คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1647

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ: การวินิจฉัยความถูกต้องและผลบังคับใช้
แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่าหนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ โดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เอง ปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ: การพิจารณาความถูกต้องและผลบังคับใช้
แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่า หนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ โดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เอง ปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรม แบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ใช่พินัยกรรม หากมีพินัยกรรมอยู่แล้ว และไม่มีเจตนาให้ทรัพย์ตกแก่ผู้อื่น
ผู้ตายทำหนังสือมอบอำนาจให้ พ. นำค่าเช่าบ้านไปชำระหนี้สิ้นที่ผู้ตายติดค้าง พ. โดยทยอยผ่อนชำระจากเงินค่าเช่าบ้าน หากชำระไม่ได้เพราะไม่มีค่าเช่าต่อเนื่องหรือผู้ตายถึงแก่ความตายให้ พ. ขายบ้านได้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะมีข้อความว่าหรือข้าพเจ้าถึงแก่ความตายก็ตาม ข้อความนี้ก็เป็นเพียงขยายความว่ากรณีไม่มีเงินค่าเช่าต่อเนื่องก็ให้ขายบ้านเช่านำเงินมาชำระ การตายของผู้ตายที่ระบุไว้เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่ต้องขายบ้านเช่า ประกอบกับผู้ตายเคยทำพินัยกรรมมาก่อน หากผู้ตายมีเจตนาจะทำพินัยกรรมก็มีความสามารถจะทำพินัยกรรมได้ไม่จำต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ ถือได้ว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ไม่มีข้อความหรือแปลความได้ว่าเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 หนังสือมอบอำนาจจึงไม่ใช่พินัยกรรม เมื่อจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมย่อมโอนที่ดินและบ้านมาเป็นของตนได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9311/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนมรดก: อายุความ, การครอบครองมรดก, และการให้โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ
คดีก่อนโจทก์ทั้งสามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกร่วมกันจดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 26791 ตำบลบึงสาน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ให้แก่ น. พ. ว. และ ป. จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ในคดีดังกล่าวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสาม แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 26792 ตำบลบึงสาน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกอีกด้วย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 26791 ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับ น. พ. ว. และ ป. แล้วพิพากษาให้โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลงตามส่วนที่พึงได้รับตามกฎหมาย ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 น. พ. ว. และ ป. ร่วมกันส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 26791 และเลขที่ 26792 แก่โจทก์ที่ 3 เพื่อให้โจทก์ที่ 3 นำไปจดทะเบียนแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายต่อไป หากไม่สามารถส่งมอบได้ให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนแก่โจทก์ที่ 3 ดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวต่อไป ส่วนคดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 243492 ตำบลหัวหมาก (หัวหมากใต้) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ที่ดินโฉนดเลขที่ 60129 และ 60130 ตำบลโคกแฝด อำเภอหนองจอก กรุงเทพมหานคร ให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ดินโฉนดเลขที่ 32090 และ 32095 ตำบลหัวหมาก (หัวหมากใต้) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ที่ดินโฉนดเลขที่ 23312 และ 60131 ตำบลโคกแฝด อำเภอหนองจอก กรุงเทพมหานคร ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ดินโฉนดเลขที่ 243491 ตำบลหัวหมาก (หัวหมากใต้) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ที่ดินโฉนดเลขที่ 60127 ตำบลโคกแฝด อำเภอหนองจอก กรุงเทพมหานคร ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ดินโฉนดเลขที่ 243490 ตำบลหัวหมาก (หัวหมากใต้) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 60128 ตำบลโคกแฝด อำเภอหนองจอก กรุงเทพมหานคร ให้แก่จำเลยที่ 4 ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินมรดกทั้งสิบเอ็ดแปลงดังกล่าว แล้วให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งตามส่วนที่พึงได้รับตามกฎหมาย ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 3 เพื่อจดทะเบียนแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก หากไม่สามารถส่งมอบได้ ให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ที่ 3 เพื่อดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินดังกล่าวต่อไป ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีทั้งสองเรื่องโดยอ้างว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกและขอให้แบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์ทั้งสามก็ตาม แต่คดีก่อนนอกจากโจทก์ทั้งสามจะฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกแล้ว โจทก์ทั้งสามยังฟ้องบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกรวมมาด้วย โดยมูลคดีเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกนำที่ดินทรัพย์มรดกแปลงหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดนครนายกโอนขายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากบุคคลภายนอกที่โจทก์ทั้งสามเห็นว่าได้รับโอนที่ดินมรดกไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกที่จังหวัดนครนายกให้แก่โจทก์ทั้งสาม ซึ่งเป็นที่ดินมรดกคนละส่วนกับที่ดินในคดีนี้ ทั้งคดีดังกล่าวมีประเด็นจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่ามีเหตุจะเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกหรือไม่ เมื่อเพิกถอนแล้วจึงจะนำมาแบ่งปันกันระหว่างทายาทได้ ส่วนคดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกร่วมกัน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกและโอนที่ดินทรัพย์มรดกแปลงอื่นซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครให้แก่ตนเองรวมทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกด้วยกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินทรัพย์มรดกที่กรุงเทพมหานครคืนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 รวมทั้งทายาทอื่นที่ไม่มีอำนาจรับโอนที่ดินไว้โดยชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะเป็นที่ดินมรดกต่างแปลงและต่างท้องที่คนละส่วนกับที่ดินมรดกในคดีก่อนและคดีมีแต่เพียงประเด็นแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาทด้วยกันเท่านั้น มิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ตามเอกสารมีข้อความระบุว่า เจ้ามรดกมีความประสงค์ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 32090 บางส่วน เนื้อที่ 26 ตารางวา ให้แก่จำเลยที่ 2 ส่วนที่เหลือมอบให้จำเลยที่ 2 จัดการเพื่อการกุศล แต่เจ้ามรดกขอเก็บผลประโยชน์ไปก่อนขณะยังมีชีวิต โดยในเอกสารไม่มีข้อความระบุว่าเป็นพินัยกรรมทั้งไม่มีข้อความระบุว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนายกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 และมอบให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินส่วนที่เหลือไปจัดการเพื่อการกุศลโดยให้มีผลเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วอีกด้วย ทั้งเอกสารมีการจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2541 ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นเวลา 9 เดือนเศษ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกมีอาการป่วยหนักถึงขนาดทราบว่าตนเองจะถึงแก่ความตายแล้ว แต่อย่างใด นอกจากนี้หากเจ้ามรดกมีเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเองไว้โดยทำพินัยกรรมแล้ว เจ้ามรดกก็น่าจะระบุถึงที่ดินแปลงอื่นของตนไว้ในเอกสารดังกล่าวให้ชัดแจ้งว่าประสงค์จะยกที่ดินแปลงใดให้แก่ทายาทรายใดให้เสร็จสิ้นไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างทายาทในการแบ่งปันทรัพย์มรดกในภายหลัง หาใช่ระบุไว้เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 32090 เพียงแปลงเดียวโดยปล่อยให้ที่ดินแปลงอื่นเป็นมรดกตกทอดไปยังบรรดาทายาทโดยธรรมเมื่อตนถึงแก่ความตายดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารไม่ จึงเชื่อว่าเป็นเรื่องที่เจ้ามรดกเจตนายกที่ดินโฉนดเลขที่ 32090 บางส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ทำหนังสือดังกล่าวเท่านั้น โดยยังคงหวงแหนที่ดินแปลงอื่นของตนอยู่ ซึ่งมีลักษณะเป็นการให้ และให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินส่วนที่เหลือไปจัดการเพื่อการกุศล จึงไม่เข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 เมื่อการให้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 เข้าไปครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 32090 โดยไม่ได้แสดงเจตนาไปยังทายาทโดยธรรมคนอื่นของเจ้ามรดกว่า จำเลยที่ 2 ครอบครองเพื่อตนเอง ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ จำเลยทั้งสี่ยอมรับว่าโจทก์ทั้งสามรวมทั้งทายาทอื่นมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ทั้งต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกอีกด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องจัดการรวบรวมทรัพย์มรดกและแบ่งปันให้แก่บรรดาทายาทโดยธรรมให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่แบ่งปันกันแทนทายาทโดยธรรมรวมทั้งโจทก์ทั้งสามผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ด้วย มิได้ครอบครองที่ดินมรดกตามฟ้องเพื่อตนเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้แสดงเจตนาไปยังทายาทโดยธรรมคนอื่นของเจ้ามรดกว่า จะไม่ยึดถือครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทโดยธรรมคนอื่นอีกต่อไป แต่ประสงค์จะครอบครองเพื่อตนเอง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14885/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในมรดก แม้หนังสือแสดงเจตนาทำไว้ก่อน
จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกและศาลยังไม่มีคำสั่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เงินฝากและหุ้นของ ส. ในสหกรณ์ดังกล่าวตามฟ้อง ไม่ใช่มรดกของ ส. เพราะสิทธิประโยชน์เกิดขึ้นเมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย พินัยกรรมตามฟ้องไม่อาจลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ ส. ทำให้ไว้แก่สหกรณ์ดังกล่าวเท่านั้น จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้เลยว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอม ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอม จึงเป็นการอ้างข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากคำให้การ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
เงินค่าหุ้น เงินปันผลและหรือเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายเงินฝากและทรัพย์สินอื่นใดที่ ส. พึงได้รับตามสิทธิของการเป็นสมาชิกสหกรณ์เป็นมรดกของ ส. ถึงแม้ว่า ส. จะได้ทำหนังสือแสดงเจตนาตั้งผู้รับโอนประโยชน์ให้ไว้แก่สหกรณ์ดังกล่าวโดยระบุให้โจทก์กับจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็ตามแต่หลังจากที่ ส. ทำหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ไว้แล้ว ปรากฏว่า ส. ได้ทำพินัยกรรมระบุไว้ ให้โจทก์เป็นผู้รับหุ้นและเงินฝากรวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินที่ ส. ผู้ตาย ฝากไว้ ณ สหกรณ์ดังกล่าว อันเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้เพียงฉบับเดียวก่อนที่ ส. จะถึงแก่ความตาย พินัยกรรมจึงมีผลลบล้างหนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ระบุให้โจทก์และจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ ผลของพินัยกรรมทำให้จำเลยหมดสิทธิได้รับเงินค่าหุ้น เงินปันผลและหรือเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่าย เงินฝากและทรัพย์สินอื่นใดที่ ส. พึงได้รับตามสิทธิของการเป็นสมาชิกสหกรณ์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6297/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมปลอม: ผู้ทำพินัยกรรมหมดสติ ไม่สามารถแสดงเจตนาได้ ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
การทำพินัยกรรมคือการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะทำพินัยกรรม ผู้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่มีสติสัมปชัญญะ พูดจาไม่ได้ บังคับร่างกายของตนก็ไม่ได้ จึงไม่สามารถที่จะแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายได้ด้วยตนเอง ข้อความในพินัยกรรมจึงมิใช่เจตนาอันแท้จริงของผู้ตาย แต่เป็นข้อความที่แสดงเจตนาของผู้แอบอ้างจัดทำขึ้นเอง จึงเป็นพินัยกรรมปลอม ไม่มีผลบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9412/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรมเพื่อการเผื่อตาย แม้ไม่มีคำว่า 'เผื่อตาย' ก็มีผลบังคับใช้ได้
นอกจากหัวข้อด้านบนจะระบุว่าพินัยกรรมแล้ว ยังมีข้อความต่อไปว่า "ข้าพเจ้า อ. ขอแสดงเจตนาเพื่อทำพินัยกรรมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ที่ดินตาม ข้าพเจ้าขอยกให้แก่ แต่เพียงผู้เดียว" และ "ข้อกำหนดพินัยกรรมนี้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าทุกประการ" บุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่าอ. มีเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรมนั้น เมื่อ อ. ตายหาใช่มีเจตนายกให้ขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า"เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย" ถือได้ว่าอ. ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้แล้ว
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646มิใช่แบบของพินัยกรรมที่บังคับให้ต้องระบุข้อความกำหนดการเผื่อตายโดยต้องมีคำว่า "เผื่อตาย" ระบุไว้โดยชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9412/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรม: การระบุเจตนาเผื่อตายในพินัยกรรม และการตีความตามพจนานุกรม
พินัยกรรมคดีนี้นอกจากหัวข้อด้านบนจะระบุว่าพินัยกรรมแล้ว ยังมีข้อความต่อไปว่า "ข้าพเจ้า อ. ขอแสดงเจตนาเพื่อทำพินัยกรรมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ที่ดินตาม... ข้าพเจ้าขอยกให้แก่... แต่เพียงผู้เดียว" และ "ข้อกำหนดพินัยกรรมนี้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าทุกประการ" ถ้อยคำดังกล่าวบุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่า อ. มีเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรมนั้นเมื่อ อ. ตาย หาใช่มีเจตนายกให้ขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า "เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย" ดังนี้ จึงถือได้ว่า อ. ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้แล้ว
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 มิใช่แบบของพินัยกรรมที่บังคับให้ต้องระบุข้อความกำหนดการเผื่อตายโดยต้องมีคำว่า "เผื่อตาย" ระบุไว้โดยชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำเอกสารแสดงเจตจำนงไม่ใช่พินัยกรรม หากมีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้เชื่อใจและอยู่กินฉันสามีภริยา
ผู้ตายทำเอกสารมีข้อความในตอนต้นว่า"นายก.(หมายถึงผู้ตาย)สัญญากับนางด. (หมายถึงโจทก์)ว่าไม่มีลูกเมียนางด. จึงอยู่กินฉันสามีภริยาฯลฯถ้ามีลูกเมียเมื่อไหร่ยอมให้ยึดทรัพย์สินของข้าพเจ้าและของแม่ทั้งหมดฯลฯ"อันมีลักษณะเป็นการให้คำมั่นสัญญาแก่โจทก์ว่าผู้ตายไม่มีภริยาและบุตรซึ่งความจริงปรากฏว่าผู้ตายมีบุตรกับจำเลยอยู่ก่อนแล้วการที่ผู้ตายปิดบังความจริงและให้คำมั่นสัญญาแก่โจทก์พฤติการณ์เชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาเพียงเพื่อให้โจทก์หลงเชื่อและอยู่กินเป็นภริยาผู้ตายเท่านั้นหามีเจตนาให้ผูกพันในเรื่องทรัพย์สินไม่แม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความในตอนท้ายว่า"ฯลฯถ้าข้าพเจ้าตายทรัพย์สินทั้งหมดของข้าพเจ้าและของแม่ให้นางด. เป็นทายาทรับมรดกแต่ผู้เดียวฯลฯ"ก็มีเจตนาสืบเนื่องมาจากเหตุที่จะให้โจทก์หลงเชื่อจึงหามีผลสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมของพระภิกษุและทรัพย์สินในบัญชีธนาคาร: ข้อจำกัดและผลทางกฎหมายเมื่อพินัยกรรมไม่ครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมด
พินัยกรรมของพระภิกษุ ส.ผู้มรณณะ ระบุไว้ว่า บรรดาเงินที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในขณะนี้และที่จะมีขึ้นหรือได้มาในอนาคตซึ่งได้ฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ข.และ ค. เงินทั้งนี้ข้าพเจ้าขอยกให้แก่จำเลยศิษย์ของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏสมุดฝากเงินบัญชีเลขที่ 5106 และ 5459ที่พิพาทซึ่งเป็นเงินส่วนตัวของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะ และพินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นก่อนที่ผู้มรณะจะมีเงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับถึงเงินในบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนี้
จดหมายของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะฉบับแรกเป็นจดหมายธรรรมดาที่ผู้มรณะเขียนถึงจำเลย ตอนท้ายของจดหมายมีข้อความเพิ่มเติมเตือนให้จำเลยไปลงชื่อในสมุดฝากเงินที่ผู้มรณะฝากไว้ ไม่มีการสั่งการกำหนดการเผื่อตายที่จะเข้าแบบเป็นพินัยกรรม จึงไม่ใช่พินัยกรรม
ส่วนจดหมายฉบับที่สองมีข้อความว่า ลูกหมอ (จำเลย)ที่รักเวลานี้พ่อหลวง(พระภิกษุ ส.) ป่วยจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ยังรู้ไม่ได้เลย พ่อหลวงเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ ถ้าพ่อหลวงสิ้นลมหายใจลง โดยไม่มีหลักฐานอะไร เงินตกเป็นสงฆ์หมด พ่อหลวงไม่อยากให้เป็นของคนอื่น อยากให้เป็นของลูกหมอคนเดียว แต่ในสมุดเงินฝากต้องลงชื่อลูกหมอเบิกได้คนเดียว จึงจะเป็นหลักฐานมั่นคง สงกรานต์ปีนี้ ขอให้ลูกหมอไปลงชื่อในสมุดฝากให้จงได้ ถ้าไม่ไปจะเสียใจภายหลัง ฯลฯ จดหมายของผู้มรณะฉบับที่สองนี้เป็นเรื่องที่ผู้มรณะแจ้งให้จำเลยไปลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินธนาคารแม้ในตอนต้นของจดหมายได้มีข้อความว่า ผู้มรณะเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ผู้มรณะไม่อยากให้เป็นของคนอื่นก็ตาม แต่ผู้มรณะก็เพียงแต่เขียนแสดงความรู้สึกในใจว่า อยากให้เป็นของจำเลยคนเดียวเท่านั้น การที่พระภิกษุ ส.ใช้วิธีให้จำเลยมาลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินแสดงว่าผู้มรณะยังไม่ได้ยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้อความที่ผู้มรณะเขียนไว้เช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้มรณะยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อผู้มรณะได้ถึงแก่มรณภาพขณะเป็นพระภิกษุ เงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้มรณะที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้มรณะตามป.พ.พ.มาตรา 1623
of 6