คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1646

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกบางส่วน ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาที่จะเป็นพินัยกรรมได้ จะต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง. คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของบุคคลนั้น. และในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย.
เจ้ามรดกมีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตร. แจ้งให้ทราบว่าตนทำพินัยกรรมลับไว้ที่อำเภอในหนังสือระบุว่า. ห้ามมิให้จำเลยขายที่นา. และห้ามมิให้จำเลยออกเงินส่วนตัวทำศพเจ้ามรดก. มิให้นาตกเป็นของจำเลย. ให้แบ่งนาให้โจทก์คนละ 5 ไร่. เหลือจากแบ่งห้ามมิให้จำเลยขายเอาเงินทำศพเจ้ามรดก. และไม่ให้นาส่วนที่เหลือตกเป็นของจำเลย. เงินสด 10,000 บาท. ถ้าทำศพเจ้ามรดกแล้วมีเงินเหลือมอบให้โจทก์ไป. ให้โจทก์เป็นผู้เก็บค่าเช่านา.ตอนท้ายของหนังสือมีความต่อไปว่า. ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามจดหมายนี้. ก็ให้โจทก์ไปร้องเรียนนายอำเภอ. ขอให้นายอำเภอถอนพินัยกรรมลับด้วย. ดังนี้ เอกสารหนังสือของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรม. และเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657. เพราะเจ้ามรดกเขียนเองทั้งฉบับ. มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมลับของเจ้ามรดกซึ่งทำไว้ฉบับแรกบางส่วนตามมาตรา 1694.
คดีที่มีจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย. จำเลยจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่. เพราะกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี. จำเลยมีสิทธิยกอายุความ 5 ปีนี้เท่านั้นขึ้นต่อสู้โจทก์.
จำเลยมิใช่บุคคลภายนอก. แต่เป็นผู้จัดการมรดก. ต้องถือว่าจำเลยยึดถือที่นามรดกไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท. จำเลยจะอ้างสิทธิว่าได้แย่งการครอบครองจากโจทก์มิได้. จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาที่จะเป็นพินัยกรรมได้ จะต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของบุคคลนั้น และในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อคนตาย
เจ้ามรดกมีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตร แจ้งให้ทราบว่าตนทำพินัยกรรมลับไว้ที่อำเภอในหนังสือระบุว่า ห้ามมิให้จำเลยขายที่นา และห้ามมิให้จำเลยออกเงินส่วนตัวทำศพเจ้ามรดก มิให้นาตกเป็นของจำเลย ให้แบ่งนาให้โจทก์คนละ 5 ไร่ เหลือจากแบ่งห้ามมิให้จำเลยขายเอาเงินทำศพเจ้ามรดก และไม่ให้นาส่วนที่เหลือตกเป็นของจำเลย เงินสด 10,000 บาท ถ้าทำศพเจ้ามรดกแล้วมีเงินเหลือมอบให้โจทก์ไป ให้โจทก์เป็นผู้เก็บค่าเช่านา ตอนท้ายของหนังสือมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามจดหมายนี้ ก็ให้โจทก์ไปร้องเรียนนายอำเภอ ขอให้นายอำเภอถอนพินัยกรรมลับด้วย ดังนี้ เอกสารหนังสือของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรม และเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 เพราะเจ้ามรดกเขียนเองทั้งฉบับ มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมลับของเจ้ามรดกซึ่งทำไว้ฉบับแรกบางส่วนตามมาตรา 1694
คดีที่มีจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย จำเลยจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยมีสิทธิยกอายุความ 5 ปีที่นี้เท่านั้นขึ้นต่อสู้โจทก์
จำเลยมิใช่บุคคลภายนอก แต่เป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าจำเลยยึดถือที่นามรดกไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท จำเลยจะอ้างสิทธิว่าได้แย่งการครอบครองจากโจทก์มิได้ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน มีผลให้ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรมมีว่า "ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี) อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ ฯลฯ" นั้น ประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า "ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ ฯลฯ " ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้น ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่า อันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้น ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน โจทก์มีแต่สิทธิอาศัย
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรม.มีว่า 'ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี)อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า. ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ ฯลฯ' นั้น. ประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า'ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ฯลฯ'. ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง.
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลย. จำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม. โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้น. ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่าอันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้นๆ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน ถือเป็นการยกทรัพย์สินให้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทายาทอื่นไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรมมีว่า 'ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี) อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ ฯลฯ' นั้นประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า'ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ฯลฯ' ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้นไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่าอันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้นๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231-1232/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดก และสัญญาประนีประนอมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231-1232/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีสิทธิรับมรดก การตกลงแบ่งมรดกต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผล
บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย พินัยกรรมไม่ลบล้างได้
เมื่อมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลศาลพิพากษาตามยอมและบังคับตามยอมแล้ว ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีย่อมเป็นอันถึงที่สุด จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงประการใดหาได้ไม่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันโจทก์จำเลยในอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามยอมทุกประการ การที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติจะอ้างว่าทำสัญญาโดยเข้าใจผิดหาได้ไม่
พินัยกรรมของจำเลยหามีผลลบล้างสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนถึงแก่กรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่สัญญา และพินัยกรรมไม่สามารถลบล้างได้
เมื่อมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ศาลพิพากษาตามยอมและบังคับตามยอมแล้ว ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีย่อมเป็นอันถึงที่สุด จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงประการใดหาได้ไม่ คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันโจทก์จำเลยในอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามยอมทุกประการ การที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติจะอ้างว่าทำสัญญาโดยเข้าใจผิดหาได้ไม่
พินัยกรรมของจำเลยหามีผลลบล้างสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนถึงแก่กรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในบำเหน็จข้าราชการสามารถโอนให้ผู้รับพินัยกรรมได้หลังผู้รับบำนาญเสียชีวิต แม้มีข้อจำกัดการโอนในขณะยังมีชีวิตอยู่
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า "สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้" นั้นหมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จ ให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น หาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้วเมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมโอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646
of 22