พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกต้องซื้อที่ดินทดแทนหากขายทรัพย์สินตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนพระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 681/2481)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมเป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดกอยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)
พินัยกรรมซึ่งเจ้ามรดกทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2460 และมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังท้ายพินัยกรรมให้เป็นอันใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการ ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมดังนี้ พินัยกรรมนั้นย่อมมีผลตามกฎหมายที่ยังใช้บังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นอยู่ได้ตลอดมา ศาลจะพิพากษาความอันเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกให้ผิดจากพินัยกรรมเป็นการขัดพระบรมราชโองการหาได้ไม่
พินัยกรรมซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการดังกล่าวแล้วกำหนดให้ที่ดินที่ระบุของเจ้ามรดกคงเป็นสมบัติของเจ้ามรดกอยู่เสมอไปและให้มีผู้ดูแลรักษาที่ดินนั้นไว้เป็นที่อยู่อาศัยแก่วงศ์ญาติผู้หาที่อยู่ไม่ได้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ หากจำเป็นต้องขายหรือแลกเปลี่ยนที่ดินด้วยความประสงค์แห่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้จัดการ(มรดก)เอาเงินนั้นหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ในพินัยกรรมโดยดีที่สุดที่จะทำได้ ดังนี้เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไปก็มีหน้าที่ต้องนำเงินไปซื้อที่ใหม่เพื่อให้วงศ์ญาติของเจ้ามรดกได้อยู่อาศัยตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินมาแบ่งให้แก่ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่ใหม่เอาเองหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับถือเอาว่าทายาทผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งทำให้ที่ดินที่กำหนดไว้ตามพินัยกรรมให้เป็นที่อยู่อาศัยของวงศ์ญาติต้องสลายตัวไป แม้จะมีเจตนาแบ่งเงินให้ทายาทเพื่อไปจัดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เอาเอง ที่ดินที่ซื้อใหม่ก็เปลี่ยนสภาพมิใช่เป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติอาศัยอยู่ แต่กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ซื้อแต่ละคนซึ่งมีอำนาจหวงกันมิให้ทายาทหรือวงศ์ญาติอื่นๆ เข้าไปอยู่อาศัยอันเป็นการขัดต่อข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม
การที่ผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่ระบุในพินัยกรรมไปและต้องเอาเงินที่ขายได้จัดหาซื้อที่อื่นและจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นั้นเป็นการหาที่ดินมาแทนที่ดินที่ขายไปซึ่งผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่หาใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใหม่ในขณะนี้นอกเหนือจากข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวแล้ว ที่กำหนดให้ที่ดินที่ระบุไว้เป็นอาศัยสถานแก่วงศ์ญาตินั้น เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะให้ที่ดินนั้นเป็นที่รวมสำหรับวงศ์ญาติ ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยจะได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไปซึ่งหมายถึงทั้งวงศ์ญาติที่มีตัวอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรมและที่เกิดมาในเวลาข้างหน้า โดยไม่ประสงค์ให้ใครถือเอาที่ดินนั้นเป็นของตน และเพื่อมิให้ขัดกับหลักกฎหมายในเรื่องกรรมสิทธิ์และมรดกและให้มีผลบังคับได้ เจ้ามรดกจึงได้นำพินัยกรรมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชโองการเพื่อจะได้มีผลใช้บังคับได้ตลอดไปโจทก์เป็นเหลนของเจ้ามรดกแม้จะเกิดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ก็เป็นวงศ์ญาติคนหนึ่งที่มีส่วนจะได้รับประโยชน์ในการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกที่มิได้จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมเพื่อรักษาประโยชน์ของโจทก์ในฐานะวงศ์ญาติคนหนึ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้จัดการมรดกได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-16/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารยกทรัพย์ให้มีผลทันที ไม่ใช่พินัยกรรมที่บังคับใช้เมื่อเสียชีวิต
เอกสารที่ผู้ตายทำไว้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นพินัยกรรมหรือแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการ กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินว่า ให้เกิดผลบังคับเมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วเลยแม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่า 'เวลาทำหนังสือฉบับนี้มีสติสัมปชัญญะดีเป็นปกติดี' ก็ดี หรือ 'ขอเจตนาครั้งสุดท้าย' ก็ดีก็หาทำให้แปลความได้ว่าผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์ของตนให้เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วไม่ ข้อความในตอนท้ายของเอกสารที่ว่า 'ข้าพเจ้าขอยกให้ (ระบุชื่อผู้รับ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป'กลับแสดงแจ้งชัดว่าผู้ตายเจตนาที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับทันทีในระหว่างที่ตนยังมีชีวิต เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่พินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารยกทรัพย์สินระหว่างมีชีวิต ไม่ใช่พินัยกรรม
เอกสารที่ผู้ตายทำไว้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นพินัยกรรมหรือแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินว่า ให้เกิดผลบังคับเมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วเลยแม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่า 'เวลาทำหนังสือฉบับนี้มีสติสัมปชัญญะดีเป็นปกติดี' ก็ดี หรือ 'ขอเจตนาครั้งสุดท้าย' ก็ดีก็หาทำให้แปลความได้ว่าผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์ของตนให้เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วไม่. ข้อความในตอนท้ายของเอกสารที่ว่า 'ข้าพเจ้าขอยกให้ (ระบุชื่อผู้รับ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป'กลับแสดงแจ้งชัดว่าผู้ตายเจตนาที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับทันทีในระหว่างที่ตนยังมีชีวิต เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่พินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม: เจตนาการยกทรัพย์เมื่อตายแล้ว, กรรมสิทธิ์ร่วม และการระบุทรัพย์สินที่ชัดเจน
เอกสารพินัยกรรม นอกจากมีหัวข้อข้างบนระบุว่าเป็นหนังสือพินัยกรรมแล้วยังมีข้อความว่า 'ขอทำพินัยกรรม'อีกด้วย ย่อมเข้าใจว่าเจตนายกทรัพย์สมบัติให้เมื่อตายแล้วการยกทรัพย์ให้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ สามัญชนทั่วไปหาใช้คำว่าพินัยกรรมไม่ เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
บุคคลสองคนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดิน แสดงว่ามีสิทธิฝ่ายละครึ่ง ต่างฝ่ายมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินส่วนของตนออกมาได้ ฉะนั้น การที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมผู้หนึ่งทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ใช่กรณีที่ทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจจะทราบแน่นอนได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังนี้หาเป็นโมฆะไม่
บุคคลสองคนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดิน แสดงว่ามีสิทธิฝ่ายละครึ่ง ต่างฝ่ายมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินส่วนของตนออกมาได้ ฉะนั้น การที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมผู้หนึ่งทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ใช่กรณีที่ทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจจะทราบแน่นอนได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังนี้หาเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม: เอกสารระบุเจตนายกทรัพย์เมื่อตายแล้วถือเป็นพินัยกรรมได้ การระบุสิทธิร่วมกันชัดเจน ไม่เป็นเหตุให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
เอกสารพินัยกรรม นอกจากมีหัวข้อข้างบนระบุว่าเป็นหนังสือพินัยกรรมแล้วยังมีข้อความว่า "ขอทำพินัยกรรม" อีกด้วย ย่อมเข้าใจว่าเจตนายกทรัพย์สมบัติให้เมื่อตายแล้ว การยกทรัพย์ให้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ สามัญชนทั่วไปหาใช้คำว่าพินัยกรรมไม่ เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
บุคคลสองคนมีกรรมสิทธ์ร่วมกันในที่ดิน แสดงว่ามีสิทธิ์ฝ่ายละครึ่ง ต่างฝ่ายมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินส่วนของตนออกมาได้ ฉะนั้น การที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมผู้หนึ่งทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ใช่กรณีที่ทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจจะทราบแน่นอนได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังนี้หาเป็นโมฆะไม่
บุคคลสองคนมีกรรมสิทธ์ร่วมกันในที่ดิน แสดงว่ามีสิทธิ์ฝ่ายละครึ่ง ต่างฝ่ายมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินส่วนของตนออกมาได้ ฉะนั้น การที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมผู้หนึ่งทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ใช่กรณีที่ทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจจะทราบแน่นอนได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังนี้หาเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้เป็นสามีภริยา พินัยกรรมยกสิทธิให้ผู้อื่นจึงไม่ผูกพัน
บิดาโจทก์อยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของ บิดาโจทก์ทำพินัยกรรมโอนสิทธิในที่เช่านั้นให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง พินัยกรรมนั้นไม่มีผลที่จะนำมาใช้ยันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้เป็นสามีภริยาก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมยกสิทธิให้ผู้อื่นได้
บิดาโจทก์อยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของ บิดาโจทก์ทำพินัยกรรมโอนสิทธิในที่เช่านั้นให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง พินัยกรรมนั้นไม่มีผลที่จะนำมาใช้ยันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว และการสละสิทธิในมรดก ทำให้ทรัพย์สินนั้นไม่เป็นส่วนหนึ่งของมรดก
1. สามีมีภริยาสองคนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดหาบ้านให้ภริยาแยกกันอยู่คนละแห่งไม่เกี่ยวข้องกัน บุตรเกิดจากภริยาไหนก็อยู่กับภริยานั้น ภริยาทั้งสองต่างตั้งร้านค้าขายเป็นส่วนสัดการทำมาหาได้ของภริยาแต่ละคนก็ตกเป็นส่วนของภริยาในครอบครัวนั้น ๆทรัพย์สินมิได้ปะปนระคนกัน ในระหว่างสมรสภริยาคนแรกได้ที่ดินมาในนามของตน โดยสามียกที่ดินสินเดิมให้แม้ที่ดินที่ได้มานั้นจะเป็นสินสมรสก็เป็นสินสมรสระหว่างภริยาคนแรกกับสามี ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ด้วยไม่
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุการให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่าจึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยสามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่าขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วสามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวแสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(3) 6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรมมีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรมเพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตายเมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้านและยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดโดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้
(ข้อกฎหมายตามวรรค 4,5 และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30-33/2512)
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุการให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่าจึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยสามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่าขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วสามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวแสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(3) 6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรมมีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรมเพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตายเมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้านและยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดโดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้
(ข้อกฎหมายตามวรรค 4,5 และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30-33/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว และผลกระทบต่อการเป็นมรดก: กรณีพระราชทานที่ดินและเจตนายกให้เป็นสินส่วนตัว
1. สามีภริยาสองคนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดหาบ้านให้ภริยาแยกกันอยู่คนละแห่งไม่เกี่ยวข้องกัน บุตรเกิดจากภริยาไหนก็อยู่กับภริยานั้น ภริยาทั้งสองต่างตั้งร้านค้าขายเป็นส่วนสัด การทำมาหาได้ของภริยาแต่ละคนก็ตกเป็นส่วนของภริยาในครอบครัวนั้น ๆ ทรัพย์สินมิได้ปะปนระคนกัน ในระหว่างสมรส ภริยาคนแรกได้ที่ดินมาในนามของตน โดยสามียกที่ดินสินเดิมให้ แม้ที่ดินที่ได้มานั้นจะเป็นสินสมรส ก็เป็นสินสมรสระหว่างภริยาคนแรกกับสามี ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ด้วยไม่
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่า จึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้ โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อย สามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่า ขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว สามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิแต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าว แสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464 (3)
6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรม มีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาดภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรม เพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตาย เมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้าน และยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใด โดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้ (ข้อกฎหมายตามวรรค 4, 5, และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30 - 33 / 2512)
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่า จึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้ โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อย สามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่า ขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว สามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิแต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าว แสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464 (3)
6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรม มีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาดภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรม เพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตาย เมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้าน และยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใด โดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้ (ข้อกฎหมายตามวรรค 4, 5, และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30 - 33 / 2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกบางส่วน ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาที่จะเป็นพินัยกรรมได้ จะต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของบุคคลนั้น และในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย
เจ้ามรดกมีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตร แจ้งให้ทราบว่าตนทำพินัยกรรมลับไว้ที่อำเภอในหนังสือระบุว่า ห้ามมิให้จำเลยขายที่นา และห้ามมิให้จำเลยออกเงินส่วนตัวทำศพเจ้ามรดก มิให้นาตกเป็นของจำเลย ให้แบ่งนาให้โจทก์คนละ 5 ไร่ เหลือจากแบ่งห้ามมิให้จำเลยขายเอาเงินทำศพเจ้ามรดก และไม่ให้นาส่วนที่เหลือตกเป็นของจำเลย เงินสด 10,000 บาท ถ้าทำศพเจ้ามรดกแล้วมีเงินเหลือมอบให้โจทก์ไป ให้โจทก์เป็นผู้เก็บค่าเช่านา ตอนท้ายของหนังสือมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามจดหมายนี้ ก็ให้โจทก์ไปร้องเรียนนายอำเภอ ขอให้นายอำเภอถอนพินัยกรรมลับด้วย ดังนี้ เอกสารหนังสือของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรม และเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 เพราะเจ้ามรดกเขียนเองทั้งฉบับ มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมลับของเจ้ามรดกซึ่งทำไว้ฉบับแรกบางส่วนตามมาตรา 1694
คดีที่มีจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย จำเลยจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยมีสิทธิยกอายุความ 5 ปีนี้เท่านั้นขึ้นต่อสู้โจทก์
จำเลยมิใช่บุคคลภายนอก แต่เป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าจำเลยยึดถือที่นามรดกไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท จำเลยจะอ้างสิทธิว่าได้แย่งการครอบครองจากโจทก์มิได้ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้
เจ้ามรดกมีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตร แจ้งให้ทราบว่าตนทำพินัยกรรมลับไว้ที่อำเภอในหนังสือระบุว่า ห้ามมิให้จำเลยขายที่นา และห้ามมิให้จำเลยออกเงินส่วนตัวทำศพเจ้ามรดก มิให้นาตกเป็นของจำเลย ให้แบ่งนาให้โจทก์คนละ 5 ไร่ เหลือจากแบ่งห้ามมิให้จำเลยขายเอาเงินทำศพเจ้ามรดก และไม่ให้นาส่วนที่เหลือตกเป็นของจำเลย เงินสด 10,000 บาท ถ้าทำศพเจ้ามรดกแล้วมีเงินเหลือมอบให้โจทก์ไป ให้โจทก์เป็นผู้เก็บค่าเช่านา ตอนท้ายของหนังสือมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามจดหมายนี้ ก็ให้โจทก์ไปร้องเรียนนายอำเภอ ขอให้นายอำเภอถอนพินัยกรรมลับด้วย ดังนี้ เอกสารหนังสือของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรม และเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 เพราะเจ้ามรดกเขียนเองทั้งฉบับ มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมลับของเจ้ามรดกซึ่งทำไว้ฉบับแรกบางส่วนตามมาตรา 1694
คดีที่มีจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย จำเลยจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยมีสิทธิยกอายุความ 5 ปีนี้เท่านั้นขึ้นต่อสู้โจทก์
จำเลยมิใช่บุคคลภายนอก แต่เป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าจำเลยยึดถือที่นามรดกไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท จำเลยจะอ้างสิทธิว่าได้แย่งการครอบครองจากโจทก์มิได้ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้