พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการล้มละลาย
คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การโต้แย้งว่าหนังสือรับรองเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2), 1080 และมาตรา 1087 เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด คดีถึงที่สุดแล้วตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง จำเลยที่ 2 ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามฟ้องกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้เถียงว่าตนเองมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอีกได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์มีจำนวน 5,813,980.32 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งกรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย คดีย่อมมีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ความรับผิดของนายจ้าง, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าเสียความสามารถ และความเสียหายทางจิตใจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองในทางการที่จ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2), 1087
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 อายุ 14 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งต่อไปย่อมสามารถประกอบอาชีพการงานมีรายได้เช่นคนปกติทั่วไป หลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 มีอาการไม่รู้สึกตัวสมองบวม กะโหลกศีรษะยุบ เลือดออกใต้หนังศีรษะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลก ต้องใช้เวลารักษานานอาจเป็นปี หลังผ่าตัดแล้วโจทก์ที่ 1 ยังมีอาการสมองไม่รับรู้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พูดไม่ได้ ต้องจ้างผู้ดูแลตลอดเวลาทั้งไม่ปรากฏว่าจะสามารถรักษาให้โจทก์ที่ 1 หายเป็นปกติไว้ ปัจจุบันโจทก์ที่ 1 ยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้เช่นนี้ ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 สูญเสียความสามารถที่จะประกอบอาชีพต่อไปได้โดยสิ้นเชิง โจทก์ที่ 1 จึงได้รับความเสียหาย โดยไม่คำนึงว่าจะต้องมีอาชีพแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ต้องทุกข์ทรมานจากการผ่าตัดและทุพลภาพไม่สามารถช่วยตัวเองได้ไปตลอดชีวิต ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 1 เสียความสามารถในการประกอบการงานเป็นเงิน 500,000 บาท และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินเป็นเงิน 500,000 บาท เหมาะสมแล้ว
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 อายุ 14 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งต่อไปย่อมสามารถประกอบอาชีพการงานมีรายได้เช่นคนปกติทั่วไป หลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 มีอาการไม่รู้สึกตัวสมองบวม กะโหลกศีรษะยุบ เลือดออกใต้หนังศีรษะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลก ต้องใช้เวลารักษานานอาจเป็นปี หลังผ่าตัดแล้วโจทก์ที่ 1 ยังมีอาการสมองไม่รับรู้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พูดไม่ได้ ต้องจ้างผู้ดูแลตลอดเวลาทั้งไม่ปรากฏว่าจะสามารถรักษาให้โจทก์ที่ 1 หายเป็นปกติไว้ ปัจจุบันโจทก์ที่ 1 ยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้เช่นนี้ ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 สูญเสียความสามารถที่จะประกอบอาชีพต่อไปได้โดยสิ้นเชิง โจทก์ที่ 1 จึงได้รับความเสียหาย โดยไม่คำนึงว่าจะต้องมีอาชีพแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ต้องทุกข์ทรมานจากการผ่าตัดและทุพลภาพไม่สามารถช่วยตัวเองได้ไปตลอดชีวิต ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 1 เสียความสามารถในการประกอบการงานเป็นเงิน 500,000 บาท และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินเป็นเงิน 500,000 บาท เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและการร่วมรับผิดของเจ้าของรถ กรณีเกิดอุบัติเหตุจากความประมาทของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง มีรถบรรทุกประกอบการถึง 30 คัน โดยไม่ใช่รถบรรทุกของจำเลยที่ 1 เลย แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีรายได้และผลประโยชน์มาจากรถบรรทุกที่เข้าร่วมประกอบการขนส่ง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 4จดทะเบียนเข้าร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1 และด้านข้างรถก็พ่นสีระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมผูกพันตนเข้าร่วมกิจการและรับผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขับรถบรรทุกคันดังกล่าวในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 โดยประมาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 5เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในผลแห่งละเมิดนั้น ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),1087
จำเลยที่ 6 เป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกที่ให้จำเลยที่ 4 เช่าซื้อไปจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองใช้รถคันดังกล่าวจึงมีอำนาจนำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 1ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 และแม้ว่าจำเลยที่ 2จะเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 6 และร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนตั้งจำเลยที่ 1 ขึ้นมาเพื่อประกอบการขนส่งก็ตาม ก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและเป็นกิจการของจำเลยที่ 1โดยลำพัง ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 6 ร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 6 เป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกที่ให้จำเลยที่ 4 เช่าซื้อไปจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองใช้รถคันดังกล่าวจึงมีอำนาจนำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 1ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 และแม้ว่าจำเลยที่ 2จะเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 6 และร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนตั้งจำเลยที่ 1 ขึ้นมาเพื่อประกอบการขนส่งก็ตาม ก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและเป็นกิจการของจำเลยที่ 1โดยลำพัง ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 6 ร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ไม่มีตราประทับ และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด เดิมมีโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาโจทก์ถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยมีการทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็น ผู้ให้สัญญา แต่ไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงข้ออื่น ๆ ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์บางส่วนไปแล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ก็จดทะเบียนถอนโจทก์ออกจากการเป็น ผู้ถือหุ้น ตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติไปตามบันทึกข้อตกลงนั้นเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว จะไม่มีการประทับตราของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการแทนในนามของจำเลยที่ 1 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดย่อมต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1077 (2) ประกอบด้วยมาตรา 1087 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดย่อมต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1077 (2) ประกอบด้วยมาตรา 1087 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8840/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และคำขอท้ายฟ้องระบุให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เท่ากับโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวนั้น เป็นผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 และ 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอเพิกถอน การโอนได้ในกรณีที่ลูกหนี้จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีความหมายว่าการโอนทรัพย์สินนั้นเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1 น้องชายของผู้คัดค้านได้มาติดต่อขอให้ผู้คัดค้านช่วยเหลือโดยขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้แทน ผู้คัดค้านจึงชำระหนี้แทนไป 3 ครั้ง แม้จะไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นตัวแทนในการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด แทนจำเลยที่ 1 แล้ว ผู้คัดค้านย่อมฟ้องเรียกเงินที่ผู้คัดค้านชำระหนี้แทนจากจำเลยที่ 1 ได้ ในมูลหนี้ตามสัญญา ตัวแทนแม้การเป็นตัวแทนจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม จำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านจึงมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนแล้ว อันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ต่อไป ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 ประกอบมาตรา 1087 จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านหลังจากที่มีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านหักเงินที่ผู้คัดค้านชำระแทนไป และจำเลยที่ 2 รับเงินส่วนที่เหลือไป และเนื่องจากผู้ร้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้เพียง 10,394 บาท ขณะที่จำนวนหนี้ทั้งหมดที่ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 เป็นเงินถึง 29,949,426.04 บาท การที่จำเลยที่ 2 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีไปโอนชำระหนี้ แก่ผู้คัดค้านโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบแก่ผู้คัดค้านและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบเพราะเจ้าหนี้อื่นไม่มีโอกาส ได้รับชำระหนี้โดยเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่โอนไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอน ทรัพย์สินรายนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้รับโอนได้รับโอนโดยสุจริตและ มีค่าตอบแทนหรือไม่
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1 น้องชายของผู้คัดค้านได้มาติดต่อขอให้ผู้คัดค้านช่วยเหลือโดยขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้แทน ผู้คัดค้านจึงชำระหนี้แทนไป 3 ครั้ง แม้จะไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นตัวแทนในการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด แทนจำเลยที่ 1 แล้ว ผู้คัดค้านย่อมฟ้องเรียกเงินที่ผู้คัดค้านชำระหนี้แทนจากจำเลยที่ 1 ได้ ในมูลหนี้ตามสัญญา ตัวแทนแม้การเป็นตัวแทนจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม จำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านจึงมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนแล้ว อันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ต่อไป ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 ประกอบมาตรา 1087 จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านหลังจากที่มีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านหักเงินที่ผู้คัดค้านชำระแทนไป และจำเลยที่ 2 รับเงินส่วนที่เหลือไป และเนื่องจากผู้ร้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้เพียง 10,394 บาท ขณะที่จำนวนหนี้ทั้งหมดที่ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 เป็นเงินถึง 29,949,426.04 บาท การที่จำเลยที่ 2 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีไปโอนชำระหนี้ แก่ผู้คัดค้านโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบแก่ผู้คัดค้านและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบเพราะเจ้าหนี้อื่นไม่มีโอกาส ได้รับชำระหนี้โดยเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่โอนไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอน ทรัพย์สินรายนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้รับโอนได้รับโอนโดยสุจริตและ มีค่าตอบแทนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทและผู้จัดการมรดกต่อหนี้ภาษีอากร โดยจำกัดตามทรัพย์มรดก
ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึง ห.ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ ซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือนขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือนขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทและผู้จัดการมรดกต่อหนี้ภาษีอากร โดยจำกัดความรับผิดตามทรัพย์มรดก
ผู้ร้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมถึง ห. ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือน ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากร ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือน ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากร ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีได้เฉพาะหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งเมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคดีแพ่งมาฟ้องให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้จากทั้งลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากรถเสีย - ความรับผิดของลูกจ้าง-นายจ้าง-หุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกซึ่งเพลาขาดไว้ที่ไหล่ถนน โดยมีส่วนท้ายของรถล้ำเข้าไปในช่องทางจราจรประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วจำเลยที่ 1 ออกไปโทรศัพท์แจ้งจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้สัญญาณใด ๆ ว่ามีรถจอดล้ำอยู่บนถนนดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ให้พ้นภยันตรายจากสิ่งกีดขวางบนถนน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายชนท้ายรถบรรทุกคันดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 422
จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ขณะเป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย สำหรับจำเลยที่ 2 แม้จะมิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุหรือเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวโดยเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 อยู่แล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นมาในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องรับผิด และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นด้วยโดยไม่จำกัดจำนวน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ขณะเป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย สำหรับจำเลยที่ 2 แม้จะมิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุหรือเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวโดยเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 อยู่แล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นมาในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องรับผิด และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นด้วยโดยไม่จำกัดจำนวน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้