พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินที่มีภาระจำนอง: การให้มีค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. มาตรา 535(2) จำนองต้องมีอยู่ขณะทำสัญญา
สิ่งที่มีค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)จะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กัน โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยโดยที่ดินมีการจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งจำเลยต้องรับผิดในหนี้ของห้างได้ไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)ประกอบมาตรา1087และจำเลยก็รับว่าเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยถือได้ว่าการจำนองเป็นการประกันหนี้ของจำเลยการยกให้ที่ดินโดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองดังกล่าวจะถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเปิดบัญชี - อำนาจของผู้เปิดบัญชี - ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันต้องส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงถึงรายนามผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของโจทก์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แก่กรณีที่ผู้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยเฉพาะข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้ทราบว่าผู้ที่โจทก์เข้าทำสัญญาด้วยเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจริง และผู้มาขอเปิดบัญชีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนห้างดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ใช้เช็คของโจทก์ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ตามสัญญาหากมีต่อไปได้ แต่โจทก์กลับไม่เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ส่งหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คงเชื่อเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1เพราะเหตุที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 มาด้วยเท่านั้น เป็นการที่โจทก์เข้าทำสัญญานั้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และตราประทับนั้นเป็นตราของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ ตลอดจนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จะมีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร ซึ่งหากโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่โจทก์กำหนดไว้เอง โจทก์ก็จะทราบได้โดยง่ายว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ต้องเสียหายเพราะการที่ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีในนามของจำเลยที่ 1 ประกอบกับไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมายื่นคำขอเปิดบัญชี จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อกับโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้นำเงินที่เบิกจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตลอดจนไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นใดในขณะที่จำเลยที่ 2 มาขอเปิดบัญชีกับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามป.พ.พ. มาตรา 821 กรณีจึงไม่อาจให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเปิดบัญชีให้ผู้ไม่มีอำนาจ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันต้องส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงถึงรายนามผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของโจทก์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แก่กรณีที่ผู้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยเฉพาะข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้ทราบว่าผู้ที่โจทก์เข้าทำสัญญาด้วยเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจริงและผู้มาขอเปิดบัญชีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนห้างดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ใช้เช็คของโจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาหากมีต่อไปได้แต่โจทก์กลับไม่เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ส่งหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คงเชื่อเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ 2ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เพราะเหตุที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 มาด้วยเท่านั้น เป็นการที่โจทก์เข้าทำสัญญานั้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และตราประทับนั้นเป็นตราของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ตลอดจนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จะมีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารซึ่งหากโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่โจทก์กำหนดไว้เอง โจทก์ก็จะทราบได้โดยง่ายว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ต้องเสียหายเพราะการที่ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีในนามของจำเลยที่ 1 ประกอบกับไม่ปรากฎว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมายื่นคำขอเปิดบัญชี จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อกับโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้นำเงินที่เบิกจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตลอดจนไม่ปรากฎพฤติการณ์อื่นใดในขณะที่จำเลยที่ 2 มาขอเปิดบัญชีกับโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821กรณีจึงไม่อาจให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การรับช่วงสิทธิ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สัญญาประกันภัย, และการประเมินความเสียหาย
ดวงตราที่ประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์เหมือนกับที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ต่างกันแต่เพียงขนาด เมื่อไม่ปรากฎว่ามีระเบียบข้อบังคับของกรมทะเบียนการค้าว่าดวงตราที่ประทับจะต้องมีขนาดเท่ากับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องประทับในใบแต่งทนาย ทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายใหม่มีกรรมการลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับต่อศาล และให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ดำเนินไปแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาต การยื่นฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิใช่ฟ้องให้บังคับตามสัญญาประกันภัยจึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงและไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายตามบันทึกประจำวันซึ่งตัวแทนฝ่ายจำเลยทำกับตัวแทนฝ่ายบริษัทผู้ส่งภายหลังเกิดเหตุไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใดแน่นอน ไม่อาจระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เครื่องปิดฉลากอากรแสตมป์ขวดสุราเป็นเพียงสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 การขนส่งเครื่องปิดฉลากดังกล่าวมีผู้ขนส่งหลายคนคือจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนส่ง เมื่อของที่ขนส่งบุบสลาย จำเลยที่ 1ที่ 3 ที่ 5 ผู้ขนส่งทั้งนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 2 ที่ 4ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้ขนส่งหลายคนในสัญญาขนส่ง และการระงับความรับผิดจากการประนีประนอมยอมความ
ดวงตราของโจทก์ที่ประทับในใบแต่งทนายความมีรูปร่างลักษณะ และรายละเอียดตัวอักษรในดวงตราเหมือนกับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกรมทะเบียนการค้าทุกประการต่างกันแต่เพียงว่ามีขนาดไม่เท่ากัน ดังนี้ เมื่อกรมทะเบียนการค้าไม่มีระเบียบข้อบังคับว่าดวงตราที่ใช้ประทับจะต้องมีขนาดเท่าดวงตราที่จดทะเบียนไว้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับประทับในใบแต่งทนายความ อีกทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายความใหม่มีกรรมการของบริษัทลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ต่อศาลและให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ได้ดำเนินไปแล้วศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต การยื่นคำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิได้ฟ้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคแรกอันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ และไม่ตกอยู่ภายในบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่า มีจำนวนเท่าใดแน่นอน จึงไม่ระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เครื่องจักรแม้จะมีราคาหลายล้านบาท แต่ก็เป็นสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 จำเลยที่ 1 รับจ้าง ส. ขนเครื่องจักร แล้วไปติดต่อจำเลยที่ 3ให้จัดหารถบรรทุกเครื่องจักรให้ จำเลยที่ 3 ออกใบเสร็จรับเงินและใบรับของให้จำเลยที่ 1 และติดต่อหารถบรรทุกให้ ซึ่งเป็นรถที่จดทะเบียนใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งและดำเนินการรับจ้างขนส่งสินค้าในนามของจำเลยที่ 5 โดยระบุในหนังสือแสดงการจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 5 มีสิทธิครอบครองและใช้ประกอบการขนส่งไปบรรทุกเครื่องจักรให้ ส. พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5เป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด ดังนั้นเมื่อเครื่องจักรบุบสลายระหว่างขนส่ง จะต้องร่วมกันรับผิด จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นส่วนและกิจการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจจดทะเบียนแต่งตั้งผู้จัดการใหม่
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายทำสัญญาซื้อขายกิจการและหุ้นส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลย โดยในสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อตกลงให้โจทก์ต้องไปจดทะเบียนโอนส่วนของผู้ตายให้กับจำเลยและแต่งตั้งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนผู้ตาย จำเลยจึงจะหยิบยกข้ออ้างดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาไม่ได้ เพราะเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดอาจจะเลิกกันหรือหุ้นส่วนอาจตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินต่อไปโดยให้ผู้อื่นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือให้ผู้อื่นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนผู้ตายก็ได้ มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกจะจดทะเบียนให้จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยรับโอนกิจการและหุ้นส่วนของผู้ตายไปแล้ว จำเลยจึงต้องชำระเงินตามสัญญาซื้อขายกิจการที่ค้างชำระให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหายดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจัดการกิจการเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด: การฟ้องแทนห้างเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
การที่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายทรัพย์สินของห้าง และขอให้ระงับข้อตกลงการโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของห้างกับขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ห้าง เป็นการฟ้องคดีแทนห้างซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่เพราะการฟ้องคดีแทนห้างเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสินค้าผิดคุณลักษณะ การบอกเลิกสัญญา และอายุความเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่เจ้าหนี้ประกาศแจ้งความประกวดราคาสินค้าที่ต้องการซื้อโดยได้กำหนดตามลักษณะเฉพาะของสินค้าอันเป็นสาระสำคัญที่จะนำมาใช้งานไว้ด้วยเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. เสนอราคาของสินค้าโดยมีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามที่เจ้าหนี้ผู้ซื้อได้กำหนดไว้และเจ้าหนี้ตกลงซื้อแล้ว การซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายธรรมดาอันเกิดจากการเสนอและสนองรับตรงกัน หาใช่เป็นการซื้อขายตามตัวอย่างหรือตามพรรณาไม่ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. ส่งมอบสินค้าที่มีคุณลักษณะไม่ตรงตามสัญญากับใบเสนอราคา และไม่ตรงตามที่เจ้าหนี้กำหนด ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.จึงเป็นผู้ผิดสัญญาซื้อขายเจ้าหนี้ย่อมเสียหาย และชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้ลูกหนี้ที่ 2ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. จึงต้องร่วมรับผิดคืนเงินค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินกรณีสัญญาซื้อขายเลิกกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม หาใช่1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504 ไม่