คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1646

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือนาซาร์มีผลเมื่อตาย: การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องมรดกและการยกทรัพย์
ผู้ตายทำพินัยกรรม (นาซาร์) ปรารถนาจะให้ทรัพย์แก่โจทก์เมื่อตาย และโจทก์ยังไม่ได้ทรัพย์นั้นโดยการครอบครอง ทรัพย์นั้นยังคงเป็นของผู้ตายอยู่จนกระทั่งตาย และเป็นทรัพย์มรดกที่จะแบ่งปันตามกฎหมายอิสลาม (โจทก์จำเลยและผู้ตายเป็นอิสลามศาสนิก และเป็นคดีของศาลจังหวัดปัตตานี) เมื่อทรัพย์นั้นเป็นมรดกดะโต๊ะยุติธรรมต้องใช้กฎหมายอิสลามมาปรับแก่คดี
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่า หนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้ว แต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนด คือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้น และคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมโดยมีผู้รับประโยชน์เป็นพยาน และการตีความเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม
การระบุไว้ในเอกสารที่ทำขึ้นว่าเป็นหนังสือพินัยกรรม และมีบุคคลหลายคนเซ็นเป็นพยานลุกนั่งและได้กล่าวถึงกิริยาอาการของผู้ทำเอกสารว่าเป็นปกติ เหล่านี้ เป็นไปตามแบบแห่งการทำพินัยกรรมโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อฟังประกอบกันเจตนาของผู้ทำที่ปรากฏในเอกสารทั้งฉบับรวมกัน เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดเผื่อตายแล้ว ก็ย่อมเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายโดยชอบ
ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้วัดโดยเจาอาวาสลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยนั้น หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะวัดเป็นนิติบุคคล จึงย่อมเป็นอีกบุคคลหนึ่งต่างหากจากเจ้าอาวาส แม้เจ้าอาวาสจะเป็นผู้แทนของวัดและความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฎจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลก็ดี ก็ไม่มีผลทางกฎหมายให้เจ้าอาวาสกับวัดรวมมาเป็นบุคคลคนเดียวกันได้ จึงไม่ถือว่าวัดเป็นพยานในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรม การตีความเจตนาผู้ทำพินัยกรรม และสถานะผู้รับผลประโยชน์ในฐานะนิติบุคคล
การระบุไว้ในเอกสารที่ทำขึ้นว่าเป็นหนังสือพินัยกรรมและมีบุคคลหลายคนเซ็นเป็นพยานลุกนั่ง และได้กล่าวถึงกิริยาอาการของผู้ทำเอกสารว่าเป็นปกติ เหล่านี้ เป็นไปตามแบบแห่งการทำพินัยกรรมโดยทั่วๆไป เมื่อฟังประกอบกับเจตนาของผู้ทำที่ปรากฏในเอกสารทั้งฉบับรวมกัน เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดการเผื่อตายแล้ว ก็ย่อมเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายโดยชอบ
ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้วัดโดยเจ้าอาวาสลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยนั้นหาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะวัดเป็นนิติบุคคล จึงย่อมเป็นอีกบุคคลหนึ่งต่างหากจากเจ้าอาวาส แม้เจ้าอาวาสจะเป็นผู้แทนของวัด และความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลก็ดี ก็ไม่มีผลทางกฎหมายให้เจ้าอาวาสกับวัดรวมมาเป็นบุคคลคนเดียวกันได้ จึงไม่ถือว่าวัดเป็นพยานในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเหนือพินัยกรรมเมื่อสัญญาระบุการตกเป็นเจ้าของทรัพย์หลังตาย
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้มีชื่อคนหนึ่งกับจำเลยตกลงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกันใครตายก่อนให้ตกเป็นของอีกคนหนึ่งนั้นเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้โดยมีเงื่อนไขและเป็นสัญญาต่างตอบแทนฉะนั้น เมื่อผู้มีชื่อตาย ทรัพย์พิพาทย่อมตกเป็นของจำเลย ผู้มีชื่อที่ตายจะไปทำพินัยกรรมยกทรัพย์นั้นให้คนอื่นอีกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ทรัพย์ตกเป็นของอีกฝ่ายเมื่อตาย พินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้อื่นเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้มีชื่อคนหนึ่งกับจำเลยตกลงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกัน ใครตายก่อนให้ตกเป็นของอีกคนหนึ่งนั้น เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้โดยมีเงื่อนไขและเป็นสัญยาต่างตอบแทน ฉะนั้น เมื่อผู้มีชื่อตายทรัพย์พิพาทย่อมตกเป็นของจำเลย ผู้มีชื่อที่ตายจะทำพินัยกรรมทรัพย์นั้นให้คนอื่นอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังมรณะ พินัยกรรมสั่งให้เป็นของกลาง และการก่อตั้งทรัสต์ที่ไม่สมบูรณ์
ตามหลักกฎหมายทั่วไปไม่ว่าจะก่อนประมวลกฎหมายหรือภายหลังประมวลกฎหมายก็ดีเมื่อคนหนึ่งตายลงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทั้งหลายของคนตายนั้นจะต้องตกทอดในที่สุดแม้จะไม่มีทายาท ก็จะต้องตกเป็นของรัฐ
ข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ทรัพย์สินเป็นของกลางโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้และไม่เป็นกรรมสิทธิ์แก่ใครนั้นเป็นการเลิกล้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ความสำคัญในเรื่องทรัสต์คือการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือสั่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปอยู่แก่ทรัสตีโดยมีเงื่อนไขคำมั่นมัดทรัสตีอยู่ว่าทรัสตีจะต้องถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเพื่อจัดการให้ผู้รับประโยชน์ได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ให้เป็นที่แน่นอน
คำสั่งในพินัยกรรมที่ว่า เมื่อญาติพี่น้องของผู้ตายคนใดจะมาอยู่อาศัยในที่ดินของผู้ตายก็อยู่ได้แต่ต้องขออนุญาตผู้ปกครองทรัพย์สินนั้นก่อนเมื่อผู้ปกครองทรัพย์เห็นสมควรอนุญาตให้แล้ว จึงจะอยู่ได้ดังนี้ได้ชื่อว่าการตั้งทรัสต์มิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์โดยแน่นอน เป็นการขาดหลักในเรื่องทรัสต์ที่ได้ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมรดก, การก่อตั้งทรัสต์, สิทธิในทรัพย์สิน, พินัยกรรม, การจัดการมรดก
ตามหลักกฎหมายทั่วไปไม่ว่าจะก่อนประมวลกฎหมายหรือภายหลังประมวลกฎหมายก็ดี เมื่อคนหนึ่งตายลงกรรมสิทธิในทรัพย์สินทั้งหลายของคนตายนั้นจะต้องตกทอดในที่สุด แม้จะไม่มีทายาทก็จะต้องตกเป็นของรัฐ
ข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ทรัพย์สินเป็นของกลางโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ และไม่เป็นกรรมสิทธิ์แก่ใครนั้น เป็นการเลิกล้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ความสำคัญในเรื่องทรัสต์คือการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือสั่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปอยู่แก่ทรัสต์โดยมีเงื่อนไขคำมั่นมัดทรัสต์อยู่ว่าทรัสตีจะต้องถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อจัดการให้ผู้รับประโยชน์ได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ให้เป็นที่แน่นอน
่คำสั่งในพินัยกรรมที่ว่า เมื่อญาติพี่น้องของผู้ตายคนใดจะมาอยู่อาศัยในที่ดินของผู้ตายก็อยู่ได้ แต่ต้องขออนุญาตผู้ปกครองทรัพย์สินนั้นก่อน เมื่อผู้ปกครองทรัพย์เห็นสมควรอนุญาตให้แล้ว จึงจะอยู่ได้ดังนี้ ได้ชื่อว่าการตั้งทรัสต์มิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์โดยแน่นอน เป็นการขาดหลักในเรื่องทรัสต์ที่ได้ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรม: ทรัพย์สินที่ยกให้ทำศพ และภาระจำยอมร่วมกัน
พินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ว่าบรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่และจะมีต่อไปภายหน้า ยอมยกให้จำเลยเป็นผู้รับทรัพย์ตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้นั้น เมื่อพินัยกรรมกำหนดว่าเรือน ครัว ยุ้งให้ขายทำศพ ย่อมถือว่าเมื่อขาย หักค่าทำศพออกแล้วเงินที่เหลือเป็นเงินที่จะมีต่อไปภายหน้า ให้นำมาแบ่งระหว่างจำเลยและที่กำหนดว่าตรอกทางเดินกับที่ดินที่มีบ่อน้ำให้ส่วนกลางภาระจำยอมร่วมกัน ย่อมหมายความว่าให้เป็นส่วนกลางใช้ร่วมกันเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรม: ทรัพย์สมบัติที่ยกให้ทายาท และภาระจำยอมร่วมกัน
พินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ว่าบรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่และจะมีต่อไปภายหน้า ยอมยกให้จำเลยเป็นผู้รับทรัพย์ตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้นั้น เมื่อพินัยกรรมกำหนดว่า เรือนครัว ยุ้งให้ขายทำศพ ย่อมถือว่าเมื่อขาย หักค่าทำศพออกแล้วเงินที่เหลือเป็นเงินที่จะมีต่อไปภายหน้าให้นำมาแบ่งระหว่างจำเลย และที่กำหนดว่าตรอกทางเดินกับที่ดินที่มีบ่อน้ำให้ส่วนกลางภาระจำยอมร่วมกัน ย่อมหมายความว่าให้เป็นส่วนกลางใช้ร่วมกันเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารให้ทรัพย์สินไม่มีผลเป็นพินัยกรรม หากไม่ได้กำหนดการเผื่อตายและจดทะเบียน
แม้ในหนังสือที่จำเลยอ้างจะมีข้อความว่าเป็นใบแทนพินัยกรรมก็ดี แต่ข้อความที่บรรยายไว้ ผู้ทำหาได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินเพื่อให้มีผลบังคับเมื่อตนตายอย่างไรไม่ ฉะนั้นจึงไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 คงมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเท่านั้น เมื่อไม่ได้จดทะเบียนจึงไม่สมบูรณ์
of 22