คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 693

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองของผู้รับช่วงสิทธิจากการชำระหนี้ค้ำประกัน: การเฉลี่ยหนี้และการบังคับจำนอง
ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์โดยมีการจำนองที่ดินเป็นประกันแม้ว่าผู้ร้องจะชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไปแล้วและได้รับช่วงสิทธิจำนองจากโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าว แต่ยังมีหนี้ส่วนอื่นที่จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ โจทก์ย่อมจะขอให้บังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ได้เพราะจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์ซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง แม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าเฉลี่ยหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ผู้จำนองในฐานะเจ้าหนี้จำนองในลำดับชั้นเดียวกันกับโจทก์ผู้รับจำนอง ผู้ร้องมีสิทธิเข้าเฉลี่ยหนี้ได้ภายหลังจากโจทก์ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนอง: การรับช่วงสิทธิจำนองเฉพาะส่วน และลำดับสิทธิเมื่อมีหนี้คงเหลือ
ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์โดยมีการจำนองที่ดินเป็นประกันแม้ว่าผู้ร้องจะชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไปแล้วและได้รับช่วงสิทธิจำนองจากโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าว แต่ยังมีหนี้ส่วนอื่นที่จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ โจทก์ย่อมจะขอให้บังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ได้เพราะจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์ซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง แม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าเฉลี่ยหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ผู้จำนองในฐานะเจ้าหนี้จำนองในลำดับชั้นเดียวกันกับโจทก์ผู้รับจำนอง ผู้ร้องมีสิทธิเข้าเฉลี่ยหนี้ได้ภายหลังจากโจทก์ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สิน
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาประนีประนอมยอมความของลูกหนี้ในวงเงิน 200,000 บาท ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่บริษัท ส.(เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้) ไปเป็นเงิน 22,500 บาทแล้ว จึงเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิไล่เบี้ยในมูลหนี้ที่ตนได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จำนวน 22,500 บาท ส่วนหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดต่อบริษัท ส. ที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้นั้น เมื่อบริษัท ส. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามจำนวนที่ลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่จริงก็ต้องหักยอดเงินที่บริษัท ส.ได้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้จำนวน 22,500 บาท ออกเสียก่อนและถือได้ว่าบริษัท ส.ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 101.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อถูกธนาคารหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้แทนลูกหนี้
ผู้ค้ำประกันถูกธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชีเงินฝากประจำใช้หนี้แทนลูกหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันสูญเสียเงินต้นและดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับตามบัญชีเงินฝากประจำตั้งแต่วันที่ธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชี ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อการสูญเสียดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อถูกหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้แทนลูกหนี้
ผู้ค้ำประกันถูกธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชีเงินฝากประจำใช้หนี้แทนลูกหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันสูญเสียเงินต้นและดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับตามบัญชีเงินฝากประจำตั้งแต่วันที่ธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชี ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อการสูญเสียดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการชำระค่าเสียหายแทนลูกหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน เพราะเหตุลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับเจ้าหนี้อันเป็นการผิดสัญญานั้น เป็นดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก และเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงมีอายุความ 10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากสัญญาค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด: เป็นค่าเสียหาย มีอายุความ 10 ปี
ดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน เพราะเหตุลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับเจ้าหนี้อันเป็นการผิดสัญญานั้น เป็นดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก และเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหาย ดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันตามคำพิพากษา: เมื่อจำเลยคนหนึ่งพ้นจากหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันไม่มีอำนาจฟ้องให้ร่วมรับผิด
โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยทั้งสองในการขอทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวยังคงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาแทนตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ชำระหนี้แทนไปแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันตามคำพิพากษา: เมื่อจำเลยคนหนึ่งพ้นจากหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยอีกคนร่วมรับผิด
โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยทั้งสองในการขอทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวคงยังเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาแทนตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ชำระหนี้แทนไปแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ การชำระเงินโดยไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนไม่ได้ และไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้กับผู้ว่าจ้างแทนการที่จำเลยที่ 1 จะต้องวางเงินมัดจำในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างเหมาทำการก่อสร้างอาคารให้ผู้ว่าจ้าง หนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาที่โจทก์ผูกพันต่อผู้ว่าจ้างเพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและไม่ชำระหนี้เท่านั้น โจทก์มิได้วางเงินตามหนังสือค้ำประกันให้ไว้ต่อผู้ว่าจ้างขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างหนังสือค้ำประกันจึงมิใช่มัดจำ และเมื่อตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างไม่มีข้อความให้ผู้ว่าจ้างริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน ผู้ว่าจ้างจึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1722/2513)
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
of 6