คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1646

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม: การแสดงเจตนาบริจาคทรัพย์สินหลังเสียชีวิต แม้ไม่มีคำว่า 'ยกให้' ก็มีผลผูกพันได้
เอกสารเป็นคำสั่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินอันจะบังเกิดผลบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อตายไปแล้วแม้จะไม่มีคำว่า ยกให้เมื่อตาย แต่ก็มีข้อความและถ้อยคำแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว จึงถือว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
ถ้าการตกเติมพินัยกรรมมิได้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำพินัยกรรม ข้อตกเติมก็ไม่สมบูรณ์ในเฉพาะส่วนนั้น แต่ตัวพินัยกรรมที่เคยสมบูรณ์ ยังสมบูรณ์อยู่ตามเดิม หาทำให้พินัยกรรมดีพลอยเสียไปเพราะการตกเติมแก้ไขไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม: การตีความเจตนาผู้ทำพินัยกรรม แม้ไม่มีคำว่า 'ยกให้' และผลของการแก้ไขเพิ่มเติม
เอกสารเป็นคำสั่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน อันจะบังเกิดผลบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อตายไปแล้ว แม้จะไม่มีคำว่า ยกให้เมื่อตาย แต่ก็มีข้อความและถ้อยคำแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นพินัยกรรม์ยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว จึงถือว่าเป็นพินัยกรรม์ตามกฎหมาย
ถ้าการตกเดิมพินัยกรรมมิได้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำพินัยกรรม ข้อตกเติมก็ไม่สมบูรณ์ในฉะเพาะส่วนนั้น แต่ตัวพินัยกรรมที่เคยสมบูรณ์ ยังสมบูรณ์อยู่ตามเดิม หาทำให้พินัยกรรม์ดีพลอยเสียไปเพราะการตกเติมแก้ไขไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอโอนมรดกขัดแย้งกับคำอ้างและพินัยกรรม เจ้าพนักงานที่ดินชอบที่จะไม่จัดการได้
ฝ่ายโจทก์ยื่นคำร้องขอโอนโฉนดโดยอ้างว่าผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งพวกตนเป็นผู้จัดการมรดก แต่พวกโจทก์กลับขอให้เจ้าพนักงานลงชื่อพวกตนเป็นผู้รับมรดกโดยตรง คำขอของโจทก์จึงขัดต่อคำอ้างและเป็นคำขอที่ขัดต่อพินัยกรรมเจ้าพนักงานที่ดินชอบที่จะไม่จัดการให้ตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอโอนโฉนดขัดแย้งกับพินัยกรรมและคำอ้างของโจทก์ เจ้าพนักงานที่ดินชอบที่จะไม่จัดการตามคำขอ
ฝ่ายโจทก์ยื่นคำร้องขอโอนโฉนดโดยอ้างว่า ผู้ตายทำพินัยกรรม์ตั้งพวกตนเป็นผู้จัดการมฤดก แต่พวกโจทก์กลับขอให้เจ้าพนักงานลงชื่อพวกตนเป็นผู้รับมฤดกโดยตรง คำขอของโจทก์จึงขัดต่อคำอ้างและเป็นคำขอที่ขัดต่อพินัยกรรม์ เจ้าพนักงานที่ดินชอบที่จะไม่จัดการให้ตามคำขอของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรม: เอกสารที่ไม่ชัดเจนถึงเจตนาสั่งพินัยกรรม ไม่ถือเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์
พินัยกรรมต้องเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 แม้เอกสารจะใช้คำว่าพินัยกรรมและข้อความในตอนต้นอาจมีทางพอจะตีความว่าได้เป็นพินัยกรรมก็ดี แต่เมื่ออ่านข้อความตอนอื่นประกอบแล้ว เห็นว่าผู้ตายหาได้มีเจตนาจะทำพินัยกรรมไม่หากเป็นหนังสือสัญญาซึ่งทำไว้แก่ฝ่ายสาว เวลาที่ผู้ตายจะได้จำเลยเป็นภริยาเท่านั้น การที่ผู้ตายเขียนคำว่า ขอทำพินัยกรรม ในตอนต้นจึงเป็นการใช้ถ้อยคำผิด ดังนี้ เอกสารเช่นว่านั้น จึงไม่ใช่พินัยกรรม
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าจำเลยไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องในกองมรดกของผู้ตาย และห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องในการรับมรดกของผู้ตายคำขอไม่ให้เกี่ยวข้องนี้กว้างมาก หากศาลพิพากษาห้ามดังโจทก์ขอแล้ว อาจไปกระทบกระเทือนสิทธิของจำเลยซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องร้องกันนี้ก็ได้ ฉะนั้นศาลจึงพิพากษาห้ามไม่ให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกองมรดกของผู้ตาย ในฐานะเป็นผู้รับมรดก ส่วนคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากเรือนซึ่งเป็นกองมรดกของผู้ตายก็เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิจากการครอบครองที่ดิน แม้ไม่มีหนังสือสำคัญ และผลของการยกที่ดินโดยไม่ได้จดทะเบียน
หนังสือยกให้ที่ดิน แม้จะไม่สมบูรณ์เพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และมิใช่พินัยกรรม์ เพราะไม่มีข้อกำหนดเผื่อตายก็ตาม ก็ยังเป็นการแสดงเจตนาว่าเจ้าของที่ดินได้สละสิทธิครอบครองให้แก่ผู้รับแล้ว
ที่สวนผลไม้และสวนจากนั้น เจ้าของต้องละทิ้งช้านานถึง 9-10 ปี จึงจะขาดกรรมสิทธิ
(ฎีกา 1071-1072/82)
ที่นาซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ ครอบครองเกินกว่า 1 ปีย่อมได้สิทธิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครอง โดยมีเอกสารยกที่ดินที่ไม่สมบูรณ์และระยะเวลาครอบครองที่แตกต่างกัน
หนังสือยกให้ที่ดิน แม้จะไม่สมบูรณ์เพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และมิใช่พินัยกรรม เพราะไม่มีข้อกำหนดเผื่อตายก็ตาม ก็ยังเป็นการแสดงเจตนาว่าเจ้าของที่ดินได้สละสิทธิครอบครองให้แก่ผู้รับแล้ว
ที่สวนผลไม้และสวนจากนั้น เจ้าของต้องละทิ้งช้านานถึง 9-10 ปี จึงจะขาดกรรมสิทธิ์
(ฎีกา 1071-1072/82)
ที่นาซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ ครอบครองเกินกว่า 1 ปี ย่อมได้สิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม: ลักษณะถูกต้องตามกฎหมาย แม้ผู้เขียนเป็นพยาน และพยานลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรม
ผู้ตายได้ทำเอกสารฉบับหนึ่งมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนว่า ให้ยกเงินสองหมื่นบาทให้แก่ อ. เมื่อตนตาย ดังนี้ เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรม
ในพินัยกรรม ตอนท้ายมีข้อความว่า (นางลำดวน)ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้รู้เห็นไว้เป็นสำคัญแล้ว ยังมีคำว่า 'ต่อหน้า' อยู่ข้างหน้ากึ่งกลางระหว่างลายมือชื่อพยานกับผู้เขียนอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นข้อความอันแสดงว่าบุคคลทั้ง 2 นี้ได้ลงชื่อในฐานะเป็นพยาน ดังนี้ พินัยกรรมรายนี้นับว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 แล้ว แม้ตามมาตรา1671 จะมีข้อความว่า ถ้าผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมเป็นพยาน ก็ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานผู้อื่นก็ดี ความมุ่งหมายสำคัญของมาตรานี้ ก็เพื่อให้มีข้อความแสดงว่า ผู้เขียนนั้นเป็นพยานด้วย ซึ่งในคดีนี้ผู้เขียนก็ได้เบิกความรับรองไว้แล้ว พินัยกรรม จึงหาขัดกับมาตรา 1671 ไม่
พยานจะลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรมไม่สำคัญ เมื่อได้ความว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงชื่อของตนในเวลาที่อยู่พร้อมกันในขณะนั้น ก็เป็นการใช้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/92)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะของพินัยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการรับรองของพยาน
ผู้ตายได้ทำเอกสารฉะบับหนึ่งมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนว่า ให้ยกเงินสองหมื่นบาทให้แก่ อ. เมื่อตนตาย ดังนี้ เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรม์
ในพินัยกรรม ตอนท้ายมีข้อความว่า (นางลำดวน) ผู้ทำพินัยกรรม์ ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้รู้เห็นไว้เป็นสำคัญแล้ว ยังมีคำว่า "ต่อหน้า" อยู่ข้างหน้ากึ่งกลางระหว่างลายมือชื่อพะยานกับผู้เขียนอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นข้อความอันแสดงว่าบุคคลทั้ง 2 นี้ได้ลงชื่อในฐานะเป็นพะยาน ดังนี้ พินัยกรรม์รายนี้นับว่าถูกต้องตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1656 แล้ว แม้ตามมาตรา 1671 จะมีข้อความว่า ถ้าผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม์เป็นพะยาน ก็ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพะยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพะยานผู้อื่นก็ดี ความมุ่งหมายสำคัญของมาตรานี้ ก็เพื่อให้มีข้อความแสดงว่า ผู้เขียนนั้นเป็นพะยานด้วย ซึ่งในคดีนี้ผู้เขียนก็ได้เบิกความรับรองไว้แล้ว พินัยกรรม์ จึงหาขัดกับมาตรา 1671 ไม่
พะยานจะลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรม์ไม่สำคัญ เมื่อได้ความว่า ผู้ทำพินัยกรรม์ได้ลงชื่อของตนในเวลาที่อยู่พร้อมกันในขณะนั้น ก็เป็นการใช้ได้.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาในพินัยกรรม, การกำหนดวิธีการให้พินัยกรรมสมบูรณ์, และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
ข้อความในพินัยกรรมว่า "เมื่อฉัยตายไปแล้วก็ขอให้ทรัพย์ทั้งหมดดังกล่าวแล้ว ตกเป็นกรรมสิทธิแก่เก็กหลานของฉันตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้ใดอื่นหรือนายกระจ่างซึ่งเป็นบุตรของฉันจะมาเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้เป็นอันขาด ฯลฯ" นี้เป็นอันถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้โดยพินัยกรรมแล้ว
ในพินัยกรรมที่มีข้อความต่อไปว่า "และขอให้นางช่วยซึ่งเป็นน้องของฉัน เป็นผู้แทนฉันจัดการยื่นคำร้องต่ออำเภอมอบกรรมสิทธิทรัพย์ให้" นั้น เป็นการกำหนดวิธีการที่จะให้เป็นผลสมบูรณ์ตามพินัยกรรม เนื่องจากทรัพย์ที่ยกให้บางอย่างเป็นที่ดิน ดังนี้ หาทำให้พินัยกรรมขาดลักษณะของการเป็นพินัยกรรมไม่
พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมนั้น ไม่จำต้องระบุเขียนลงไว้ว่า ได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ เมื่อได้ความว่า เจ้ามฤดกกดพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน ก็เป็นการใช้ได้ (อ้างฎีกาที่ 45 พ.ศ.2485)
of 22