คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1727

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้ทายาทอื่น ถือเป็นละเลยหน้าที่และมีเหตุถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวเป็นเหตุให้ถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้จัดการมรดก: การไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกนานเกินไปถือละเลยหน้าที่
หน้าที่สำคัญของผู้จัดการมรดกคือ รวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ หากผู้ร้องเห็นว่า ตนมีสิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวเพียงผู้เดียวก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ร้องไม่ยินยอมแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ เป็นเวลาประมาณ 2 ปี นับแต่ศาลมีคำสั่งให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน จึงถือได้ว่าผู้ร้องละเลยมิได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมจะล่าช้า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ จึงมีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ไม่เป็นทายาท: การร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านไม่ใช่บุตรผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขอตั้งผู้จัดการมรดกสงวนไว้เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น
ทายาทที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก หมายถึง ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ไม่หมายถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย แต่ขณะยื่นฟ้องปรากฏว่ายังมีศ.เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทลำดับ 1 โจทก์จึงไม่เป็นทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิของผู้จัดการมรดก & การแบ่งมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
มารดาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรรคแรก เมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้ว จึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดกดังนั้น เมื่อผู้ร้องจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยก ทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้อง ทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีการแบ่งมรดกแล้วแต่ยังไม่จดทะเบียน
มารดาผู้ร้องและคัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้าน ได้ เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดก โดยชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรกเมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้วจึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดก ดังนั้น เมื่อผู้ร้องขอจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไป จากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการ แบ่งแยกทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการ หรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้องทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินตัดสิทธิทายาท การเพิกถอนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ได้ความภายหลังว่าก่อนตาย ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ที่ 1 และตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก จำเลยจึงถูกตัดมิให้รับมรดก และไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิผู้จัดการมรดก ความถูกต้องของเอกสาร และค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ผู้ร้องที่ 1 มิได้อุทธรณ์คดีในส่วนส่วนผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นข้อยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องที่ 1ไม่มีสิทธิฎีกา สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านระบุชื่อ ช. เป็นบิดาของผู้ร้องที่ 2แต่ผู้ร้องที่ 2 มิได้นำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามเอกสารดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อเป็นผู้จัดการมรดก: สิทธิในการจัดการทรัพย์สิน
มารดาผู้ร้องที่ 2 แจ้งการเกิดว่า ช. เป็นบิดาของผู้ร้องที่ 2 ทั้งที่ขณะนั้นผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ตามสำเนาสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านก็ระบุว่า ช. เป็นบิดาของผู้ร้องที่ 2 ซึ่งสำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชน พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ผู้ร้องที่ 2 มิได้นำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้นแต่อย่างใดข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องที่ 2 มิใช่บุตรของผู้ตายจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถอนผู้ร้องที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง
of 18