พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเป็นโมฆะ: เจ้ามรดกไม่มีสติสัมปชัญญะขณะทำพินัยกรรม
คำเบิกความของโจทก์และ ส. หลานเจ้ามรดกประกอบกับ หลักฐานการป่วยของเจ้ามรดกที่โรงพยาบาล ฟังได้ว่าเจ้ามรดกมีสติ เลอะเลือนก่อนถึงแก่กรรม ส่วนข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 มีพิรุธและ ไม่น่าเชื่อถือกล่าวคือ เจ้ามรดกมีอายุกว่า 80 ปีแล้ว แต่ใน พินัยกรรมระบุอายุเพียง 71 ปี ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าจำลายพิมพ์ นิ้วมือของเจ้ามรดกในพินัยกรรมได้ แต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มี ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องนี้อย่างไร ที่จำเลยที่ 1อ้างว่าไม่ทราบว่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้แต่บุตรกลับเบิกความว่า อยู่ในขณะทำ พินัยกรรมด้วย นอกจากนี้ผู้จัดทำพินัยกรรมก็เป็นทนายจำเลยที่ 1 จึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และจำเลยก็ไม่นำพยานในพินัยกรรม มาเป็นพยานต่อศาลด้วย จึงไม่น่าเชื่อว่าเจ้ามรดกซึ่งมีอายุกว่า 80 ปี มีอาการไม่ค่อยรู้เรื่องจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินจำนวนมาก ถึง 10รายการให้บุคคลอื่น คดีจึงฟังได้ว่าในขณะทำพินัยกรรม เจ้ามรดกไม่มีสติสัมปชัญญะและไม่ทราบข้อความในพินัยกรรม พินัยกรรม จึงไม่มีผลบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4043/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมทำเองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีพยาน และมีข้อความระบุผู้รับมรดกชัดเจน
ผู้ตายเป็นผู้เขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 โดยหาจำต้องมีพยานพินัยกรรมไม่ ข้อความในบันทึกของผู้ตายมีว่า "ถ้าหากช่วงต่อไปฉันมีอันที่จะต้องตายจากไป ฉันมีทรัพย์สินทั้งหมดที่เห็น ๆ อยู่นี้ ฯลฯในใจจริงนั้นคิดจะยกให้กับต่าย ผู้ซึ่งเป็นลูกสาวของน้าสาวคนเล็กซึ่งฉันเห็นว่าเขาเป็นผู้มีสติปัญญาที่ดี ฉันเพียงแต่คิดว่าฉันจะควรที่ฉันจะยกข้าวของซึ่งเป็นของฉันให้ต่าย ฯลฯ ส่วนข้าวของอย่างอื่นก็แล้วแต่บรรดาญาติจะเห็นสมควรจะให้อะไรแก่เด็กเหล่า บ้างฯลฯ (ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ ขอยกเว้นไม่มีการแบ่งให้กับแม่และลูก ๆของแม่ทุกคนโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น) ในข้อความทั้งหมดที่เขียนมานี้ ฉันมีสติดีทุกประการ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากฉันเองก็ขอให้ถือว่านี้คือการสั่งเสีย ฯลฯ แล้วลงชื่อ น.ส.ยุพินฉัตรพงศ์เจริญ(พิน)" ซึ่งตามบันทึกดังกล่าวมีข้อความว่าเมื่อผู้เขียนตายไปทรัพย์สินของตนให้แก่ใครบ้าง มีใครบ้างที่ไม่ยอมให้และลงท้ายด้วยว่ามีสติดี จึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามมาตรา 1646,1647 แล้ว หาใช่บันทึกบรรยายความคิดความรู้สึกในใจเท่านั้นไม่ ผู้คัดค้านฎีกาในข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีเพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านที่ 1 บรรยายคำคัดค้านไว้แล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับพินัยกรรมและมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงไม่จำต้องแนบพินัยกรรมมาท้ายคำคัดค้านด้วย การที่คำคัดค้านระบุว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านที่ 1เพียงผู้เดียว แต่ชั้นพิจารณาได้ความตามพินัยกรรมว่า ทรัพย์สินรายการที่ 1 เจ้ามรดกได้ทำสัญญาจะขายให้บุคคลภายนอก เงินที่ได้ยกให้กับผู้คัดค้านที่ 1 ส่วนหนึ่ง กับยกให้ ส. อีกส่วนหนึ่งส่วนทรัพย์รายการที่ 2 ตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด เช่นนี้เป็นเรื่องพยานหลักฐานที่นำสืบได้ความไม่เต็มบริบูรณ์ตามคำคัดค้านและก็ยังได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอยู่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ที่อ้างเทปบันทึกเสียงเป็นพยานจะต้องถอดข้อความในเทปออกมา หรือต้องนำเทปมาเปิดในขณะพิจารณาคดีของฝ่ายที่อ้างเองหรือฝ่ายตรงข้าม เพราะการนำสืบเสียงพูดเป็นการนำสืบวัตถุพยาน พินัยกรรมฉบับหลังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์มรดกรายเดียวกับที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับก่อนเท่านั้น มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1697 สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับก่อนจึงระงับ ส่วนข้อกำหนดในการตั้งผู้จัดการมรดกยังคงมีผลอยู่แต่ตามพินัยกรรมระบุให้ผู้ร้อง ด.และช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ถ้าผู้ใดตาย ให้ผู้มีชีวิตอยู่ดำเนินการแทน ดังนั้นเมื่อด.ตายผู้ร้องต้องร่วมกับช. จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งเฉพาะผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงขัดต่อเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก และเมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกด้วยเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใด ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมและไม่มีส่วนได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกจึงเหมาะสม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมของภริยาและสิทธิทำพินัยกรรม: ศาลยืนตามพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุตร
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องกัน บิดามารดาโจทก์จำเลยสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้บิดาโจทก์จำเลยจะถึงแก่กรรม ขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477ใช้บังคับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่ายที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่มารดามีมาก่อนแต่งงานกับบิดาจึงเป็นสินเดิมของมารดา มารดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้ พินัยกรรมในส่วนที่ดินพิพาทจึงมีผลสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมของภริยาและการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน
เอกสารที่โจทก์แนบมาพร้อมฎีกา โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 ศาลฎีกาไม่รับฟัง โจทก์จำเลยเป็นบุตร นาย ป. และนาง ช. ซึ่งสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. 2477 นาย ป. ถึงแก่กรรมก่อน นาง ช.แม้ นาย ป. จะถึงแก่กรรมขณะที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ใช้บังคับก็ตามแต่การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยามิใช่ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่าย ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ นาง ช. มีมาก่อนสมรส อันเป็นสินเดิมของ นาง ช.จึงต้องคืนแก่นางช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกให้แก่จำเลยได้ พินัยกรรมในส่วนที่พิพาทจึงมีผลสมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดการเผื่อตายในพินัยกรรมรวมถึงทรัพย์สินที่จะได้มาในอนาคต และการยักย้ายทรัพย์มรดก
การทำพินัยกรรมอาจกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะได้มาในอนาคตได้ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าผู้ตายยกให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ดังนั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ได้มาภายหลังผู้ตายทำพินัยกรรมก็ย่อมตกเป็นของจำเลยตามพินัยกรรมดังกล่าวด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้จำเลยแต่ผู้เดียว แม้มีทายาทโดยธรรมอื่น ย่อมมีผลบังคับใช้ การขีดฆ่าพินัยกรรมภายหลังไม่ทำให้เสียผล
ผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้า ผู้ตายยกให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ดังนั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ได้มาภายหลังผู้ตายทำพินัยกรรมย่อมตกเป็นของจำเลยตามพินัยกรรมดังกล่าวด้วยทายาทโดยธรรมอื่นของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย หลังจากผู้ตายถึงแก่กรรม จำเลยได้ขายทรัพย์สินที่ยกให้จำเลยตามพินัยกรรมข้อ 4 และข้อ 6 แล้วได้มีการขีดฆ่าข้อความทรัพย์สินที่ยกให้ตามพินัยกรรม ข้อ 4 และ ข้อ 6 ออก เขียนกำกับไว้ข้างหน้าข้อ 4 และ ข้อ 6 ว่าขายไปแล้วเมื่อใด แก่ผู้ใด และลงลายมือชื่อจำเลยกำกับไว้ ทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็นของจำเลยตามพินัยกรรมนับตั้งแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว การขีดฆ่ารายการทรัพย์สินในพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสามารถยกทรัพย์สินในอนาคตได้ และมีผลเหนือสิทธิทายาทโดยธรรม
การทำพินัยกรรมอาจกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะได้มาในอนาคตได้ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าผู้ตายยกให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ดังนั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ได้มาภายหลังผู้ตายทำพินัยกรรมก็ย่อมตกเป็นของจำเลยตามพินัยกรรมดังกล่าวด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่ตกเป็นโมฆะแม้ระบุทรัพย์สินไม่ชัดเจน หากยังพอทราบได้แน่นอน
บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(3)นั้นหมายความว่า แม้ระบุทรัพย์สินที่ยกให้ไว้ไม่ชัดแจ้งเมื่อยังอาจพอทราบแน่นอนได้ย่อมหาตกเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมฉบับพิพาทไม่ได้ระบุเลขโฉนดที่ดินแปลงที่ยกให้แต่ระบุไว้เป็นสำคัญว่าคือที่ดินแปลงตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี และยังระบุไว้อีกว่าเป็นที่ดินแปลงที่ผู้ทำพินัยกรรมมีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่กับนายนามและนายแนมโดยในพินัยกรรมระบุยกที่ดินให้เฉพาะส่วนของผู้ทำพินัยกรรมด้วย แม้ไม่ระบุจำนวนก็ย่อมชัดแจ้งแล้ว พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมมีผลบางส่วน ทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดก
โจทก์ทั้งห้าในฐานะทายาทฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและปกครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น ขอแบ่งทรัพย์มรดก แม้จะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองก็จะหมดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์ที่ 2 เคยฟ้องขอแบ่งส่วนทำบุญทำทานตามที่เจ้ามรดกสั่งไว้ในพินัยกรรม โจทก์ที่ 3 เคยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ที่ 4 เคยร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนจำเลยทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 5 ก็เคยฟ้องจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกเคยฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 5 ออกจากที่ดินกองมรดก แต่ไม่ปรากฏว่าได้พิพาทกันในประเด็นว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะหรือไม่ ดังนั้น ที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พินัยกรรมที่กำหนดยกทรัพย์มรดำให้แก่ผู้มีชื่อถือหุ้นในบริษัท โดยแต่ละคนมีส่วนเฉลี่ยตามจำนวนหุ้น ซึ่งเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวด้วยนั้น เป็นพินัยกรรมที่กำหนดตัวผู้รับพินัยกรรมโดยทราบตัวได้แน่นอนแล้วตามรายชื่อผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีอยู่ในขณะผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย พินัยกรรมส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 มีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ส่วนที่ปรากฏว่าเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทด้วย จึงเท่ากับเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ตนเองนั้น ย่อมเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1646 ไม่มีผลบังคับทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมซึ่งมีข้อความให้ผู้จัดการมรดกและผู้ถือหุ้นซึ่งได้รับทรัพย์มรดกมาตามพินัยกรรมโอนทรัพย์มรดกให้เป็นการเพิ่มทุนของบริษัทตามอัตราส่วนของหุ้นที่แต่ละคนมีอยู่นั้น เป็นเงื่อนไขที่ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นแก่บุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 จึงไม่มีผล ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีผู้รับพินัยกรรมไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น
พินัยกรรมที่กำหนดให้โอนหุ้นในส่วนของเจ้ามรดกใส่ชื่อผู้จัดการมรดกร่วมกัน เพื่อรับเงินปันผลจากบริษัท เพื่อทำบุญทำทาน และเกื้อกูลบุตรหลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นในบริษัทนั้น ไม่ใช่เรื่องตั้งผู้ปกครองทรัพย์และไม่ใช่เรื่องก่อตั้งทรัสต์ เพราะผู้รับพินัยกรรมไม่ใช่ผู้เยาว์หรือบุคคลไร้ความสามารถ และไม่มีการยกทรัพย์ให้แก่ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด แต่เป็นข้อกำหนดที่ทรัพย์สินซึ่งยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้ และเป็นการให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้กำหนดทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมมากน้อยเท่าใดตามแต่ใจของผู้จัดการมรดก ข้อกำหนดนี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3)
โจทก์ที่ 2 เคยฟ้องขอแบ่งส่วนทำบุญทำทานตามที่เจ้ามรดกสั่งไว้ในพินัยกรรม โจทก์ที่ 3 เคยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ที่ 4 เคยร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนจำเลยทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 5 ก็เคยฟ้องจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกเคยฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 5 ออกจากที่ดินกองมรดก แต่ไม่ปรากฏว่าได้พิพาทกันในประเด็นว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะหรือไม่ ดังนั้น ที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พินัยกรรมที่กำหนดยกทรัพย์มรดำให้แก่ผู้มีชื่อถือหุ้นในบริษัท โดยแต่ละคนมีส่วนเฉลี่ยตามจำนวนหุ้น ซึ่งเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวด้วยนั้น เป็นพินัยกรรมที่กำหนดตัวผู้รับพินัยกรรมโดยทราบตัวได้แน่นอนแล้วตามรายชื่อผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีอยู่ในขณะผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย พินัยกรรมส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 มีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ส่วนที่ปรากฏว่าเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทด้วย จึงเท่ากับเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ตนเองนั้น ย่อมเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1646 ไม่มีผลบังคับทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมซึ่งมีข้อความให้ผู้จัดการมรดกและผู้ถือหุ้นซึ่งได้รับทรัพย์มรดกมาตามพินัยกรรมโอนทรัพย์มรดกให้เป็นการเพิ่มทุนของบริษัทตามอัตราส่วนของหุ้นที่แต่ละคนมีอยู่นั้น เป็นเงื่อนไขที่ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นแก่บุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 จึงไม่มีผล ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีผู้รับพินัยกรรมไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น
พินัยกรรมที่กำหนดให้โอนหุ้นในส่วนของเจ้ามรดกใส่ชื่อผู้จัดการมรดกร่วมกัน เพื่อรับเงินปันผลจากบริษัท เพื่อทำบุญทำทาน และเกื้อกูลบุตรหลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นในบริษัทนั้น ไม่ใช่เรื่องตั้งผู้ปกครองทรัพย์และไม่ใช่เรื่องก่อตั้งทรัสต์ เพราะผู้รับพินัยกรรมไม่ใช่ผู้เยาว์หรือบุคคลไร้ความสามารถ และไม่มีการยกทรัพย์ให้แก่ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด แต่เป็นข้อกำหนดที่ทรัพย์สินซึ่งยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้ และเป็นการให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้กำหนดทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมมากน้อยเท่าใดตามแต่ใจของผู้จัดการมรดก ข้อกำหนดนี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3)