พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ: การวินิจฉัยความถูกต้องและผลบังคับใช้
แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่าหนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ โดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เอง ปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ: การพิจารณาความถูกต้องและผลบังคับใช้
แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่า หนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ โดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เอง ปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรม แบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก, เหตุถอนผู้จัดการมรดก, และการชี้ขาดโดยศาล
คดีนี้ ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันทรัพย์มรดก ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่า สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4 และข้อ 6 มีเงื่อนไขบังคับก่อนให้ทายาททุกคนที่เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความและผู้ที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญาต้องเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายร่วมกับทายาทอื่นในการจดทะเบียนโอนที่ดิน และตามข้อ 6 ศ. ต้องออกค่าใช้จ่ายในการรับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ แต่ทายาททุกคนรวมทั้ง ศ. ไม่ออกค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน ผู้ร้องจึงไม่อาจทำหน้าที่แบ่งมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4 ถึงข้อ 6 ได้ ทั้งผู้คัดค้านไม่ยอมรับโอนที่ดินส่วนของตนและได้อายัดที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นเวลา 30 วัน แต่ไม่ใช้สิทธิทางศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานที่ดินจึงเพิกถอนการอายัด ทนายผู้ร้องมีหนังสือลงวันที่ 3 ธันวาคม 2557 แล้วให้ผู้คัดค้านไปรับโอนที่ดิน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องได้พยายามดำเนินการแบ่งปันมรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกแล้ว กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านจะเป็นทายาท ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งของกองมรดก แต่การมอบหน้าที่ให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกเพียงคนเดียวอาจกระทบถึงสิทธิของทายาทคนอื่นของกองมรดกได้ ดังนั้น หากผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่อาจร่วมกันจัดการมรดกของผู้ตายได้ ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านหรือผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ หรือหากฝ่ายใดกระทำผิดหน้าที่หรือละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ อีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้เช่นกัน รวมทั้งทายาทคนอื่นก็สามารถยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลจ้าวไม่ใช่ทรัพย์มรดก การจัดการศาลจ้าวไม่ถือเป็นการปันมรดก ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการได้
การร้องขอถอนผู้จัดการมรดกก่อนปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 เป็นเรื่องอำนาจฟ้องหรืออำนาจยื่นคำร้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐเป็นเจ้าของหรือผู้ปกปักรักษาตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ออกตามความใน พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 123 เป็นกุศลสถานสำหรับมหาชนแม้ผู้ตายจะเป็นผู้ดูแลขณะมีชีวิต ก็หาทำให้ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วตลอดทั้งทรัพย์สินและผลประโยชน์ของศาลจ้าวนั้นเป็นมรดกของผู้ตายอันจะตกแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ที่ผู้ตายจะกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สินในพินัยกรรมได้ แม้จะกำหนดไว้ในพินัยกรรมก็ไม่มีผลบังคับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646
ผู้ตายเป็นผู้จัดการปกครองดูแลศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วจะต้องมีคุณสมบัติตามกฎเสนาบดีฯ ข้างต้น ซึ่งเป็นการประกอบกิจการอาชีพอันเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ย่อมไม่เป็นมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 อันจะตกแก่ทายาทตาม มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง
ตามพินัยกรรมที่ผู้ตายทำเมื่อไม่มีทรัพย์สินที่ตามพินัยกรรมที่จะปันแก่ทายาท และทรัพย์สินนอกพินัยกรรมของผู้ตายก็ไม่มีแล้ว การจัดการมรดกของผู้ตายโดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมเสร็จสิ้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐเป็นเจ้าของหรือผู้ปกปักรักษาตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ออกตามความใน พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 123 เป็นกุศลสถานสำหรับมหาชนแม้ผู้ตายจะเป็นผู้ดูแลขณะมีชีวิต ก็หาทำให้ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วตลอดทั้งทรัพย์สินและผลประโยชน์ของศาลจ้าวนั้นเป็นมรดกของผู้ตายอันจะตกแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ที่ผู้ตายจะกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สินในพินัยกรรมได้ แม้จะกำหนดไว้ในพินัยกรรมก็ไม่มีผลบังคับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646
ผู้ตายเป็นผู้จัดการปกครองดูแลศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วจะต้องมีคุณสมบัติตามกฎเสนาบดีฯ ข้างต้น ซึ่งเป็นการประกอบกิจการอาชีพอันเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ย่อมไม่เป็นมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 อันจะตกแก่ทายาทตาม มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง
ตามพินัยกรรมที่ผู้ตายทำเมื่อไม่มีทรัพย์สินที่ตามพินัยกรรมที่จะปันแก่ทายาท และทรัพย์สินนอกพินัยกรรมของผู้ตายก็ไม่มีแล้ว การจัดการมรดกของผู้ตายโดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมเสร็จสิ้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีจัดการมรดก: อำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายและการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ
ป.วิ.พ. มาตรา 24 มิใช่บทบังคับให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำขอของคู่ความทุกเรื่อง ถ้าเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ขอหรือคดีจำเป็นต้องดำเนินการพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมีอำนาจใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งให้รอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษาได้
ในการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องครั้งแรกในศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีและประเด็นในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นครั้งแรกเป็นเรื่องผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นครั้งหลังเป็นเรื่องสมควรถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ว่า เมื่อมีเหตุอันสมควร ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ เมื่อผู้คัดค้านร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอ้างว่าพินัยกรรมปลอมแต่ผู้ร้องคัดค้านคำร้องขอของผู้คัดค้าน ดังนี้ คำร้องขอของผู้คัดค้านและคำคัดค้านของผู้ร้อง จึงเป็นคำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท ซึ่งแตกต่างจากประเด็นในการพิจารณาครั้งแรก จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ในการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องครั้งแรกในศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีและประเด็นในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นครั้งแรกเป็นเรื่องผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นครั้งหลังเป็นเรื่องสมควรถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ว่า เมื่อมีเหตุอันสมควร ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ เมื่อผู้คัดค้านร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอ้างว่าพินัยกรรมปลอมแต่ผู้ร้องคัดค้านคำร้องขอของผู้คัดค้าน ดังนี้ คำร้องขอของผู้คัดค้านและคำคัดค้านของผู้ร้อง จึงเป็นคำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท ซึ่งแตกต่างจากประเด็นในการพิจารณาครั้งแรก จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12752/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ร้องขอถอนผู้จัดการมรดกย่อมเป็นคำร้องที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
กิจการโรงเรียน ป. นั้น เป็นเพียงการงานอาชีพของผู้ตายและผู้ร้องที่ร่วมประกอบกิจการเท่านั้น อันเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้และไม่ตกทอดเป็นมรดกอันจะต้องมาแบ่งปันกัน ส่วนอาคารของโรงเรียนซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินตามเอกสารหมาย ร.6 หรือ ค.4 ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมก็รับโอนมาแล้ว การที่ผู้ร้องนัดประชุมเพื่อตั้งมูลนิธิหรือจดทะเบียนโรงเรียนเป็นนิติบุคคลตามที่ผู้ตายเคยสั่งเสียด้วยวาจาก่อนตายก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำพินัยกรรมแบบทำด้วยวาจาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1663 เนื่องจากไม่มีพฤติการณ์พิเศษอันเป็นเงื่อนไขของบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อคู่คัดค้านมายื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องหลังการปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว จึงต้องห้ามตามมาตรา 1727
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยื่นคำร้องถอนผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุตามกฎหมาย และต้องเกิดขึ้นหลังครบกำหนดเวลาที่ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งอ้างเหตุเพียงประการเดียวว่า ผู้ร้องไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในเวลาอันสมควร ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1732 บัญญัติว่า "ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีและแบ่งปันมรดกให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728" แสดงว่า ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการแบ่งปันมรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี หากไม่ดำเนินการในเวลาดังกล่าวอาจถูกศาลถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายในหนึ่งปี การที่ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกก่อนที่จะครบกำหนดเวลาหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1732 ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องกระทำผิดหน้าที่ไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดอันจะเป็นเหตุให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และจะถือว่าผู้ร้องไม่มีความสามารถตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 (2) อันจะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ผู้คัดค้านยื่นร้องขอ จึงยังไม่มีเหตุตามคำร้องขอ ที่จะถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือจำต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาผู้ร้องยังไม่แบ่งทรัพย์มรดกก็เป็นเหตุการณ์ภายหลังอันจะถือว่าเป็นเหตุตามคำร้องขอหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5374/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอถอนผู้จัดการมรดกก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้น และการไต่สวนคำร้อง
คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนระบุว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกทำให้ทายาทอื่นที่จะได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกได้รับความเสียหายโดยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านเป็นทำนองปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เนื้อหาตามคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 จึงแสดงรายละเอียดชัดเจนแล้วว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้มายื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจำต้องไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อฟังพยานหลักฐานจากผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องให้ครบถ้วนกระบวนความเสียก่อนว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามคำร้องขอหรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ดังกล่าวหรือไม่ รวามทั้งผู้ร้องได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบังคับไว้ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1728 ถึง 1733 ซึ่งถือเป็นสาเหตุอย่างอื่นที่ศาลอาจเห็นว่าเป็นเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียก็ได้หรือไม่ โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเคยยื่นคำร้องขอแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดไปแล้วหรือไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 เป็นการเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการมรดกร่วมได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของทายาท
แม้การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และมาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุดและให้สมดังเจตนาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพิเคราะห์ดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อฟังว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายที่ถูกปิดบังเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุอย่างอื่นอันสมควรที่ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งได้แล้ว
นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน
นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9929/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก แม้มีพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้อื่น
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายและศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกกของผู้ตายแล้ว การที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 แต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้เรียกร้องให้ผู้ร้องแบ่งทรัพย์มรดกให้ผู้คัดค้านแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และได้ความว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย แม้หากจะฟังว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องก็ยังคงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ จึงไม่มีเหตุอย่างอื่นที่สมควรจะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย