คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 329

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนเพื่อประโยชน์ราชการและป้องกันส่วนได้เสีย ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเนื่องจากถูกเรียกไปให้ถ้อยคำในฐานะเป็นพยานในกรณีที่ ส. ผู้บังคับบัญชาจำเลยถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจำเลยเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของ ส. จำเลยกล่าวถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ราชการอันเป็นส่วนรวมและมีมูลความจริง แม้ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจะพาดพิงไปถึงโจทก์ ก็เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนเพื่อประโยชน์ราชการและป้องกันส่วนได้เสียโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเนื่องจากถูกเรียกไปให้ถ้อยคำในฐานะเป็นพยานในกรณีที่ ส. ผู้บังคับบัญชาจำเลยถูกกล่าวหาว่าปกิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจำเลยเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของ ส. จำเลยกล่าวถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ราชการอันเป็นส่วนรวมและมีมูลความจริง แม้ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจะพาดพิงไปถึงโจทก์ ก็เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: จำเลยให้สัมภาษณ์ ไม่ได้ใส่ความโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังไม่ได้ว่าจำเลยให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์เสียแล้ว ปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำให้สัมภาษณ์ของจำเลยจะเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 หรือไม่ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์แต่ประการใดแม้เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายก็เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าจำเลยให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์ การอุทธรณ์เรื่องเจตนาจึงไม่เป็นประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังไม่ได้ว่าจำเลยให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์เสียแล้ว ปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำให้สัมภาษณ์ของจำเลยจะเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 หรือไม่ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์แต่ประการใดแม้เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายก็เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808-1809/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ข้อความแสดงความรู้สึก vs. ยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า ผู้เสียหายเรียกตัวยากหาตัวลำบากแถมยังมีราคีเรื่องอื่น ๆ เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึกว่าไม่อาจเรียกตัวผู้เสียหาย หรือพบตัวผู้เสียหายลำบากเท่านั้น มิได้แสดงว่าผู้เสียหายมีราคีมัวหมองในเรื่องใด ทั้งปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ผู้เสียหายจึงมิได้ถูกใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ส่วนข้อความที่ลงพิมพ์ว่า 'เหตุไฉนรัฐมนตรีบัญญัติจึงพูดบิดเบือนความจริง เรื่องศาลากลาง สนามกีฬา ทำไมไม่พูดเรื่องกัญชาข้อหาฉกรรจ์เพราะประชาชนข้องใจ แต่ที่จำได้ ส.ส. ขี่ควายไม่อายเท่าใด ส.ส. ค้ายาเสพติดนั่นคือสิ่งที่ประชาชนสนใจ' นั้นประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ย่อมเข้าใจได้ว่า รัฐมนตรีบัญญัติผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค้ายาเสพติดให้โทษคือกัญชาซึ่งไม่ตรงกับความจริง จำเลยหาได้ติชมด้วยความเป็นธรรมหรือโดยความสุจริตใจแต่อย่างใดไม่และมิใช่ข้อความที่ไม่เหมาะสม แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายค้ายาเสพติดให้โทษ จึงเป็นข้อความที่ใส่ความผู้เสียหายด้วยการแพร่ข่าวสารทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานกล่าวความจริงตามหน้าที่ แม้ใช้ถ้อยคำไม่สมควร ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
หนังสือรับรองของอธิบดีกรมอัยการที่จำเลยยื่นพร้อมฎีกาเป็นหลักฐานเช่นเดียวกับการที่อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาถือได้ว่าเป็นการรับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 แล้ว โจทก์ก่อสร้างตลาดผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและยังก่อสร้าง ต่อไปโดยไม่ขอต่ออายุใบอนุญาต จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าเขตให้ โจทก์ปฏิบัติการให้ถูกต้อง โจทก์ก็เพิกเฉย การที่จำเลยใช้เครื่องขยายเสียงพูดกับคนงานของโจทก์บริเวณที่ทำการก่อสร้างว่า"งานบริษัทนี้ (หมายถึงบริษัทโจทก์) พวกคุณไม่ต้องมาทำอีกต่อไปแล้ว พวกคุณไม่ต้องมาอยู่คอยเพราะคอยแค่ไหนก็ไม่สามารถจะทำได้ พวกคุณไปทำงานที่อื่นได้แล้วบริษัทอื่นที่ดีกว่านี้ยังมีอีกมาบริษัทเลว ๆ อย่างนี้หากพวกคุณขืนอยู่คอยต่อไปพวกคุณก็อดตายขณะนี้ผู้จัดการบริษัทนี้ก็ได้หลบหนีไปแล้วและบริษัทนี้ก็ไม่มีใบอนุญาตด้วย" เป็นการกล่าวเพื่อชี้แจงให้คนงานทราบว่าการก่อสร้าง ผิดแบบแปลนและใบอนุญาตหมดอายุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย คนงานอาจมีความผิดด้วย ขอให้คนงานหยุดก่อสร้างและอย่ารอทำงานเพราะกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องก็ต้องใช้เวลาหลายเดือน คำกล่าวเช่นนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้การใช้ถ้อยคำจะไม่สมควรและเกินเลยไปบ้างก็ยังไม่เป็นความผิดฐานหมิ่น ประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากวิญญูชนทั่วไป ไม่ใช่ความรู้สึกผู้ถูกหมิ่นประมาท
ข้อความที่กล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทน่าจะเสียชื่อเสียง ถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่ ไม่ใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียวการที่จำเลยเบิกความเป็นพยานไปตามที่ทนายความซักถามว่า โจทก์ไม่ค่อยทำหน้าที่ธนาคารได้ลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ 10 เปอร์เซ็นต์ ฐานไม่ค่อยมาทำงาน ซึ่งโจทก์ก็รับว่าเป็นความจริงเพียงแต่เลี่ยงไปว่าถูกลงโทษฐานออกไปนอกสถานที่นั้น จำเลยมีเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดี มิได้มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยเบิกความว่าโจทก์เป็นหัวหน้าแผนกประจำธนาคารนั้น โจทก์จะมีตำแหน่งที่แท้จริงเป็นหัวหน้าแผนกประจำกองหรือหัวหน้าแผนกประจำธนาคาร วิญญูชนทั่วไปได้ยินได้ฟังแล้วหามีความเข้าใจในข้อแตกต่างของความหมายแห่งถ้อยคำของตำแหน่งหน้าที่ทั้งสองไม่ ผู้ได้ยินได้ฟังก็ไม่ถือหรือเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนไม่ดีอันเป็นการใส่ความ คำเบิกความของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องดูที่ความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไป ไม่ใช่ผู้ถูกกล่าวหา
ข้อความที่กล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่า ข้อความที่กล่าวนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทน่าจะเสียชื่อเสียง ถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่ ไม่ใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานไปตามที่ทนายความซักถามว่า โจทก์ไม่ค่อยทำหน้าที่ธนาคารได้ลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ 10 เปอร์เซ็นต์ ฐานไม่ค่อยมาทำงาน ซึ่งโจทก์ก็รับว่าเป็นความจริงเพียงแต่เลี่ยงไปว่าถูกลงโทษฐานออกไปนอกสถานที่นั้นจำเลยมีเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการ พิจารณาคดีมิได้มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยเบิกความว่าโจทก์เป็นหัวหน้าแผนกประจำธนาคารนั้น โจทก์จะมีตำแหน่งที่แท้จริงเป็นหัวหน้าแผนกประจำกองหรือหัวหน้าแผนกประจำธนาคารวิญญูชนทั่วไปได้ยินได้ฟังแล้วหามีความเข้าใจในข้อแตกต่างของความหมายแห่งถ้อยคำของตำแหน่งหน้าที่ทั้งสองไม่ ผู้ได้ยินได้ฟังก็ไม่ถือหรือเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนไม่ดีอันเป็นการใส่ความ คำเบิกความของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานจากสำนวนคดีอาญาในคดีแพ่ง และการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตโดยไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์เบิกความในคดีแพ่งว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่7 เป็นคดีอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดต่อเจ้าพนักงานต่อศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับปัญหาในคดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและเสียค่าอ้างเอกสารครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้เรียกสำนวนนั้นมาประกอบการพิจารณา แต่จำเลยได้ส่งคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวต่อศาลก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา สำนวนคดีอาญาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) ศาลรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนนั้นประกอบการพิจารณาได้
เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกันดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค และคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ ซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและการพิจารณาคำพิพากษาคดีอาญาเป็นหลักฐานในคดีแพ่ง
โจทก์เบิกความในคดีแพ่งว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคดีอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดต่อเจ้าพนักงานต่อศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับปัญหาในคดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและเสียค่าอ้างเอกสารครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์ไม่ได้เรียกสำนวนนั้นมาประกอบการพิจารณาแต่จำเลยได้ส่งคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวต่อศาลก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา สำนวนคดีอาญาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)ศาลรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนนั้นประกอบการพิจารณาได้ เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า ศาลฎีกาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนอาญาแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นจำเลยรายเดียวกับจำเลยในคดีส่วนอาญา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็เป็นอย่างเดียวกัน ดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46โดยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เป็นพนักงานโรงพยาบาลที่โจทก์เป็นผู้อำนวยการได้ทำบันทึกและให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาคและคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยไปตามที่จำเลยได้รู้เห็นในฐานะที่ทำงานร่วมโรงพยาบาลเดียวกับโจทก์หรือเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยด้วยตนเองว่าโจทก์ทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการซึ่งต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 ได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือตามวิสัยของการติชม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 15