คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1482

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายและการฉ้อฉลเจ้าหนี้: ผลผูกพันต่อสินสมรสและการบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจำเลย รู้เห็นการกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยและได้ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยขายบ้านพิพาทให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์. ดังนี้ ถือเท่ากับว่าผู้ร้องอนุญาตให้จำเลยทำนิติกรรมกู้เงินโจทก์โดยปริยายแล้ว. นิติกรรมการกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์จึงผูกพันสินบริคณห์ระหว่างจำเลยและผู้ร้อง. ผู้ร้องไม่มีสิทธิบอกล้าง. การที่จำเลยร่วมมือกับผู้ร้องแกล้งจำหน่ายบ้านพิพาทให้ตกเป็นของผู้ร้องในการหย่ากันมิให้เป็นสินบริคณห์ต่อไป โดยรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ. เป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327. โจทก์มีสิทธินำยึดบ้านพิพาทมาดำเนินการบังคับคดีเอาชำระหนี้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายในการกู้ยืมและการฉ้อฉลเจ้าหนี้: ผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจำเลย รู้เห็นการกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยและได้ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยขายบ้านพิพาทให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ ดังนี้ ถือเท่ากับว่าผู้ร้องอนุญาตให้จำเลยทำนิติกรรมกู้เงินโจทก์โดยปริยายแล้วนิติกรรมการกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์จึงผูกพันสินบริคณห์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องผู้ร้องไม่มีสิทธิบอกล้างการที่จำเลยร่วมมือกับผู้ร้องแกล้งจำหน่ายบ้านพิพาทให้ตกเป็นของผู้ร้องในการหย่ากันมิให้เป็นสินบริคณห์ต่อไป โดยรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327
โจทก์มีสิทธินำยึดบ้านพิพาทมาดำเนินการบังคับคดีเอาชำระหนี้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายในการกู้ยืมและฉ้อฉลเจ้าหนี้: ผลผูกพันสินสมรสและการบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจำเลย รู้เห็นการกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยและได้ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยขายบ้านพิพาทให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ ดังนี้ ถือเท่ากับว่าผู้ร้องอนุญาตให้จำเลยทำนิติกรรมกู้เงินโจทก์โดยปริยายแล้ว นิติกรรมการกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์จึงผูกพันสินบริคณห์ระหว่างจำเลยและผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิบอกล้าง การที่จำเลยร่วมมือกับผู้ร้องแกล้งจำหน่ายบ้านพิพาทให้ตกเป็นของผู้ร้องในการหย่ากันมิให้เป็นสินบริคณห์ต่อไป โดยรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 โจทก์มีสิทธินำยึดบ้านพิพาทมาดำเนินการบังคับคดีเอาชำระหนี้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์ vs. หนี้ส่วนตัว: การยึดทรัพย์ชำระหนี้ต้องแยกส่วนก่อน
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่ เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์-หนี้ส่วนตัว: ยึดเรือนพิพาทไม่ได้หากผู้ร้องไม่ยินยอมและบอกล้างโมฆียะกรรม
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่ เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์และหนี้ส่วนตัว: การยึดเรือนพิพาทเมื่อสามีมิได้ยินยอม
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต. และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว. หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์. โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่. เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส.
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม. แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว. โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน. โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน. แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308-309/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นแชร์เปียหวยฟ้องร้องบังคับได้แม้ตกลงด้วยวาจา สัตยาบันหนี้โดยสามีภรรยา และดอกเบี้ยจากหนี้ผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เล่นแชร์กับจำเลยซึ่งเป็นนายวงและบรรยายถึงวิธีเล่นแชร์ไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แชร์แต่ละวงมีผู้เล่นกี่คน เป็นเงินวงละเท่าใด ส่งเงินไปแล้วเท่าใดดังนี้ ฟ้องโจทก์ชัดแจ้งพอที่จำเลยจะแก้ข้อหาได้แล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าแชร์แต่ละวงมีใครบ้าง เพราะผู้เล่นแชร์เหล่านั้นไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
การเล่นแชร์เปียหวยหาได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แม้ตกลงกันด้วยวาจาก็ฟ้องร้องบังคับกันได้
โจทก์กับพวกร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รับต่อหน้าผู้บังคับบัญชาว่าจะพยายามหาทางผ่อนชำระหนี้ที่จำเลยที่1 ก่อขึ้นดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในหนี้นี้แล้ว การให้สัตยาบันกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ
หนี้อันเกิดจากการเล่นแชร์เปียหวย เมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้โจทก์ย่อมเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: อำนาจร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: ผู้ไม่รู้เห็นการก่อหนี้มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตน
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบในคดีหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482
โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปใช้จ่ายในครอบครัว เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากัน แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากัน แต่หนี้ที่จะเกิดขึ้นแก่สามีหรือภริยาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันย่อมมีหลายชนิดด้วยกันและเฉพาะแต่หนี้บางชนิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เท่านั้น จึงจะเป็นหนี้ร่วม ฉะนั้น เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมเพื่อจะให้ผู้ร้องต้องรับผิดใช้หนี้จากสินสมรสและสินเดิม โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
of 10