คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1087

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้าง/เจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง/ผู้ขับขี่ และประเด็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ชนรถโจทก์เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 เป็นเพียงผู้แทนของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งพอเข้าใจว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 และได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทำแทน จึงเป็นคำฟ้องที่ให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 และ มาตรา 820 แล้ว
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ละเมิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พ. ลงนามในสัญญารับเหมาสร้างทางในฐานะทำแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 สัญญามีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เมื่อ พ. และคนงานสร้างทางตัดฟันต้นไม้และแผ้วถางป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดดังกล่าว พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด จะมารื้อฟื้นยกขึ้นเป็นข้อฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกันตามเช็คที่ออกโดยได้รับมอบอำนาจ
เช็คพิพาทสั่งจ่ายโดย ช. ผู้ได้รับมอบอำนาจให้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 และประทับตราของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเช็คนั้น ส่วนจำเลยที่ 2ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีจำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2) ย่อมต้องรับผิดตามเช็คนั้นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ ช.เป็นผู้ลงลายมือชื่สั่งจ่ายและประทับตราแทนห้างจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะเป็นการนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง ตัวแทน และความรับผิดในสัญญา การที่ตัวแทนทำสัญญาในนามหลัก ย่อมทำให้หลักมีหน้าที่ผูกพัน
ห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนไปประมูลและทำการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งกระจกและบานประตูจนโจทก์ทำให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 1077(2) ประกอบด้วยมาตรา1087
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจหมาย จ.3 เป็นเรื่องที่ห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3 ยืมชื่อไปใช้ประมูลและทำการก่อสร้างอาคารโดยจำเลยที่ 3 เข้าทำการก่อสร้างเอง จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวอันเป็นการไม่สุจริตแต่อย่างใด ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องได้รับความเสียหายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ปรากฏตามคำฟ้องและทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และได้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ภายในขอบอำนาจแห่งฐานเป็นตัวแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดโดยกำหนดจำนวนหนี้แตกต่างกัน จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ทั้งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง ตัวแทน และความรับผิดชอบในสัญญา การกระทำของตัวแทนผูกพันหลักทรัพย์
ห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนไปประมูลและทำการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งกระจกและบานประตูจนโจทก์ทำให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 1077(2) ประกอบด้วยมาตรา1087
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจหมายจ.3 เป็นเรื่องที่ห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3ยืมชื่อไปใช้ประมูลและทำการก่อสร้างอาคารโดยจำเลยที่ 3เข้าทำการก่อสร้างเอง จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวอันเป็นการไม่สุจริต แต่อย่างใด ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องได้รับความเสียหายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก
ปรากฏตามคำฟ้องและทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน ของจำเลยที่ 1 และได้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ภายในขอบอำนาจแห่งฐานเป็นตัวแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดโดยกำหนดจำนวนหนี้แตกต่างกัน จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาทั้งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การค้ำประกัน, วงเงินจำกัดความรับผิด, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ย
ปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะหากปรากฏว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธไว้ ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบในเรื่องการมอบอำนาจไว้เพราะมีจำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดังกล่าวได้ว่า ได้มีการมอบอำนาจกันจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือนโดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่าในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การค้ำประกัน, วงเงินจำกัดความรับผิด, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น
ปัญหาว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะหากปรากฏว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธไว้ ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบในเรื่องการมอบอำนาจไว้เพราะมีจำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดังกล่าวได้ว่าได้มีการมอบอำนาจกันจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 6 เดือน โดยมีข้อความในสัญญาค้ำประกันเท้าความถึงสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่ามีจำนวนเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 3 สมัครใจยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดจนดอกเบี้ย ดังนี้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำกัดวงเงินเบิกเกินบัญชีไว้ไม่เกิน 50,000 บาท ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงจำกัดเฉพาะจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาทกับดอกเบี้ยเท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าหนึ่งวันก่อนครบ 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา จำเลยที่ 1เป็นหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 95,000 บาทเศษ ไม่อาจแยกได้ว่า ในจำนวนนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีเท่าใดและเป็นดอกเบี้ยเท่าใด ทั้งไม่ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีรวมกับดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นถึง 50,000 บาท เมื่อใดในระหว่างระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในยอดหนี้ในวันดังกล่าวเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อมีการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเดินสะพัดการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือเมื่อครบกำหนด 6 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้น และโจทก์มิได้หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเจตนาให้มีบัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปต่อมาโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 29 มีนาคม 2522 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันดังกล่าวต่อแต่นั้นไปคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการในละเมิดจากจ้างแรงงาน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดรับเหมาก่อสร้างโดยจ้างเหมาเฉพาะค่าแรงต่อไปเป็นจ้างแรงงาน ผู้รับเหมาต้องรับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงทำขึ้น หุ้นส่วนผู้จัดการคือหุ้นส่วนประเภทรับผิดไม่จำกัด ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็คที่ออกโดยผู้มีอำนาจจัดกิจการ และขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก.ได้แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการงานต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 และได้สั่งจ่ายเช็คแลกเงินสดจากโจทก์มาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
of 8