คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1647

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์สินระหว่างชีวิต ไม่ใช่พินัยกรรม หากไม่มีเจตนาให้มีผลบังคับใช้เมื่อเสียชีวิต
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้น การที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้วจะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์ระหว่างผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิต ไม่ถือเป็นพินัยกรรมบังคับใช้หลังเสียชีวิต จำเลยมีสิทธิปฏิเสธได้
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้นการที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้ว จะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่นไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการ
เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ และมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ อ.เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกดังกล่าวไม่มีผลบังคับด้วยประการใด ๆประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้ายบัญญัติให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ดังนั้นแม้ผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่นไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดก
เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ และมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ อ.เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกดังกล่าวไม่มีผลบังคับด้วยประการใด ๆประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ดังนั้น แม้ผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย: การพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยานและเจตนาในการยกทรัพย์
ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในช่องที่เขียนว่า"ผู้มอบพินัยกรรม" และมีลายมือชื่อลงไว้ในช่อง "พยาน" 2 คนส่วนอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อในช่อง "พยาน" และ"ผู้เขียน" ตอนท้ายของพินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้วว่าผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานทั้งหมด ในพินัยกรรมซึ่งอยู่ต่อหน้าพร้อมกันในขณะทำพินัยกรรมอยู่แล้ว ไม่จำต้องระบุไว้อีกว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า" ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า"เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรมเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์: การพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน และเจตนายกทรัพย์เมื่อเสียชีวิต
ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในช่องที่เขียนว่า"ผู้มอบพินัยกรรม" และมีลายมือชื่อลงไว้ในช่อง "พยาน" 2 คน ส่วนอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อในช่อง "พยาน" และ"ผู้เขียน" ตอนท้ายของพินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้วว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานทั้งหมดในพินัยกรรมซึ่งอยู่ต่อหน้าพร้อมกันในขณะทำพินัยกรรมอยู่แล้ว ไม่จำต้องระบุไว้อีกว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า "ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า "เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรม เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดผู้รับมรดกที่เป็นหลานในพินัยกรรม ต้องสามารถระบุตัวผู้รับได้แน่นอน
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีข้อกำหนดว่า หากข้าพเจ้าถึงแก่กรรมทรัพย์มรดกทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนี้หรือจะเกิดมีขึ้นในอนาคต ให้ ส. เป็นผู้จัดการมรดกและรวบรวมเอาจัดการศพและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพเจ้าตามสมควร ส่วนที่เหลือนอกนั้นให้จัดการแบ่งปันแก่หลานๆ ของข้าพเจ้า นั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้ามรดกไม่มีลูก และเจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 3 คน คือ ป. ผ. และ ท. โดยเจ้ามรดกเป็นคนสุดท้อง ฉะนั้น หลานตามข้อกำหนดในพินัยกรรมจึงหมายถึงลูกของพี่ของเจ้ามรดกดังกล่าวที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ เป็นผู้รับพินัยกรรม ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์สินระหว่างมีชีวิต ไม่ใช่พินัยกรรม
เอกสารที่ผู้ตายทำไว้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นพินัยกรรมหรือแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินว่า ให้เกิดผลบังคับเมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วเลยแม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่า 'เวลาทำหนังสือฉบับนี้มีสติสัมปชัญญะดีเป็นปกติดี' ก็ดี หรือ 'ขอเจตนาครั้งสุดท้าย' ก็ดีก็หาทำให้แปลความได้ว่าผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์ของตนให้เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วไม่. ข้อความในตอนท้ายของเอกสารที่ว่า 'ข้าพเจ้าขอยกให้ (ระบุชื่อผู้รับ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป'กลับแสดงแจ้งชัดว่าผู้ตายเจตนาที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับทันทีในระหว่างที่ตนยังมีชีวิต เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่พินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์ให้มีผลทันที ไม่ใช่พินัยกรรมที่บังคับใช้เมื่อเสียชีวิต
เอกสารที่ผู้ตายทำไว้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นพินัยกรรมหรือแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการ กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินว่า ให้เกิดผลบังคับเมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วเลยแม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่า 'เวลาทำหนังสือฉบับนี้มีสติสัมปชัญญะดีเป็นปกติดี' ก็ดี หรือ 'ขอเจตนาครั้งสุดท้าย' ก็ดีก็หาทำให้แปลความได้ว่าผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์ของตนให้เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วไม่ ข้อความในตอนท้ายของเอกสารที่ว่า 'ข้าพเจ้าขอยกให้ (ระบุชื่อผู้รับ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป'กลับแสดงแจ้งชัดว่าผู้ตายเจตนาที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับทันทีในระหว่างที่ตนยังมีชีวิต เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่พินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกบางส่วน ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาที่จะเป็นพินัยกรรมได้ จะต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง. คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของบุคคลนั้น. และในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย.
เจ้ามรดกมีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตร. แจ้งให้ทราบว่าตนทำพินัยกรรมลับไว้ที่อำเภอในหนังสือระบุว่า. ห้ามมิให้จำเลยขายที่นา. และห้ามมิให้จำเลยออกเงินส่วนตัวทำศพเจ้ามรดก. มิให้นาตกเป็นของจำเลย. ให้แบ่งนาให้โจทก์คนละ 5 ไร่. เหลือจากแบ่งห้ามมิให้จำเลยขายเอาเงินทำศพเจ้ามรดก. และไม่ให้นาส่วนที่เหลือตกเป็นของจำเลย. เงินสด 10,000 บาท. ถ้าทำศพเจ้ามรดกแล้วมีเงินเหลือมอบให้โจทก์ไป. ให้โจทก์เป็นผู้เก็บค่าเช่านา.ตอนท้ายของหนังสือมีความต่อไปว่า. ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามจดหมายนี้. ก็ให้โจทก์ไปร้องเรียนนายอำเภอ. ขอให้นายอำเภอถอนพินัยกรรมลับด้วย. ดังนี้ เอกสารหนังสือของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรม. และเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657. เพราะเจ้ามรดกเขียนเองทั้งฉบับ. มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมลับของเจ้ามรดกซึ่งทำไว้ฉบับแรกบางส่วนตามมาตรา 1694.
คดีที่มีจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย. จำเลยจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่. เพราะกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี. จำเลยมีสิทธิยกอายุความ 5 ปีนี้เท่านั้นขึ้นต่อสู้โจทก์.
จำเลยมิใช่บุคคลภายนอก. แต่เป็นผู้จัดการมรดก. ต้องถือว่าจำเลยยึดถือที่นามรดกไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท. จำเลยจะอ้างสิทธิว่าได้แย่งการครอบครองจากโจทก์มิได้. จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้.
of 6