คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1646

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สิทธิทายาท, อายุความ, และการแบ่งมรดก
พ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส พ. ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 งาน 56 ตารางวา มาในระหว่างที่อยู่กินด้วยกัน น. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วย พ. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นของ น. กึ่งหนึ่งเนื้อที่ 78 ตารางวาให้แก่จำเลยที่ 2 และ บ. เมื่อ น. ถึงแก่กรรมไปก่อน พ. ที่ดินส่วนของ น. จึงตกเป็นมรดกแก่ทายาทของ น. ซึ่งได้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เพียง 2 คน ส่วน พ. มิได้เป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกส่วนของ น. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ น. ให้แก่โจทก์โดยที่ดินส่วนดังกล่าวไม่ได้เป็นมรดกของ พ. จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้สืบสิทธิของทายาทอันจะอาจอ้างอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาตัดฟ้องโจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ต้องดำเนินการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จำนวน 26 ตารางวา
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นทายาทอยู่ในฐานะอันควรได้มรดกเช่นเดียวกับโจทก์ ศาลจึงมีอำนาจแบ่งมรดกให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วย เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 วรรคสองอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องร้องสอดเข้ามาขอส่วนแบ่งในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีที่กฎหมายกำหนด หนังสือยืนยันรับรองที่ไม่เป็นพินัยกรรมจึงไม่มีผลเพิกถอน
หนังสือยืนยันรับรองที่ผู้ตายทำขึ้น ไม่มีถ้อยคำที่ระบุว่าเป็นพินัยกรรมและคำสั่งเผื่อตาย ข้อความที่ระบุให้พินัยกรรมฝ่ายเมืองฉบับแรกถือเป็นพินัยกรรมที่ใช้ได้ และข้อความที่ไม่รับรองเอกสารซึ่งผู้ตายลงลายมือชื่อไว้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2540 และขอยกเลิกเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องการยืนยันและเพิกถอนพินัยกรรมของตนที่ได้ทำไว้เท่านั้น มิใช่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646
ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 แต่ในการเพิกถอนพินัยกรรมนั้นกฎหมายกำหนดวิธีการไว้ 4 กรณี ตามมาตรา 1694 ถึงมาตรา 1697 คือการทำพินัยกรรมฉบับหลังขึ้นมาเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน การทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ การโอนหรือทำลายทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความสมัครใจและการทำพินัยกรรมฉบับหลังมีข้อความขัดกันกับพินัยกรรมฉบับก่อนกฎหมายมิได้กำหนดวิธีการอื่นใดนอกจากนี้มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมได้ ฉะนั้น การที่ผู้ตายทำหนังสือยืนยันรับรองมีข้อความว่าไม่รับรองเอกสารฉบับลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2540 ที่มีผู้นำมาให้ลงชื่อ แม้จะแปลได้ว่าผู้ตายมีเจตนาเพิกถอนหรือไม่รับรองพินัยกรรมลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 ของตนนั้น แต่เมื่อหนังสือยืนยันรับรองดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมจึงไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสระหว่างสามีภริยา การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า และอายุความในการฟ้องเรียกคืน
ว. และ ห. อยู่กินฉันสามีภริยาที่ประเทศมาเลเซียประมาณ 90 ปีมาแล้ว จึงเป็นสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ห. ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2484 อันเป็นปีที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้ว จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้กับการแบ่งสินสมรส โดยบทที่ 72 กำหนดให้ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ไว้ในวันแต่งงานให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส ดังนั้นถ้าได้ทรัพย์มาก่อนปี 2484 ก็ต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยากันตามบทที่ 68 คือ ถ้าชายและหญิงต่างมีสินเดิม ให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่าย ส่วนสินสมรสให้แบ่งเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วนหญิงได้ 1 ส่วน ถ้าต่างฝ่ายไม่มีสินเดิมก็แบ่งสินสมรสแบบเดียวกันแต่ถ้าได้ทรัพย์มาภายหลังจากที่คู่สมรสของตนถึงแก่กรรมไปแล้วทรัพย์ดังกล่าวย่อมไม่ใช่สินสมรสที่จะแบ่งระหว่างสามีภริยาอีกต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทได้มาก่อนปี 2484 จึงเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่งระหว่างสามีภริยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โดย ว. ได้ 2 ส่วน ห. ได้ 1 ส่วน หลังจากนั้นส่วนของ ว. จึงตกทอดเป็นมรดกที่ ว. มีสิทธิทำพินัยกรรมยกให้แก่จำเลยที่ 1ถึงที่ 3 กับจำเลยร่วมที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนของ ห. นั้น โจทก์ผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์เพื่อจัดแบ่งให้แก่ทายาทของ ห. โดย ว. หามีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์ส่วนที่มิใช่ของตนให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมไม่
ทรัพย์อันเป็นสินสมรสที่ยังไม่ได้แบ่งนั้น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกมีสิทธิติดตามเอาคืนมาเพื่อจัดการแบ่งแก่ทายาทได้แม้เกิน 10 ปีนับแต่ ห. ถึงแก่กรรม คดีหาขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7929/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน - อายุความ - พินัยกรรมสมบูรณ์ - สิทธิในที่ดิน
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียปรียบก็ตาม กรณีเพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว นิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ก็ย่อมถูกเพิกถอนเสียได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อ 10 ปีมาแล้ว โดยหวังจะให้จำเลยเลี้ยงดู แต่จำเลยที่ 1 ได้ด่าว่า บ. บ. จึงต้องไปอาศัยอยู่กับโจทก์ที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1ไม่เคยดูแลเวลาป่วยก็ไม่พาไปโรงพยาบาล จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนที่ บ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณเพียง 1 เดือนเพื่อจะไม่ให้ บ. เรียกคืนโดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้ บ. เสียเปรียบ หาก บ. ไม่ถึงแก่ความตายในขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 บ. ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อสิทธิเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ ขณะที่ บ. ทำพินัยกรรม บ. มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการให้ที่ดินระหว่าง บ. กับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความตามมาตรา 145 วรรคหนึ่งแห่ง ป.วิ.พ. นอกจากนี้ บ. ยังมีสิทธิในการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 อันทำให้ บ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ สิทธิทั้งสองดังกล่าวเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของ บ. การที่ บ. มีเจตนาทำพินัยกรรมให้โจทก์มีสิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อน รวมทั้งสิทธิในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทด้วย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามที่ระบุในพินัยกรรมจึงถือไม่ได้ว่า บ. ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อื่น พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองจึงมีผลสมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย สิทธิตามที่กล่าวในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาจากวันที่โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกที่ดินให้มูลนิธิ/มัสยิดตัดสิทธิทายาทโดยธรรม การโอนกรรมสิทธิ์ตามเจตนาผู้ทำพินัยกรรม
ผู้สาบสูญได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้สุเหร่าคันนายาวต่อเมื่อได้ทำการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายตัดทายาทโดยธรรมของตนทุกคนมิให้รับมรดกในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสอง เมื่อสุเหร่าคันนายาวได้จดทะเบียนเป็นมัสยิดจำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลในทำนองเดียวกับมูลนิธิตามที่ปรากฏในพินัยกรรม ย่อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9412/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรมเพื่อการเผื่อตาย แม้ไม่มีคำว่า 'เผื่อตาย' ก็มีผลบังคับใช้ได้
นอกจากหัวข้อด้านบนจะระบุว่าพินัยกรรมแล้ว ยังมีข้อความต่อไปว่า "ข้าพเจ้า อ. ขอแสดงเจตนาเพื่อทำพินัยกรรมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ที่ดินตาม ข้าพเจ้าขอยกให้แก่ แต่เพียงผู้เดียว" และ "ข้อกำหนดพินัยกรรมนี้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าทุกประการ" บุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่าอ. มีเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรมนั้น เมื่อ อ. ตายหาใช่มีเจตนายกให้ขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า"เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย" ถือได้ว่าอ. ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้แล้ว
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646มิใช่แบบของพินัยกรรมที่บังคับให้ต้องระบุข้อความกำหนดการเผื่อตายโดยต้องมีคำว่า "เผื่อตาย" ระบุไว้โดยชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9412/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรม: การระบุเจตนาเผื่อตายในพินัยกรรม และการตีความตามพจนานุกรม
พินัยกรรมคดีนี้นอกจากหัวข้อด้านบนจะระบุว่าพินัยกรรมแล้ว ยังมีข้อความต่อไปว่า "ข้าพเจ้า อ. ขอแสดงเจตนาเพื่อทำพินัยกรรมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ที่ดินตาม... ข้าพเจ้าขอยกให้แก่... แต่เพียงผู้เดียว" และ "ข้อกำหนดพินัยกรรมนี้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าทุกประการ" ถ้อยคำดังกล่าวบุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่า อ. มีเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรมนั้นเมื่อ อ. ตาย หาใช่มีเจตนายกให้ขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า "เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย" ดังนี้ จึงถือได้ว่า อ. ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้แล้ว
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 มิใช่แบบของพินัยกรรมที่บังคับให้ต้องระบุข้อความกำหนดการเผื่อตายโดยต้องมีคำว่า "เผื่อตาย" ระบุไว้โดยชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาพินัยกรรมโมฆะ การฉ้อฉล และสิทธิของผู้จัดการมรดก
ผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่เพราะสามารถลงลายมือชื่อตามที่ น. บอกให้ลงลายมือชื่อได้ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้ตายในพินัยกรรมกับเอกสารอื่นที่ผู้ตายเคยลงลายมือชื่อไว้แล้วมีลักษณะลีลาการเขียนอย่างเดียวกันเพียงแต่อักษรตัวใหญ่กว่าเท่านั้น จึงเป็นข้อสนับสนุนว่าผู้ตายได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ พินัยกรรมมีเพียงหน้าเดียวเป็นตัวพิมพ์มีข้อความด้านบนระบุว่าพินัยกรรมทั้งในช่องที่ผู้ตายลงลายมือชื่อนั้นก็พิมพ์ข้อความว่า ผู้ทำพินัยกรรม ไว้ ผู้ตายต้องใช้เวลาในการลงลายมือชื่อถึงครึ่งชั่วโมง โดย น. บอกให้เขียนทีละตัว เชื่อว่าผู้ตายน่าจะเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ดังนั้น การลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริงและ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตาม วัน เดือน ปีที่แท้จริงนั้นข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่ขัดกฎหมายเมื่อระบุที่ดินผิดแปลงแต่เป็นที่ดินที่เจ้ามรดกมีอยู่จริง
เจ้ามรดกระบุจำนวนเนื้อที่ดินและสถานที่ตั้งของที่ดินตรงกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เจ้ามรดกมีอยู่เพียงแปลงเดียวแต่ระบุว่าเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) อีกเลขหนึ่ง ซึ่งเป็นการผิดหลงไป ข้อกำหนดในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงไม่ขัดต่อกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1646

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุเลขที่ น.ส.3.ผิด ศาลวินิจฉัยตามเจตนาจริงของเจ้ามรดก
เจ้ามรดกระบุจำนวนเนื้อที่ดินและสถานที่ตั้งของที่ดินตรงกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เจ้ามรดกมีอยู่เพียงแปลงเดียวแต่ระบุว่าเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) อีกเลขหนึ่ง ซึ่งเป็นการผิดหลงไป ข้อกำหนดในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงไม่ขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1646
of 22