร์ แล้วผู้คัดค้านได้กระชากคอเสื้อ ธ. ถึง 2 ครั้ง จับแขนขวาของ ธ. เพื่อจะฉุดเข้าในห้องประชุมต่อหน้าพนักงานอื่นหลายคนระหว่างที่อยู่ในเวลาทำงาน การกระทำดังกล่าวเป็นการพูดจาก้าวร้าวและทำร้ายผู้บังคับบัญชาต่อหน้าพนักงานอื่นของผู้ร้องภายในสถานที่ทำงานและในเวลาทำงาน ทำให้เสียภาพลักษณ์และการปกครองบังคับบัญชาในองค์กรของผู้ร้องเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในกรณีร้ายแรง แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องสหภาพแรงงาน ส. ได้ยื่นข้อเรียกร้องซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจาและผู้คัดค้านเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ส. ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาก็ตาม แต่การกระทำของผู้คัดค้านเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(3) กรณีจึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามมาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 20,000 บาทอีกสถานหนึ่ง แล้วรอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติของจำเลยไว้ อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินคนละ 2 ปีและปรับไม่เกินคนละ 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7421/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบังคับพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง และการรอการลงโทษ
พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสองที่บัญญัติว่า "ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีกหนึ่งในสาม และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่" นั้น หมายความว่าเมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดตามกฎหมายมาตรานี้แล้ว ศาลต้องสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นด้วย อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
โจทก์เบิกความประกอบเอกสารหมาย จ.1 และส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ศาลชั้นต้นรับเอกสารนั้นไว้เป็นพยานโจทก์และนำมาวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ ถือว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานเอกสารของโจทก์เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้โจทก์มิได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวและมิได้ส่งสำเนาให้จำเลย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทหลังสละข้อต่อสู้: ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามประเด็นเดิม
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองและไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนภายใน 1 ปี จะขัดกับคำให้การในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาจากผู้มีชื่อ ก็ต้องถือว่าคำให้การดังกล่าวมีอยู่ แต่ต่อมาในชั้นชี้สองสถานจำเลยขอสละข้อต่อสู้ที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่เสียแล้ว จึงต้องถือว่าคำให้การในเรื่องดังกล่าวมิได้มีอยู่อีกต่อไป ดังนี้ประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยเป็นอันยุติ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ทำให้คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ และพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นดังกล่าว โดยไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงถูกต้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว กลับไปวินิจฉัยประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยซึ่งยุติไปแล้ว จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7038/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 และข้อ 47 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 หมายความว่า ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืนนายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชา สามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานให้เป็นไปตามข้อบังคับการทำงานหรือระเบียบของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้
โจทก์มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทจำเลยมีหน้าที่บริหารงานและควบคุมดูแลการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายของจำเลย โจทก์ไม่ต้องไปนั่งทำงานประจำดังเช่นพนักงานทั่วไป คงไปประชุมเพียงเดือนละ 1 ครั้ง นอกนั้นจะสั่งการทางโทรศัพท์หรือเรียกพนักงานของจำเลยไปพบที่บริษัทที่โจทก์นั่งทำงานอยู่ โจทก์มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดและไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยแสดงว่าโจทก์ไม่ต้อง ไปทำงานภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย
โจทก์มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทจำเลยมีหน้าที่บริหารงานและควบคุมดูแลการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายของจำเลย โจทก์ไม่ต้องไปนั่งทำงานประจำดังเช่นพนักงานทั่วไป คงไปประชุมเพียงเดือนละ 1 ครั้ง นอกนั้นจะสั่งการทางโทรศัพท์หรือเรียกพนักงานของจำเลยไปพบที่บริษัทที่โจทก์นั่งทำงานอยู่ โจทก์มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดและไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยแสดงว่าโจทก์ไม่ต้อง ไปทำงานภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6915/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี เป็นกระบวนการที่ศาลต้องปฏิบัติถูกต้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองบัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก... ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาล จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายความหรือไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสอบถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ