พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ซื้อขาย แม้ซื้อผ่านห้างหุ้นส่วน ก็ต้องรับผิดตามเช็ค
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม จำเลยมิได้อุทธรณ์เป็นประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์และไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงมูลหนี้ซื้อขายเดิม และมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ด้วยดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยในฐานะส่วนตัวได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม & ความรับผิดทางเช็ค: จำเลยต้องรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้เป็นหนี้ซื้อขาย
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม จำเลยมิได้อุทธรณ์เป็นประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์และไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงมูลหนี้ซื้อขายเดิม และมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ด้วยดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยในฐานะส่วนตัวได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงมูลหนี้ซื้อขายเดิม และมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ด้วยดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยในฐานะส่วนตัวได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087
โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087
โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นจากตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087 โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัดในการถอดถอนผู้จัดการห้างหุ้นส่วน: ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องแยกสิทธิผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิด
คดีนี้โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลชี้ข้อกฎหมายประเด็นเดียวว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะมีสิทธิร่วมประชุมถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการหรือไม่เท่ากับโจทก์จำเลยยอมสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว โจทก์จะยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1032 ขึ้นตั้งเป็นประเด็นใหม่อีกหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อโต้แย้งของโจทก์ข้อนี้อยู่นอกคำท้า ไม่รับวินิจฉัยให้นั้น ชอบแล้ว
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น หากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพัง หากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคน ต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้ และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน ทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเอง ส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการ ซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนำมาตรา 1036 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น และที่มาตรา 1088 วรรคสอง มิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้น ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น หากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพัง หากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคน ต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้ และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน ทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเอง ส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการ ซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนำมาตรา 1036 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น และที่มาตรา 1088 วรรคสอง มิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้น ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการถอดถอนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิโดยตรง
คดีนี้โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลชี้ข้อกฎหมายประเด็นเดียวว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะมีสิทธิร่วมประชุมถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการหรือไม่เท่ากับโจทก์จำเลยยอมสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้วโจทก์จะยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1032ขึ้นตั้งเป็นประเด็นใหม่อีกหาได้ไม่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อโต้แย้งของโจทก์ข้อนี้อยู่นอกคำท้าไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้นหากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพังหากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคนต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอนทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเองส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นการนำมาตรา1036ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้นและที่มาตรา1088วรรคสองมิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้นก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้นซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนมีน้ำหนักเชื่อถือได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดในผลละเมิดของลูกจ้าง
ใบสำคัญการสมรสใบมรณบัตรสูติบัตรเป็นเอกสารมหาชนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127. แม้ส.ซึ่งเป็นคนขับรถโดยสารคันเกิดเหตุของจำเลยที่3จะเป็นเพียงผู้รับจ้างขับรถเป็นรายเที่ยวก็ถือได้ว่าส.เป็นลูกจ้างและขับรถโดยสารคันเกิดเหตุในทางการที่จ้างของจำเลยที่3จำเลยที่3ต้องร่วมรับผิดกับส.ในผลแห่งละเมิดด้วย. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดความรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ห้างหุ้นส่วนฯก่อให้เกิดขึ้น.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนมีน้ำหนักในการรับฟัง การรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดและลูกจ้าง
ใบสำคัญการสมรสใบมรณบัตรสูติบัตรเป็นเอกสารมหาชนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามป.วิ.พ.มาตรา127 แม้ส. ซึ่งเป็นคนขับรถโดยสารคันเกิดเหตุของจำเลยที่3จะเป็นเพียงผู้รับจ้างขับรถเป็นรายเที่ยวก็ถือได้ว่าส. เป็นลูกจ้างและขับรถโดยสารคันเกิดเหตุในทางการที่จ้างของจำเลยที่3ๆต้องร่วมรับผิดกับส. ในผลแห่งละเมิดด้วย หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดความรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ห้างหุ้นส่วนฯก่อให้เกิดขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์จากการกระทำละเมิด, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวได้จดทะเบียนให้ ส. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ส. มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์จากตึกแถว แต่กรรมสิทธิ์ในตึกแถวยังเป็นของโจทก์ ด้วยอำนาจการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ตึกแถวเสียหายได้ การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดแม้หนี้ดังกล่าวจะเกิดจากมูลละเมิด โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อตึกแถวของโจทก์ จึงมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้าง/เจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง/ผู้ขับขี่ และประเด็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลยที่4 ชนรถโจทก์เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 เป็นเพียงผู้แทนของจำเลยที่5 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งพอเข้าใจว่าจำเลยที่1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 และได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่5 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทำแทน จึงเป็นคำฟ้องที่ให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 และ มาตรา 820 แล้ว
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆ ซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆ ซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น