พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมของพระภิกษุและทรัพย์สินในบัญชีธนาคาร: ข้อจำกัดและผลทางกฎหมายเมื่อพินัยกรรมไม่ครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมด
พินัยกรรมของพระภิกษุ ส.ผู้มรณณะ ระบุไว้ว่า บรรดาเงินที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในขณะนี้และที่จะมีขึ้นหรือได้มาในอนาคตซึ่งได้ฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ข.และ ค. เงินทั้งนี้ข้าพเจ้าขอยกให้แก่จำเลยศิษย์ของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏสมุดฝากเงินบัญชีเลขที่ 5106 และ 5459ที่พิพาทซึ่งเป็นเงินส่วนตัวของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะ และพินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นก่อนที่ผู้มรณะจะมีเงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับถึงเงินในบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนี้
จดหมายของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะฉบับแรกเป็นจดหมายธรรรมดาที่ผู้มรณะเขียนถึงจำเลย ตอนท้ายของจดหมายมีข้อความเพิ่มเติมเตือนให้จำเลยไปลงชื่อในสมุดฝากเงินที่ผู้มรณะฝากไว้ ไม่มีการสั่งการกำหนดการเผื่อตายที่จะเข้าแบบเป็นพินัยกรรม จึงไม่ใช่พินัยกรรม
ส่วนจดหมายฉบับที่สองมีข้อความว่า ลูกหมอ (จำเลย)ที่รักเวลานี้พ่อหลวง(พระภิกษุ ส.) ป่วยจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ยังรู้ไม่ได้เลย พ่อหลวงเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ ถ้าพ่อหลวงสิ้นลมหายใจลง โดยไม่มีหลักฐานอะไร เงินตกเป็นสงฆ์หมด พ่อหลวงไม่อยากให้เป็นของคนอื่น อยากให้เป็นของลูกหมอคนเดียว แต่ในสมุดเงินฝากต้องลงชื่อลูกหมอเบิกได้คนเดียว จึงจะเป็นหลักฐานมั่นคง สงกรานต์ปีนี้ ขอให้ลูกหมอไปลงชื่อในสมุดฝากให้จงได้ ถ้าไม่ไปจะเสียใจภายหลัง ฯลฯ จดหมายของผู้มรณะฉบับที่สองนี้เป็นเรื่องที่ผู้มรณะแจ้งให้จำเลยไปลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินธนาคารแม้ในตอนต้นของจดหมายได้มีข้อความว่า ผู้มรณะเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ผู้มรณะไม่อยากให้เป็นของคนอื่นก็ตาม แต่ผู้มรณะก็เพียงแต่เขียนแสดงความรู้สึกในใจว่า อยากให้เป็นของจำเลยคนเดียวเท่านั้น การที่พระภิกษุ ส.ใช้วิธีให้จำเลยมาลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินแสดงว่าผู้มรณะยังไม่ได้ยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้อความที่ผู้มรณะเขียนไว้เช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้มรณะยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อผู้มรณะได้ถึงแก่มรณภาพขณะเป็นพระภิกษุ เงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้มรณะที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้มรณะตามป.พ.พ.มาตรา 1623
จดหมายของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะฉบับแรกเป็นจดหมายธรรรมดาที่ผู้มรณะเขียนถึงจำเลย ตอนท้ายของจดหมายมีข้อความเพิ่มเติมเตือนให้จำเลยไปลงชื่อในสมุดฝากเงินที่ผู้มรณะฝากไว้ ไม่มีการสั่งการกำหนดการเผื่อตายที่จะเข้าแบบเป็นพินัยกรรม จึงไม่ใช่พินัยกรรม
ส่วนจดหมายฉบับที่สองมีข้อความว่า ลูกหมอ (จำเลย)ที่รักเวลานี้พ่อหลวง(พระภิกษุ ส.) ป่วยจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ยังรู้ไม่ได้เลย พ่อหลวงเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ ถ้าพ่อหลวงสิ้นลมหายใจลง โดยไม่มีหลักฐานอะไร เงินตกเป็นสงฆ์หมด พ่อหลวงไม่อยากให้เป็นของคนอื่น อยากให้เป็นของลูกหมอคนเดียว แต่ในสมุดเงินฝากต้องลงชื่อลูกหมอเบิกได้คนเดียว จึงจะเป็นหลักฐานมั่นคง สงกรานต์ปีนี้ ขอให้ลูกหมอไปลงชื่อในสมุดฝากให้จงได้ ถ้าไม่ไปจะเสียใจภายหลัง ฯลฯ จดหมายของผู้มรณะฉบับที่สองนี้เป็นเรื่องที่ผู้มรณะแจ้งให้จำเลยไปลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินธนาคารแม้ในตอนต้นของจดหมายได้มีข้อความว่า ผู้มรณะเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ผู้มรณะไม่อยากให้เป็นของคนอื่นก็ตาม แต่ผู้มรณะก็เพียงแต่เขียนแสดงความรู้สึกในใจว่า อยากให้เป็นของจำเลยคนเดียวเท่านั้น การที่พระภิกษุ ส.ใช้วิธีให้จำเลยมาลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินแสดงว่าผู้มรณะยังไม่ได้ยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้อความที่ผู้มรณะเขียนไว้เช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้มรณะยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อผู้มรณะได้ถึงแก่มรณภาพขณะเป็นพระภิกษุ เงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้มรณะที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้มรณะตามป.พ.พ.มาตรา 1623
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4043/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมทำเองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีพยาน และมีข้อความระบุผู้รับมรดกชัดเจน
ผู้ตายเป็นผู้เขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 โดยหาจำต้องมีพยานพินัยกรรมไม่ ข้อความในบันทึกของผู้ตายมีว่า "ถ้าหากช่วงต่อไปฉันมีอันที่จะต้องตายจากไป ฉันมีทรัพย์สินทั้งหมดที่เห็น ๆ อยู่นี้ ฯลฯในใจจริงนั้นคิดจะยกให้กับต่าย ผู้ซึ่งเป็นลูกสาวของน้าสาวคนเล็กซึ่งฉันเห็นว่าเขาเป็นผู้มีสติปัญญาที่ดี ฉันเพียงแต่คิดว่าฉันจะควรที่ฉันจะยกข้าวของซึ่งเป็นของฉันให้ต่าย ฯลฯ ส่วนข้าวของอย่างอื่นก็แล้วแต่บรรดาญาติจะเห็นสมควรจะให้อะไรแก่เด็กเหล่า บ้างฯลฯ (ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ ขอยกเว้นไม่มีการแบ่งให้กับแม่และลูก ๆของแม่ทุกคนโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น) ในข้อความทั้งหมดที่เขียนมานี้ ฉันมีสติดีทุกประการ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากฉันเองก็ขอให้ถือว่านี้คือการสั่งเสีย ฯลฯ แล้วลงชื่อ น.ส.ยุพินฉัตรพงศ์เจริญ(พิน)" ซึ่งตามบันทึกดังกล่าวมีข้อความว่าเมื่อผู้เขียนตายไปทรัพย์สินของตนให้แก่ใครบ้าง มีใครบ้างที่ไม่ยอมให้และลงท้ายด้วยว่ามีสติดี จึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามมาตรา 1646,1647 แล้ว หาใช่บันทึกบรรยายความคิดความรู้สึกในใจเท่านั้นไม่ ผู้คัดค้านฎีกาในข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีเพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านที่ 1 บรรยายคำคัดค้านไว้แล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับพินัยกรรมและมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงไม่จำต้องแนบพินัยกรรมมาท้ายคำคัดค้านด้วย การที่คำคัดค้านระบุว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านที่ 1เพียงผู้เดียว แต่ชั้นพิจารณาได้ความตามพินัยกรรมว่า ทรัพย์สินรายการที่ 1 เจ้ามรดกได้ทำสัญญาจะขายให้บุคคลภายนอก เงินที่ได้ยกให้กับผู้คัดค้านที่ 1 ส่วนหนึ่ง กับยกให้ ส. อีกส่วนหนึ่งส่วนทรัพย์รายการที่ 2 ตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด เช่นนี้เป็นเรื่องพยานหลักฐานที่นำสืบได้ความไม่เต็มบริบูรณ์ตามคำคัดค้านและก็ยังได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอยู่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ที่อ้างเทปบันทึกเสียงเป็นพยานจะต้องถอดข้อความในเทปออกมา หรือต้องนำเทปมาเปิดในขณะพิจารณาคดีของฝ่ายที่อ้างเองหรือฝ่ายตรงข้าม เพราะการนำสืบเสียงพูดเป็นการนำสืบวัตถุพยาน พินัยกรรมฉบับหลังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์มรดกรายเดียวกับที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับก่อนเท่านั้น มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1697 สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับก่อนจึงระงับ ส่วนข้อกำหนดในการตั้งผู้จัดการมรดกยังคงมีผลอยู่แต่ตามพินัยกรรมระบุให้ผู้ร้อง ด.และช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ถ้าผู้ใดตาย ให้ผู้มีชีวิตอยู่ดำเนินการแทน ดังนั้นเมื่อด.ตายผู้ร้องต้องร่วมกับช. จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งเฉพาะผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงขัดต่อเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก และเมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกด้วยเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใด ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมและไม่มีส่วนได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกจึงเหมาะสม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดการเผื่อตายในพินัยกรรมรวมถึงทรัพย์สินที่จะได้มาในอนาคต และการยักย้ายทรัพย์มรดก
การทำพินัยกรรมอาจกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะได้มาในอนาคตได้ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าผู้ตายยกให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ดังนั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ได้มาภายหลังผู้ตายทำพินัยกรรมก็ย่อมตกเป็นของจำเลยตามพินัยกรรมดังกล่าวด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสามารถยกทรัพย์สินในอนาคตได้ และมีผลเหนือสิทธิทายาทโดยธรรม
การทำพินัยกรรมอาจกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะได้มาในอนาคตได้ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าผู้ตายยกให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ดังนั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ได้มาภายหลังผู้ตายทำพินัยกรรมก็ย่อมตกเป็นของจำเลยตามพินัยกรรมดังกล่าวด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมครอบคลุมทรัพย์สินในอนาคต ทายาทโดยธรรมอื่นไม่มีสิทธิ
การทำพินัยกรรมอาจกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะได้มาในอนาคตได้ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าผู้ตายยกให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ดังนั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ได้มาภายหลังผู้ตายทำพินัยกรรมก็ย่อมตกเป็นของจำเลยตามพินัยกรรมดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม: การกำหนดการเผื่อตาย, สำเนาพินัยกรรมใช้ได้เมื่อต้นฉบับหาย, ไม่ต้องลงชื่อผู้เขียน
ข้อความในเอกสารระบุไว้ว่าขอทำพินัยกรรม ถือได้ว่าเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรม เมื่อต้นฉบับพินัยกรรมหาย คู่ความนำสำเนาที่ถูกต้องมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ลงชื่อผู้เขียนพินัยกรรมลงในพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ถ้อยคำ 'ขอทำพินัยกรรมไว้' ถือเป็นการกำหนดการเผื่อตายได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย และสิทธิผู้รับมรดก
การที่ผู้ทำพินัยกรรมใช้ถ้อยคำว่า 'ขอทำพินัยกรรมไว้' ในพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น ถือว่าเป็นการกำหนดการเผื่อตายไว้แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1647
เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมแต่ผู้เดียวผู้คัดค้านไม่มีส่วนได้เสียในมรดกตามพินัยกรรมนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก
เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมแต่ผู้เดียวผู้คัดค้านไม่มีส่วนได้เสียในมรดกตามพินัยกรรมนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมและคำนิยาม 'หลาน' ในบริบทของมรดกเมื่อเจ้ามรดกไม่มีบุตร
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ. ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง 2. สวน 1 แปลง 3. เรือน1 หลัง 4. วัว 2 ตัว ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป" เช่นนี้ เมื่อ ผ. เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่า หลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2)(อ้างฎีกาที่ 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่ จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใดจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว และพิพากษาคดีใหม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่ จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใดจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว และพิพากษาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้รับมรดกในพินัยกรรมโดยใช้คำว่า 'หลาน' และการแสดงเจตนาทำพินัยกรรม
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ... ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง ...... 2. สวน 1 แปลง...... 3. เรือน 1 หลัง..... 4. วัว 2 ตัว..... ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป...." เช่นนี้ เมื่อ ผ.เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่าหลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2) (อ้างฎีกา 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใด จะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาคดีใหม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใด จะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาคดีใหม่ได้