คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1087

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายตามตัวอย่าง VS สัญญาซื้อขายตามสภาพสินค้า: ความผิดสัญญาและอายุความ
การที่เจ้าหนี้ประกาศแจ้งความประกวดราคาสินค้าที่ต้องการซื้อโดยได้กำหนดตามลักษณะเฉพาะของสินค้าอันเป็นสาระสำคัญที่จะนำมาใช้งานไว้ด้วยเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. เสนอราคาของสินค้าโดยมีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามที่เจ้าหนี้ผู้ซื้อได้กำหนดไว้และเจ้าหนี้ตกลงซื้อแล้ว การซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายธรรมดาอันเกิดจากการเสนอและสนองรับตรงกัน หาใช่เป็นการซื้อขายตามตัวอย่างหรือตามพรรณาไม่ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ส่งมอบสินค้าที่มีคุณลักษณะไม่ตรงตามสัญญากับใบเสนอราคา และไม่ตรงตามที่เจ้าหนี้กำหนด ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.จึงเป็นผู้ผิดสัญญาซื้อขาย เจ้าหนี้ย่อมเสียหาย และชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.จึงต้องร่วมรับผิดคืนเงินค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้
สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินกรณีสัญญาซื้อขายเลิกกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หาใช่ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 504 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้สั่งจ่ายเช็คในนามห้างฯ และการยกข้อต่อสู้เรื่องมูลหนี้ต้องพิสูจน์การโอนเช็คโดยฉ้อฉล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และมาตรา 1087ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน จำกัด เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จำเลยก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),900 วรรคแรก การที่จำเลยให้การว่า จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. เป็นการตอบแทนในการที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะไม่ยื่นซองประมูลงานแข่งกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างผู้สั่งจ่ายคือจำเลยกับผู้ทรงคนก่อน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ในกรณีเช่นนี้ จำเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ต่อเมื่อได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916เท่านั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่ามีการโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการรับเงินของหุ้นส่วนผู้จัดการหลังผู้จัดการอีกคนเสียชีวิต เงินฝากเป็นของห้างฯ
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งนำเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดไปฝากไว้กับจำเลย ในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการคนดังกล่าวถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งย่อมมีอำนาจรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ออกเช็ค, ผู้สั่งจ่าย, หุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้รับเช็คนั้นไว้ในความครอบครอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ มีอำนาจที่จะฟ้องบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้โจทก์จะนำเงินจากบิดาโจทก์มารับแลกเช็คพิพาทก็หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของผู้จัดการไว้ การที่จำเลยที่ 2สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับเป็นการกระทำโดยมีอำนาจภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 แม้ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 ในเช็คพิพาทจะเป็นลายมือชื่อปลอมของจำเลยที่ 3 แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1006 เช็คพิพาทจึงยังเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาท แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1052 ประกอบด้วยมาตรา 1080 และมาตรา 1087 การที่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันด้วยอาวัลในเช็คพิพาทซึ่งต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้วได้ออกเช็คฉบับใหม่แก่โจทก์ หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ แต่เป็นการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ซึ่งหนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อได้ใช้เงินตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับใหม่ได้หรือไม่ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับไป ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 4ฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 3 และปัญหาว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 3เป็นลายมือชื่อปลอม การสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยที่ 2 จึงผิดไปจากข้อตกลงกับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, ค่าปรับ, อายุความ, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, ความรับผิดของหุ้นส่วน, อายุความฟ้องคดี
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือน ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเสียอายุความโดยการชำระหนี้บางส่วนมีผลถึงหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้จัดการมรดก
การที่ ส. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทต้องร่วมรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนของจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ภายหลังจากที่หนี้ขาดอายุความแล้วแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ย่อมมีผลถึง ส. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้นั้นด้วย ส. จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. จำเลยที่ 2 จึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 บัญญัติไว้
การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ เพียงแต่แสดงเจตนาให้เห็นว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความเท่านั้นก็เป็นการเพียงพอแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเสียอายุความและการรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้จัดการมรดกในหนี้ของห้างหุ้นส่วน
การที่ ส. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทต้องร่วมรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนของจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ภายหลังจากที่หนี้ขาดอายุความแล้วแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ย่อมมีผลถึง ส. ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้นั้นด้วย ส. จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. จำเลยที่ 2 จึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 บัญญัติไว้ การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ เพียงแต่แสดงเจตนาให้เห็นว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความเท่านั้นก็เป็นการเพียงพอแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาชิ้นส่วนสินค้า การอุทธรณ์ภาษี และดอกเบี้ยผิดนัดชำระภาษี
การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินราคาชิ้นส่วนสินค้าตู้เครื่องรับโทรทัศน์พร้อมหลอดภาพที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเทียบเคียง ราคากับบัตรราคาเครื่องรับโทรทัศน์ครบชุดชนิดเดียวกันที่นำเข้ามาภายหลังประมาณ 2 ปีนั้น มิใช่ราคาณ เวลาที่นำของเข้าและเป็นของชนิดเดียวกัน และการที่เจ้าพนักงานของโจทก์กำหนดราคาสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชิ้นส่วนร้อยละ40 ของราคาสินค้าครบชุดโดยไม่มีกฎเกณฑ์ให้เห็นว่าเพราะเหตุใดถือไม่ได้ว่าราคาที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
สำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ประเมินเพิ่มนั้นจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติและจำเลยที่ 1จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077, 1087
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ หากผู้ประกอบการค้าไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลาก็ต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นทางแก้กรณีลูกหนี้ผิดนัดโดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาชิ้นส่วนนำเข้าต้องอ้างอิงราคาตลาด ณ เวลาที่นำเข้า และการบังคับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มภาษี
การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินราคาชิ้นส่วนสินค้าตู้เครื่องรับโทรทัศน์พร้อมหลอดภาพที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเทียบเคียง ราคากับบัตรราคาเครื่องรับโทรทัศน์ครบชุดชนิดเดียวกันที่นำเข้ามาภายหลังประมาณ 2 ปีนั้น มิใช่ราคาณ เวลาที่นำของเข้าและเป็นของชนิดเดียวกัน และการที่เจ้าพนักงานของโจทก์กำหนดราคาสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชิ้นส่วนร้อยละ40 ของราคาสินค้าครบชุดโดยไม่มีกฎเกณฑ์ให้เห็นว่าเพราะเหตุใดถือไม่ได้ว่าราคาที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด สำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ประเมินเพิ่มนั้นจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติและจำเลยที่ 1จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077,1087 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ หากผู้ประกอบการค้าไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลาก็ต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นทางแก้กรณีลูกหนี้ผิดนัดโดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้.
of 8