พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนพินัยกรรม: แยกพินัยกรรมปลอมออกจากพินัยกรรมที่มีเจตนาบกพร่อง
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิดถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 มิได้ใช้บังคับแก่กรณีที่โจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอมและเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่าในขณะทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมเจ็บป่วยจนไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นพินัยกรรมที่จำเลยทำปลอมขึ้น ทั้งทำไม่ถูกต้องตามแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมจึงเป็นโมฆะ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมเพราะผู้ทำพินัยกรรมมีเจตนาบกพร่องตามมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710
โจทก์ฟ้องว่าในขณะทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมเจ็บป่วยจนไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นพินัยกรรมที่จำเลยทำปลอมขึ้น ทั้งทำไม่ถูกต้องตามแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมจึงเป็นโมฆะ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมเพราะผู้ทำพินัยกรรมมีเจตนาบกพร่องตามมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินเฉพาะส่วน เจตนาผู้ทำพินัยกรรม ทรัพย์สินตกทายาทโดยธรรม
ข. และ น. เจ้ามรดกร่วมกันทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่มูลนิธิ"ขุนและนางนิกรนรารักษ์"(โดยได้ระบุทรัพย์มรดกไว้โดยเฉพาะหลายอย่าง) ทั้งได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยว่า "ทรัพย์สินอื่น ๆ ของข้าพเจ้านอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น ถ้าผู้ทำพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งวายชนม์ลง ให้ตกเป็นของผู้ทำพินัยกรรมคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ผู้เดียวผู้อื่นจะเกี่ยวข้องมิได้เป็นอันขาด" เช่นนี้เห็นได้ว่าทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ระบุยกให้แก่มูลนิธิถ้าผู้ทำพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งวายชนม์ลงให้ตกเป็นของผู้ทำพินัยกรรมคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ผู้เดียว เมื่อ ข. ตายไปก่อน น. ทรัพย์สินที่มิได้ระบุไว้จึงตกได้แก่ น. เมื่อ น. ตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ก็ตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของ น. โจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการจัดการทรัพย์มรดกของมูลนิธิตามพินัยกรรมจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ น. ส่วนที่มิได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่มีสิทธิขอเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกดังกล่าวของ น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพินัยกรรม: ทรัพย์สินที่ระบุเฉพาะเจาะจงกับทรัพย์สินอื่นที่ไม่ระบุ มีการตกทอดตามกฎหมายมรดกแตกต่างกัน
ข.และ น. เจ้ามรดกร่วมกันทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่มูลนิธิ "ขุนและนางนิกรนรารักษ์" (โดยได้ระบุทรัพย์มรดกไว้โดยเฉพาะหลายอย่าง) ทั้งได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยว่า "ทรัพย์สินอื่น ๆ ของข้าพเจ้านอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น ถ้าผู้ทำพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งวายชนม์ลง ให้ตกเป็นของผู้ทำพินัยกรรมคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ผู้เดียว ผู้อื่นจะเกี่ยวข้องมิได้เป็นอันขาด" เช่นนี้เห็นได้ว่าทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ระบุยกให้แก่มูลนิธิ ถ้าผู้ทำพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งวายชนม์ลงให้ตำเป็นของผู้ทำพินัยกรรมคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ผู้เดียว เมื่อ ข.ตายไปก่อน น. ทรัพย์สินที่มิได้ระบุไว้จึงตกได้แก่ น. เมื่อ น.ตายโโยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ก็ตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของ น.โจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการจัดการทรัพย์มรดกของมูลนิธิตามพินัยกรรมจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ น. ส่วนที่มิได้ทำพินัยกรรมไว้ และไม่มีสิทธิขอเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกดังกล่าวของ น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: การยกบ้านและที่ดิน vs. การยกเฉพาะวัสดุ
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองยกที่ 2 แปลงให้บุคคลหลายคนโดยให้แบ่งแปลงแรกไว้เป็นถนนทางเข้าออกก่อน ส่วนที่เหลือยกให้บุคคล 3 คนโดยวัดยาวจากถนน 16 เมตรครึ่งบ้านพัก 3 ห้องซึ่งอยู่ในที่แปลงแรกยกให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ส่วนที่เหลือนอกจากที่กล่าวทั้งหมดยกให้จำเลยดังนี้ ถ้าจะยกเฉพาะวัสดุที่ปลูกสร้างให้รื้อเอาไป คำสั่งในพินัยกรรมน่าจะกล่าวให้ชัดเจนเช่นนั้น เมื่อพินัยกรรมระบุว่ายกบ้านให้ ถ้าเพียงแต่ให้เฉพาะไม้ที่สร้างบ้านเห็นได้ว่าไม่สมกับคำสั่ง เพราะบ้านทั้ง 3 ห้องปลูกลักษณะเป็นเพิงหมาแหงนมีหน้าถังและเป็นห้องๆซึ่งน่าจะเป็นห้องแถว ถ้ารื้อออกขายจะได้เงินประมาณเพียง 1,500 บาทเท่านั้น ลักษณะของบ้านปลูกมาถึงประมาณ 20 ปีเศษ ประตูบางประตูทำด้วยไม้ไผ่สาน จึงไม่น่าจะยกให้เฉพาะวัสดุที่สร้างบ้านแก่คนถึง 2 คน ตามพินัยกรรมดังกล่าวเชื่อว่าเจ้ามรดกประสงค์จะยกบ้านพร้อมทั้งที่ดินที่ปลูกบ้านให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมและคำนิยาม 'หลาน' ในบริบทของมรดกเมื่อเจ้ามรดกไม่มีบุตร
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ. ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง 2. สวน 1 แปลง 3. เรือน1 หลัง 4. วัว 2 ตัว ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป" เช่นนี้ เมื่อ ผ. เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่า หลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2)(อ้างฎีกาที่ 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่ จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใดจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว และพิพากษาคดีใหม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่ จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใดจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว และพิพากษาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้รับมรดกในพินัยกรรมโดยใช้คำว่า 'หลาน' และการแสดงเจตนาทำพินัยกรรม
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ... ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง ...... 2. สวน 1 แปลง...... 3. เรือน 1 หลัง..... 4. วัว 2 ตัว..... ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป...." เช่นนี้ เมื่อ ผ.เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่าหลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2) (อ้างฎีกา 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใด จะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาคดีใหม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใด จะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารยกทรัพย์ระหว่างผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิต ไม่ถือเป็นพินัยกรรมบังคับใช้หลังเสียชีวิต จำเลยมีสิทธิปฏิเสธได้
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้นการที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้ว จะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารยกทรัพย์สินระหว่างชีวิต ไม่ใช่พินัยกรรม หากไม่มีเจตนาให้มีผลบังคับใช้เมื่อเสียชีวิต
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้น การที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้วจะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่นไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดก
เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ และมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ อ.เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกดังกล่าวไม่มีผลบังคับด้วยประการใด ๆประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ดังนั้น แม้ผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่นไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการ
เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ และมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ อ.เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกดังกล่าวไม่มีผลบังคับด้วยประการใด ๆประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้ายบัญญัติให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ดังนั้นแม้ผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้