คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 329

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวความจริงเพื่อป้องกันตนหรือส่วนได้เสีย ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท
จำเลยฟ้องผู้เสียหายกับพวกในข้อหาร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกายและทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ แล้วนำสำเนาคำฟ้องไปให้นักข่าวหนังสือพิมพ์ดูพร้อมกับเล่าให้ฟังว่า ผู้เสียหายมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยเป็นส่วนตัวแล้วแกล้งจับกุมและทำร้ายร่างกายจำเลย นักข่าวได้นำลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ได้ความว่าในขณะจำเลยไปเล่าเรื่องให้นักข่าวฟังนั้น จำเลยให้ดูบาดแผลที่ถูกทำร้ายด้วย และศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษพวกของผู้เสียหายคนหนึ่งฐานทำร้ายร่างกาย จำเลย (จำเลยถอนฟ้องผู้เสียหาย) ตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวทำให้เป็นที่สงสัยว่า ผู้เสียหายอาจมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยแล้วแกล้งจับกุมจำเลยดังที่จำเลยให้ข่าวในหนังสือพิมพ์ การกระทำของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการกล่าวข้อเท็จจริงโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวข้อเท็จจริงโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนเอง ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท
จำเลยฟ้องผู้เสียหายกับพวกในข้อหาร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย และทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ แล้วนำสำเนาคำฟ้องไปให้นักข่าวหนังสือพิมพ์ดูพร้อมกับเล่าให้ฟังว่า ผู้เสียหายมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยเป็นส่วนตัวแล้วแกล้งจับกุมและทำร้ายร่างกายจำเลย นักข่าวได้นำลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ได้ความว่าในขณะจำเลยไปเล่าเรื่องให้นักข่าวฟังนั้น จำเลยให้ดูบาดแผลที่ถูกทำร้ายด้วย และศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษพวกของผู้เสียหายคนหนึ่งฐานทำร้ายร่างกายจำเลย (จำเลยถอนฟ้องผู้เสียหาย) ตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวทำให้เป็นที่สงสัยว่า ผู้เสียหายอาจมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยแล้วแกล้งจับกุมจำเลยดังที่จำเลยให้ข่าวในหนังสือพิมพ์ การกระทำของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการกล่าวข้อเท็จจริงโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความให้เสียหายโดยมีเจตนาเฉพาะตัว ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการจำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพันบาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2,3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงินฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถูบ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดีตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยวตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความเสียหายต้องความรับผิดของผู้เขียนและบรรณาธิการ
บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นห้วหน้ากองบรรณาธิการ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพัน บาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2, 3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้ และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงิน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถู-บ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดี ตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันสวนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความผิดหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การกล่าวโดยสุจริต, พิสูจน์ได้, และไม่เป็นเรื่องส่วนตัว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 เป็นเรื่องกล่าวโดยสุจริตตามข้อ 1 ถึง 4 ไม่เป็นความผิด มาตรา 330 เป็นเรื่องพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง และมิใช่ในเรื่องส่วนตัวซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เมื่อยกเว้นโทษตาม มาตรา 330 แล้วก็ไม่ต้องวินิจฉัยว่าไม่มีความผิดตาม มาตรา 329
หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีผู้แจ้งต่อตำรวจว่าโจทก์ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ทำผิดอาญา ตำรวจสอบสวนสั่งจับ แต่ได้สอบถามโจทก์ โจทก์ชี้แจงว่าไม่จริงดังนี้ไม่ใช่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงตามข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์ จำเลยนำสืบความจริงได้ว่า มีการแจ้งความต่อตำรวจจริงจำเลยไม่ต้องรับโทษ ไม่ต้องสืบให้ได้ว่าการทำผิดอาญา ตามที่ลงในข่าวนั้นโจทก์ได้ทำผิดจริง
หนังสือพิมพ์ลงข่าวด้วยข้อความสุภาพ ไม่ใช่ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาท ไม่เป็นความผิด มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติชมโดยสุจริตและความเป็นธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยมีหนังสือไปถึงหัวหน้าคณะปฏิวัติและอธิการบดีว่าโจทก์ร่วมทำลายหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ละเมิดกฎหมายบ้านเมืองไม่สมกับเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย จำเลยทำโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนที่อยู่ในฐานะเช่นจำเลยย่อมกระทำไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลความเสียหายจากกลุ่มบุคคลของสมาคมธนาคารไทย ไม่เป็นหมิ่นประมาท หากทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการ ได้แจ้งข่าวการประชุมของสมาคมธนาคารไทย จำเลยที่ 1 ตามมติของที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเวียนลับเฉพาะถึงสมาชิก แจ้งให้ทราบถึงพฤติการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไปขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารสมาชิก แล้วไม่มาติดต่อขอรับราชการไปรับของ ทำให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหาย โดยในหนังสือเวียนได้ระบุชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งมีชื่อโจทก์รวมอยู่ด้วย เพื่อมิให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหายดังที่มีมาอีก เช่นนี้ ถือได้ว่าการแจ้งข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลพฤติการณ์หลอกลวงของบุคคลให้ธนาคารทราบเพื่อป้องกันความเสียหาย ไม่เป็นหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการ ได้แจ้งข่าวการประชุมของสมาคมธนาคารไทย จำเลยที่ 1 ตามมติของที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเวียนลับเฉพาะถึงสมาชิก แจ้งให้ทราบถึงพฤติการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไปขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารสมาชิกแล้วไม่มาติดต่อขอรับเอกสารไปรับของทำให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหาย โดยในหนังสือเวียนได้ระบุชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งมีชื่อโจทก์รวมอยู่ด้วย เพื่อมิให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหายดังที่มีมาอีก เช่นนี้ ถือได้ว่าการแจ้งข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดในพื้นที่ป่าโครงการของรัฐ จำเลยมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิดตามกฎหมายป่าไม้
จำเลยไปแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรและเวรสอบสวนว่าสุนัขของ ม. กัดหลานของจำเลย อ. มิได้สั่งให้ตำรวจลงบันทึกแจ้งความตามที่จำเลยมาแจ้ง โดยอ้างว่าอาจเป็นสุนัขกลางตลาดก็ได้ จะไปสืบหาเจ้าของสุนัขเสียก่อน จำเลยยืนยันว่าเป็นสุนัขของ ม. แต่อ. ไม่ยอมรับแจ้งความในทันที อ. และจำเลยจึงโต้เถียงกันในเรื่องไม่ลงบันทึกประจำวัน จำเลยได้กล่าวต่อ อ. ว่า ทำอย่างนี้ไม่ยุติธรรม ดังนี้ มีความหมายว่า อ. ปฏิบัติหน้าที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นการดูถูกเหยียดหยามต่อ อ. เป็นถ้อยคำดูหมิ่น อ. จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ไม่ใช่เป็นการต่อว่าที่แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียของจำเลยตามคลองธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: ถ้อยคำวิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ถือเป็นความผิดฐานดูหมิ่นได้
จำเลยไปแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรและเวรสอบสวนว่าสุนัขของ ม. กัดหลานของจำเลย อ. มิได้สั่งให้ตำรวจลงบันทึกแจ้งความตามที่จำเลยมาแจ้ง โดยอ้างว่าอาจเป็นสุนัขกลางตลาดก็ได้ จะไปสืบหาเจ้าของสุนัขเสียก่อน จำเลยยืนยันว่าเป็นสุนัขของ ม. แต่ อ. ไม่ยอมรับแจ้งความในทันที อ. และจำเลยจึงโต้เถียงกันในเรื่องไม่ลงบันทึกประจำวัน จำเลยได้กล่าวต่อ อ. ว่า ทำอย่างนี้ก็ไม่ยุติธรรม ดังนี้ มีความหมายว่า อ. ปฏิบัติหน้าที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นการดูถูกเหยียดหยามต่อ อ. เป็นถ้อยคำดูหมิ่น อ. จำเลยมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ไม่ใช่ว่าเป็นการต่อว่าที่แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียของจำเลยตามคลองธรรม
of 15