คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1727

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอดถอนผู้จัดการมรดก และสิทธิผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
ผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีในการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องครั้งแรกฝ่ายเดียว และประเด็นในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นครั้งแรกเป็นเรื่องผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนประเด็นครั้งหลังเป็นเรื่องสมควรถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ซึ่งแตกต่างกัน ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เมื่อมีเหตุอันสมควรศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
ผู้ร้องร่วมดูแลจัดการในบ้านของผู้ตายหลายประการ ผู้ร้องเป็นภรรยาผู้ตาย อยู่กินกับผู้ตายมานาน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ครั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านได้ทราบแล้วไม่คัดค้าน จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยชอบแล้ว ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ภรรยาผู้ตาย มิได้ร่วมจัดการทรัพย์สินกับผู้ตาย ก็รับฟังไม่ได้ ทั้งทายาทโดยธรรมอื่นเช่นเดียวกับผู้คัดค้านก็เห็นว่าควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: หน้าที่ผู้จัดการมรดก & เหตุผลสมควรในการไม่ปฏิบัติตาม
แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกจากธนาคารก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องย่อมไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้ การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารไม่ใช่เหตุที่จะอ้างไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเพราะเหตุดังกล่าว จึงไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเป็นบุตรเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องเป็นมารดาผู้คัดค้านและเป็นภริยาเจ้ามรดก และทุกฝ่ายทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง การที่ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องมีเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก ส่วนเรื่องผู้ร้องไม่เรียกประชุมทายาท ก็ปรากฏว่าทายาทของเจ้ามรดกบางคนอยู่ต่างประเทศบางคนอยู่ต่างจังหวัดจึงเป็นการยากที่จะจัดประชุมทายาท ดังนั้น ที่ผู้ร้องไม่จัดประชุมทายาทเพราะเหตุดังกล่าวมา จึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และแม้ผู้ร้องจะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามที่ป.พ.พ.มาตรา 1728 และ 1729 บัญญัติไว้ก็ตาม แต่มาตรา 1731 ก็ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า มีเหตุสมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ซึ่งตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่อย่างไร และศาลจะพิจารณาถอนผู้จัดการมรดกเมื่อใด
แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกจากธนาคารก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องย่อมไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารไม่ใช่เหตุที่จะอ้างไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเป็นบุตรเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องเป็นมารดาผู้คัดค้านและเป็นภริยาเจ้ามรดกและทุกฝ่ายทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง การที่ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องมีเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก ส่วนเรื่องผู้ร้องไม่เรียกประชุมทายาทก็ปรากฏว่าทายาทของเจ้ามรดกบางคนอยู่ต่างประเทศบางคนอยู่ต่างจังหวัดจึงเป็นการยากที่จะจัดประชุมทายาทดังนั้น ที่ผู้ร้องไม่จัดประชุมทายาทเพราะเหตุดังกล่าวมาจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และแม้ผู้ร้องจะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728 และ 1729บัญญัติไว้ก็ตาม แต่มาตรา 1731 ก็ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า มีเหตุสมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ซึ่งตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกที่มีข้อขัดแย้ง ศาลมีอำนาจตั้งผู้จัดการมรดกร่วมเพื่อความเป็นธรรม
ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย เพราะ ผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดก และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้ง ผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้ ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วแม้ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่า การจัดการมรดก อาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็น ผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาล จะตั้ง ช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช. มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกัน จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกร่วมเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม
ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายนั้น เพราะผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดก และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้
ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมายื่นคำร้องขอให้ตั้ง ฮ.เป็นผู้จัดพการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่าการจัดการมรดกอาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาลจะตั้ง ช.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช.มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกันจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งมรดกโดยเปิดเผย และการไม่สมควรเพิกถอนผู้จัดการมรดก
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้รับการจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกมาเป็นชื่อของจำเลย และจำเลยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากของเจ้ามรดกนำมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้วนำเงินมรดกดังกล่าวบริจาคให้วัด กับสร้างโบสถ์และ ซื้อที่ดินให้วัดอันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดกเพื่อ จัดแบ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ส่วนการบริจาคเงินมรดกก็เป็นการจัดการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกยินยอมไม่คัดค้าน และจำเลยได้จัดการ มรดกในลักษณะที่เปิดเผย ทั้งจำเลยได้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วและจะแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกอื่นให้อีก โดยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ยอม ไปจดทะเบียนรับโอนเพราะยังไม่พอใจในอัตราส่วนแบ่งมรดกเช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งแต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วและจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดและจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคนในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกและฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้วนอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก เมื่อจำเลยมิได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดก และไม่ปรากฏว่าจำเลยทุจริตหรือความไม่สามารถอันเป็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะ ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยความยินยอม และการไม่ถือว่าเป็นการยักย้ายหรือทุจริต
จำเลยได้รับการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 37181,37183 และ 3493 ไว้ และจำเลยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ตายจำนวน2,790,425.74 บาท นำมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย แล้วนำเงินมรดกดังกล่าวบริจาคให้วัด กับสร้างโบสถ์และซื้อที่ดินให้วัด การที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่ดินมรดกเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาทต่อไป ส่วนการบริจาคเงินมรดกก็เป็นการจัดการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยฝ่ายโจทก์ยินยอมไม่คัดค้าน ทั้งมารดาโจทก์และจำเลยต่างได้ร่วมกันจัดการศพผู้ตายตลอดจนปรึกษาหารือกันเรื่องทรัพย์มรดกมาโดยตลอด และจำเลยก็จัดการมรดกในลักษณะที่เปิดเผย ทั้งจำเลยได้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วและจะแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกอื่นให้อีก โดยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ยอมไปจดทะเบียนรับโอนเพราะยังไม่พอใจในอัตราส่วนแบ่งมรดกเช่นนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคน ซึ่งในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก และน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้ว นอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก จำเลยหาได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดกไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่า จำเลยละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการมรดก หรือทุจริตหรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก & สิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม: กรณีผู้จัดการมรดกถูกพิพากษาจำคุก & มูลนิธิจัดตั้งตามพินัยกรรม
การที่ศาลใช้ดุลพินิจตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้นนอกจากจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้ว ศาลยังจะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 10 ปี ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกนอกจากนี้ยังปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวแล้วจำเลยมิได้ดำเนินการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1728(2),1729 และ 1732 อีกด้วย และที่จำเลยอ้างว่าระหว่างที่รับโทษจำเลยอาจมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้นั้นก็ขัดต่อมาตรา 1723 ที่ต้องการให้ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเอง ดังนั้นจึงเป็นที่เห็นประจักษ์ว่าจำเลยเป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอน/แต่งตั้งผู้จัดการมรดก: เหตุผลที่ศาลอาจไม่ถอนผู้จัดการมรดก แม้จะล่าช้าในการทำบัญชีทรัพย์สิน
แม้ทรัพย์มรดกบางอย่าง เช่น ที่ดินจะมีการเปลี่ยนชื่อจากชื่อของเจ้ามรดกที่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่มาเป็นชื่อผู้ร้องก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้ามรดกในฐานะที่ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกไม่ได้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องแต่อย่างใด การมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกก็เท่ากับมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคนของเจ้ามรดก พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าผู้ร้องปกปิดหรือเบียดบังทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกส่วนทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดกผู้ร้องก็ได้ต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งผู้คัดค้านต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นแบ่งปันมรดกผู้คัดค้านจะยกเอาเหตุดังกล่าวข้างต้นทั้งสองกรณีมาเป็นเหตุร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกไม่ได้ การที่ผู้ร้องมีเอกสารถึง ว. ให้จดทะเบียนโอนหุ้นของบริษัทที่เจ้ามรดกมีหุ้นอยู่ทั้งหมดและจัดการรวบรวมที่ดินที่มีชื่อของเจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือถือกรรมสิทธิ์ร่วมมาเป็นชื่อของผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกการดำเนินการดังกล่าวถือว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดก ของเจ้ามรดกได้ดำเนินการรวบรวมทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเพื่อ แบ่งปันแก่ทายาทของเจ้ามรดกทุกคนภายในเวลาที่กฎหมาย กำหนดแล้วแม้จะยังรวบรวมไม่เสร็จก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องละเลยไม่ยอมดำเนินการรวบรวมทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกมาแบ่งปันแก่ทายาท ผู้ร้องไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1728(2) และ 1729 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องก็นำสืบได้ถึงเหตุที่ไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นว่าไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการทุจริต หรือความไม่สามารถ อันเห็นประจักษ์ของผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้บังคับให้ต้องถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกทำการรวบรวมทรัพย์มรดกต่อไปและผู้คัดค้านเป็นบุคคลผู้สูงอายุมากแล้ว จึงไม่ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4639/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้องค์การกุศลตัดสิทธิทายาทโดยธรรม มิใช่ผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมได้กำหนดให้จัดการทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายโดยให้ผู้จัดการมรดกบริจาคทรัพย์สินให้แก่องค์การกุศลใด ๆ ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควรเป็นการชัดแจ้งและทราบได้แน่นอนแล้วว่าต้องมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้เฉพาะเพื่อองค์การกุศลเท่านั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1706(3) และเมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่องค์การกุศลจึงต้องถือว่าผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1608 วรรคท้ายผู้คัดค้านทั้งสองย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1727 หรือร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713
of 18