พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตพินัยกรรมจำกัดเฉพาะทรัพย์สินในต่างประเทศ ผู้จัดการมรดกไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ จ. โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ในพินัยกรรมมีการกรอกข้อความในช่องทรัพย์สินระบุเฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งหลังคำว่าอื่น ๆ ก็เว้นว่างไว้ แสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินเฉพาะที่ระบุในพินัยกรรมให้ จ. เท่านั้น ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามคำสั่งศาลสูงของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ถอนผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกในประเทศไทยของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่ละเลยหน้าที่และโอนทรัพย์สินโดยมิชอบ ทายาทมีสิทธิขอถอนผู้จัดการและแบ่งมรดก
จำเลยอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังตามข้อต่อสู้ไม่ได้ เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 851หมายความรวมถึงการต่อสู้คดีด้วยไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ตาม จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกเป็นของตนเอง เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการมรดกไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาท อันมีเหตุที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการตามมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 โจทก์ในฐานะทายาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การถอนผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851ซึ่งรวมถึงการต่อสู้คดีด้วย เมื่อจำเลยสู้ว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังไม่ได้ ไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยโอนทรัพย์มรดกเป็นของตน เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายเป็นเหตุสมควรจะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และเมื่อโจทก์เป็นบุคคลไม่ต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย ก็สมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกและการใช้บทบัญญัติเรื่องอายุความในคดีมรดก
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1727บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นกรณีมิใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดก หรือคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1733 ที่จะนำอายุความตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอได้ แม้ไม่มีคดีแบ่งมรดก และอายุความคดีไม่ขาด
การร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติบังคับว่า ผู้มีส่วนได้เสียจะต้องร้องขอเข้ามาในคดีเดิม คือในคดีที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้จะไม่มีการฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกด้วย ผู้ร้องก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีเดิมได้
ข้อคัดค้านที่ว่าผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสีย ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก เป็นของผู้คัดค้านซื้อมา ผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน ไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ส่วนปัญหาที่ว่าผู้คัดค้านจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทเป็นของตนเองหมดแล้ว การจัดการมรดกเสร็จแล้ว แม้ผู้คัดค้านจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยและผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่มีประเด็นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ปัญหาข้างต้นจึงถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรน์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1727 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงเท่านั้น มิใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกหรือคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก จึงจะนำอายุความฟ้องคดีมรดกและคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1733 มาใช้บังคับหาได้ไม่
ข้อคัดค้านที่ว่าผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสีย ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก เป็นของผู้คัดค้านซื้อมา ผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน ไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ส่วนปัญหาที่ว่าผู้คัดค้านจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทเป็นของตนเองหมดแล้ว การจัดการมรดกเสร็จแล้ว แม้ผู้คัดค้านจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยและผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่มีประเด็นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ปัญหาข้างต้นจึงถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรน์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1727 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงเท่านั้น มิใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกหรือคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก จึงจะนำอายุความฟ้องคดีมรดกและคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1733 มาใช้บังคับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดก: บุตรทายาทลำดับที่หนึ่งมีสิทธิมากกว่าน้องร่วมบิดามารดา
ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย เป็นทายาทลำดับที่หนึ่ง ทายาทอื่นของผู้ตายก็ให้ความยินยอมและไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย เป็นทายาทลำดับถัดไปไม่มีสิทธิและส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ มีเหตุสมควรถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องของผู้คัดค้านเป็นการเพิ่มชื่อและนามสกุลของผู้ตายที่มีหลายชื่อและหลายนามสกุล เป็นเพียงรายละเอียดเล็กน้อย แม้ผู้คัดค้านจะไม่ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องก็อาจนำสืบถึงความข้อนี้ในชั้นพิจารณาได้อยู่แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมอนุญาตให้แก่ไขได้โดยไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ร้องทราบล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก, สิทธิหน้าที่ของผู้จัดการมรดก, และการส่งมอบเอกสารบัญชีทรัพย์มรดก
สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลเป็นสิทธิโดยชอบของบุคคลตามกฎหมายในเมื่อสิทธิของตนถูกโต้แย้งหรือมีกรณีจะต้องใช้สิทธิทางศาลการที่พินัยกรรมมีข้อกำหนดห้ามทายาทผู้ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับทรัพย์ตามพินัยกรรม มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้นั้นถูกตัดออกจากกองทรัพย์สินนั้น เช่นนี้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงไม่เป็นการกระทำที่ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก การฟ้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกใหม่นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 มิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องร้องเข้ามาในคดีเดิม ดังนั้น โจทก์จึงอาจฟ้องเป็นคดีใหม่หรือร้องเข้ามาในคดีเดิมก็ได้ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล จึงมีหน้าที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ยังไม่มีการแบ่งปันมรดกให้ทายาทเลย อีกทั้งยังได้จำหน่ายทรัพย์มรดกบางส่วนไปโดยมิได้ประชุมปรึกษาทายาท รวมทั้งไม่มีบัญชีแสดงให้ทายาททราบถึงการที่ได้จัดการไป และหลังจากที่ได้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วถึง 4 ปีเศษจึงได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดก แสดงว่าจำเลยไม่นำพาต่อหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1729 และ 1732 จึงมีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียข้อคัดค้านของจำเลยที่จะไม่ให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เจ้ามรดกทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เมื่อโจทก์ที่ 1 ถอนฟ้อง ส่วนผู้ร้องสอดที่ 1 ถูกโต้แย้งว่า ได้นำทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งไปจำหน่าย ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 มีข้อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก กรณีเห็นได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ไม่อาจเข้าร่วมจัดการเพื่อประโยชน์ของกองมรดกโดยไม่มีข้อขัดแย้งได้ ตามพฤติการณ์จึงไม่อาจตั้งผู้ร้องสอดที่ 1ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกกับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยส่งมอบบัญชีทรัพย์มรดกที่จำเลยทำขึ้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกให้ผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามพินัยกรรม หากผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย อำนาจจะสิ้นสุดลง
ศาลมีคำสั่งตั้ง จ. ม. และ ท. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม ซึ่งตามพินัยกรรมข้อ 4 กำหนดไว้ว่า ในการจัดการมรดกนั้นให้ผู้จัดการมรดกจัดการร่วมกัน ดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก จึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมคือต้องจัดการร่วมกัน ถ้า ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งคนใดตาย ไปคนที่เหลืออยู่ย่อมไม่มีอำนาจจะจัดการมรดกต่อไป ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกเดิม คือ จ. ม.และ ท. เสียแล้วตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแทน ข้อเท็จจริงปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาว่า ม. และ ท.ถึงแก่ความตาย แล้ว จ. จึงไม่มีอำนาจจัดการมรดกรายนี้อีกต่อไปและผู้ร้องไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนผู้จัดการมรดกอีก ดังนี้ไม่มีเหตุที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องต่อไป ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต หากมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่รักษาผลประโยชน์ทายาท ศาลมีอำนาจถอดถอนได้
จำเลยเป็นผู้รับมรดกของ ย. ตามพินัยกรรม ย่อมมีส่วนได้เสียที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ได้ เมื่อจำเลยมีสิทธิได้รับที่ดินของ ย. เพียง 30 ไร่ แต่จำเลยครอบครองทำนาอยู่ 130 ไร่ จำเลยไม่เคยทำบัญชีทรัพย์แจ้งให้ญาติพี่น้องทราบ ทั้งยังเคยฟ้องโจทก์ว่าลักข้าวของจำเลย และเหตุที่จำเลยนำคดีต่าง ๆ มาฟ้อง เพราะจำเลยประสงค์จะได้ที่ดินมากกว่าที่มีสิทธิ จำเลยจึงได้ชื่อ ว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อตัวการและมิได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอันควรแก่การไว้วางใจของทายาท สมควรที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอน/ตั้งผู้จัดการมรดกจากพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กุศล และสิทธิในการนำสืบพยาน
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีพยานระบุว่าพินัยกรรมของผู้ตายอยู่ที่ผู้ร้อง และได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกคำสั่งเรียกพินัยกรรมดังกล่าวจากผู้ร้อง 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกให้ตามขอวันนัดไต่สวนพยานผู้คัดค้าน ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องไม่เคยมีพินัยกรรมของผู้ตายไว้ในครอบครอง ดังนี้จึงเป็นเรื่องหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกต้นฉบับพินัยกรรมของผู้ตายจากผู้ร้อง อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานไม่ได้ไว้ก่อนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรม การนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรม การนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน