พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามพินัยกรรมเกินขนาดที่ดิน และการฟ้องขับไล่จากผู้ซื้อสิทธิในมรดก
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทมีคดีจนสู่ศาลฎีกาการรับโอนที่ดินจากการซื้อขายมาเป็นของโจทก์แล้วฟ้องขับไล่จำเลย จึงมิได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตนั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และการกระทำใดสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงและมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงชอบแล้ว
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4700/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขวันที่ในพินัยกรรมก่อนลงลายมือชื่อไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย ทำให้พินัยกรรมสมบูรณ์
ป.ผู้ทำพินัยกรรมได้เติมวันที่และเดือนในพินัยกรรมที่ส.พิมพ์มาให้ตามความต้องการของป. และลงลายมือชื่อในพินัยกรรมแล้วพยาน3คนได้ลงลายมือชื่อการที่ป. เติมวันที่และเดือนลงในพินัยกรรมมิใช่เป็นการตกเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองและเป็นการเติมก่อนที่ป. และพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นผู้จัดการมรดกและการสมบูรณ์ของพินัยกรรมเฉพาะส่วนที่ดิน
ผู้คัดค้านฎีกาว่า ทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.1ส.มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกับต. เฉพาะที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5195 ตำบลบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น เท่านั้น ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) เลขที่ 736 ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นมีชื่อ ต. เป็นเจ้าของคนเดียว ซึ่งเมื่อทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.1ไม่ใช่ของส. พินัยกรรมดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 ฟังไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็หาทำให้พินัยกรรมเอกสารหมาย ร.1 เป็นโมฆะไม่ เพราะพินัยกรรมเฉพาะที่ดินในส่วนที่เป็นสิทธิของเจ้ามรดกย่อมสมบูรณ์ ทั้งชั้นนี้เป็นเพียงการขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้น ยังไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งมรดกซึ่งถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกและขอบเขตพินัยกรรม: สิทธิในทรัพย์สินและอำนาจผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านฎีกาว่าทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมายร.1ส. มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกับ ต. เฉพาะที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เลขที่5195ตำบล บ้านไผ่จังหวัดขอนแก่นเท่านั้นส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เลขที่736ตำบล บ้านไผ่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นมีชื่อ ต. เป็นเจ้าของคนเดียวซึ่งเมื่อทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมายร.1ไม่ใช่ของ ส. พินัยกรรมดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ฟังไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็หาทำให้พินัยกรรมเอกสารหมายร.1เป็นโมฆะไม่เพราะพินัยกรรมเฉพาะที่ดินในส่วนที่เป็นสิทธิของเจ้ามรดกย่อมสมบูรณ์ทั้งชั้นนี้เป็นเพียงการขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้นยังไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งมรดกซึ่งถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดก: สิทธิการขอเป็นผู้จัดการมรดก ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมเฉพาะส่วน และข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านฎีกาว่าทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมายร.1ส. มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกับ ต. เฉพาะที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เลขที่5195ตำบล บ้านไผ่จังหวัดขอนแก่นเท่านั้นส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เลขที่736ตำบล บ้านไผ่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นมีชื่อ ต. เป็นเจ้าของคนเดียวซึ่งเมื่อทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมายร.1ไม่ใช่ของ ส. พินัยกรรมดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ฟังไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็หาทำให้พินัยกรรมเอกสารหมายร.1เป็นโมฆะไม่เพราะพินัยกรรมเฉพาะที่ดินในส่วนที่เป็นสิทธิของเจ้ามรดกย่อมสมบูรณ์ทั้งชั้นนี้เป็นเพียงการขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้นยังไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งมรดกซึ่งถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเฉพาะส่วน: สิทธิในทรัพย์สินที่ระบุไม่ถูกต้อง ทำให้พินัยกรรมส่วนนั้นไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ทำให้พินัยกรรมทั้งหมดเป็นโมฆะ
ผู้คัดค้านฎีกาว่า ทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.1ส. มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกับ ต. เฉพาะที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5195 ตำบลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เท่านั้น ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 736 ตำบลบ้านไผ่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีชื่อ ต.เป็นเจ้าของคนเดียว ซึ่งเมื่อทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.1 ไม่ใช่ของ ส. พินัยกรรมดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 ฟังไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็หาทำให้พินัยกรรมเอกสารหมายร.1 เป็นโมฆะไม่ เพราะพินัยกรรมเฉพาะที่ดินในส่วนที่เป็นสิทธิของเจ้ามรดกย่อมสมบูรณ์ ทั้งชั้นนี้เป็นเพียงการขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้น ยังไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งมรดกซึ่งถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ การจดทะเบียนรับมรดกเป็นโมฆะ
การสละมรดก โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 นั้น ตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่ออกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1672 ข้อ 14, 15 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 กำหนดว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่"ดังกล่าว หมายถึงนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต ดังนั้น การที่โจทก์กับ ศ.ทำหนังสือสละมรดกมอบไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมาย
ขณะ ล.เจ้ามรดกทำพินัยกรรทม ล.มีอาการป่วยหนักมีความคิดสับสน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของ ล. และเป็นพินัยกรรมปลอม โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกจึงฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยได้
คดีมีทุนทรัพย์ 2,700,000 บาท เมื่อพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี ประกอบกับเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 15,000 บาท จึงชอบด้วยตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งค่าขึ้นศาลที่โจทก์ผู้ฟ้องอย่างคนอนาถาได้รับยกเว้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ขณะ ล.เจ้ามรดกทำพินัยกรรทม ล.มีอาการป่วยหนักมีความคิดสับสน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของ ล. และเป็นพินัยกรรมปลอม โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกจึงฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยได้
คดีมีทุนทรัพย์ 2,700,000 บาท เมื่อพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี ประกอบกับเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 15,000 บาท จึงชอบด้วยตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งค่าขึ้นศาลที่โจทก์ผู้ฟ้องอย่างคนอนาถาได้รับยกเว้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทฟ้องร้องมรดก & ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์
การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมก็เพื่อความสะดวกในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทเท่านั้น หาได้มีกฎหมายห้ามทายาทตามพินัยกรรมฟ้องเรียกเอามรดกเป็นส่วนของตนไม่
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุน-ทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุน-ทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทตามพินัยกรรมมีอำนาจฟ้องเรียกร้องมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมก็เพื่อความสะดวกในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทเท่านั้น หาได้มีกฎหมายห้ามทายาทตามพินัยกรรมฟ้องเรียกเอามรดกเป็นส่วนของตนไม่ โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุนทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม เงื่อนไขจำหน่ายทรัพย์ และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องร่วมกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกันแสดงเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง หากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีจึงถือได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวนั้นเป็นอันไม่มีเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1707 มิใช่กรณีตามมาตรา1706 (3) ดังนี้ ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้หาเป็นโมฆะไม่
พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใด และก็มิไช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646
เมื่อผู้ร้องลงชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรม มิได้ลงชื่อในฐานะพยานทั้งมิได้มีข้อความระบุว่าเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นพยานในพินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรมหาได้ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 1 05 ไม่
แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากแล้ว และเคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรง-พยาบาล แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมีสติสัมปชัญญะดี มีความรู้สึกผิดชอบ มีความสามารถที่จะดำเนินการทำนิติกรรมใด ๆ ได้ และผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ทั้งผู้ร้องก็เป็นทายาทโดยพินัยกรรมตาม มาตรา 1603 วรรคสาม ได้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตาย เท่ากับผู้ตายตัดมิให้ผู้คัดค้านได้รับมรดกของตน แม้ผู้คัดค้านจะมีสิทธิในสินสมรสร่วมกับผู้ตายและเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ผู้คัดค้านไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับชายอื่นขณะที่ยังไม่ขาดจากการสมรสกับผู้ตาย ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใด และก็มิไช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646
เมื่อผู้ร้องลงชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรม มิได้ลงชื่อในฐานะพยานทั้งมิได้มีข้อความระบุว่าเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นพยานในพินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรมหาได้ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 1 05 ไม่
แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากแล้ว และเคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรง-พยาบาล แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมีสติสัมปชัญญะดี มีความรู้สึกผิดชอบ มีความสามารถที่จะดำเนินการทำนิติกรรมใด ๆ ได้ และผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ทั้งผู้ร้องก็เป็นทายาทโดยพินัยกรรมตาม มาตรา 1603 วรรคสาม ได้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตาย เท่ากับผู้ตายตัดมิให้ผู้คัดค้านได้รับมรดกของตน แม้ผู้คัดค้านจะมีสิทธิในสินสมรสร่วมกับผู้ตายและเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ผู้คัดค้านไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับชายอื่นขณะที่ยังไม่ขาดจากการสมรสกับผู้ตาย ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย