พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: การขุดดินในที่ดินของผู้อื่นโดยมีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นของผู้เสียหาย จำเลยมีสิทธิเพียงครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน จำเลยชอบจะใช้ประโยชน์ในที่ดินตามปกติ การที่จำเลยอนุญาตให้ผู้อื่นขุดเอาดินไปโดยได้รับเงินค่าตอบแทน แล้วอ้างว่าจะทำสระเก็บน้ำในที่ดินที่เกิดเหตุเมื่อมีการขุดดินในที่ดินที่เกิดเหตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 20 เมตร ยาว 50 เมตร ลึก 7 เมตร คิดเป็นปริมาตรดินประมาณ 21,000 ลูกบาศก์เมตร นั้น เป็นการขุดดินที่มีความลึกและกว้างอย่างมาก จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าจะต้องมีการใช้เครื่องจักรเช่นรถแบ็กโฮตักดินในที่ดินที่เกิดเหตุจึงจะสามารถทำให้ที่เกิดเหตุเป็นหลุมขนาดใหญ่เช่นนั้นได้ เมื่อมีการใช้รถแบ็กโฮขุดเอาดินในที่ดินที่เกิดเหตุ จึงถือว่าจำเลยมีเจตนาใช้รถแบ็กโฮเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวนแก่การกระทำผิดและการพาทรัพย์นั้นไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะซึ่งต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะ: จำเลยที่ 2 พ้นผิด จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยใช้รถยนต์บรรทุกเป็นพาหนะเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไปตาม ป.อ. มาตรา 335 (7), 336 ทวิ, 83 ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดเพียงผู้เดียวโดยจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดเพียงฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 ประกอบมาตรา 336 ทวิ เท่านั้น ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – การยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกาหลังศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาทำนองปฏิเสธว่ามิได้กระทำความผิด เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัยนั้นไม่ชอบอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ และการเพิ่มโทษจำเลยที่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ. ล้างมลทิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักสายไฟฟ้าโดยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ซึ่งมีข้อความว่า ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 335 โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง หาได้บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพตามฟ้องกรณีก็หาได้ฟังเป็นยุติตามคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ในคดีวิ่งราวทรัพย์: รถจักรยานยนต์เป็นเพียงยานพาหนะ ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการวิ่งราวทรัพย์ จำเลยกับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้ให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่ การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ก็มิได้หมายความว่าจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการวิ่งราวทรัพย์ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยกับพวกได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง และไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระชากสร้อยคอเพื่อชดใช้หนี้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มีเจตนาทุจริตฐานวิ่งราวทรัพย์
จำเลยไปหาผู้เสียหายโดยมีเจตนาเพื่อทวงหนี้ที่ผู้เสียหายค้างชำระ โดยก่อนเกิดเหตุจำเลยพยายามยกถังแก๊สที่ผู้เสียหายใช้หุงต้มในการขายก๋วยเตี๋ยวไปเพื่อการชำระหนี้ แต่จำเลยเอาไปไม่ได้เพราะสามีผู้เสียหายไม่ยอมให้เอาไป ต่อมาจำเลยกับผู้เสียหายก็โต้เถียงกันอีกเรื่องที่ผู้เสียหายไม่ชำระหนี้ให้จำเลย ทำให้จำเลยโกรธแค้นจึงเข้ากระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายและเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปครึ่งเส้น แม้เพื่อชดเชยที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ แต่การบังคับชำระหนี้ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มิใช่กระชากสร้อยคอทองคำครึ่งเส้นของผู้เสียหายไปโดยพลการ ทั้งมูลหนี้ที่จำเลยมาทวงผู้เสียหายนั้น ผู้เสียหายเบิกความว่าเกิดจากหนี้การพนันหวยใต้ดิน ซึ่งจำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงเป็นมูลหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่ผู้เสียหายพึงชำระและแม้จำเลยเบิกความว่าเป็นหนี้เงินยืม จำเลยก็รับว่าที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ก็เพราะไม่มีลายมือชื่อของผู้เสียหาย หนี้กู้ยืมเงิน 2,000 บาท ของผู้เสียหายจึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ยืม จำเลยย่อมฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ กรณีจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะฟ้องร้องบังคับคดีต่อผู้เสียหายได้ด้วย ดังนั้น การกระชากสร้อยคอครึ่งเส้นของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการเอาไปโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 336
ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยขับรถยนต์ไปพบผู้เสียหายเพื่อทวงหนี้ แต่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ได้เกิดโต้เถียงกัน จำเลยจึงกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายไปได้ครึ่งเส้น เพื่อบังคับชำระหนี้แล้วขับรถยนต์ออกไปจากบริเวณที่เกิดเหตุนั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ทวิ
การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจไม่เคารพต่อกฎหมายของบ้านเมืองส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลซึ่งอยู่ร่วมกันในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง กรณีจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย
ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยขับรถยนต์ไปพบผู้เสียหายเพื่อทวงหนี้ แต่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ได้เกิดโต้เถียงกัน จำเลยจึงกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายไปได้ครึ่งเส้น เพื่อบังคับชำระหนี้แล้วขับรถยนต์ออกไปจากบริเวณที่เกิดเหตุนั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ทวิ
การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่อุกอาจไม่เคารพต่อกฎหมายของบ้านเมืองส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลซึ่งอยู่ร่วมกันในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง กรณีจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756-3757/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความผิดฐานลักทรัพย์สำหรับสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เสียหายมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) วรรคแรก มาตรา 336 ทวิ แม้ศาลชั้นต้นจะระบุว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ มาด้วย แต่ตามมาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดอาญา มาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากจากบทมาตราดังกล่าวไม่ การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 วรรคแรก แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8106/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการลงโทษและสถานที่ราชการ: การเพิ่มโทษตามมาตรา 336 ทวิ ต้องทำหลังกำหนดโทษ และลานจอดรถไม่ใช่สถานที่ราชการ
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นบทบัญญัติเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดไม่ ดังนั้น ศาลต้องเพิ่มระวางโทษตามมาตรา 335 หนักขึ้นกึ่งหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดระหว่างระวางโทษดังกล่าว ไม่ใช่กำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดเสียก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง
ลานจอดรถของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีเป็นเพียงสถานที่ซึ่งทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการ ตลอดจนข้าราชการของวิทยาลัย หาใช่เป็นสถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในวิทยาลัยโดยตรงแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยทั้งสองลักรถจักรยานยนต์จากบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก เท่านั้น
ลานจอดรถของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีเป็นเพียงสถานที่ซึ่งทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการ ตลอดจนข้าราชการของวิทยาลัย หาใช่เป็นสถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในวิทยาลัยโดยตรงแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยทั้งสองลักรถจักรยานยนต์จากบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รายงานการสืบเสาะและพินิจประกอบการพิจารณาโทษและการวินิจฉัยความผิดฐานใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำความผิด
การที่ศาลชั้นต้นรับฟังตามคำฟ้องของโจทก์ และคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 364, 335 ประกอบมาตรา 336 ทวิ และมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยนั้น ก็เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษแก่จำเลยสถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควร และเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลยต่อไปเท่านั้น มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น และแม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย จึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องของโจทก์แม้เพียงบางส่วนก็ไม่ได้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของจำเลยครั้งนี้ไม่ปรากฏเหตุอันจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ และยกฟ้องโจทก์บางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์โทษที่หนักขึ้นตาม ม.336 ทวิ และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบ
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้อระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่งหาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้แต่ยังคงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (3) (7) (8) วรรคสอง ตามที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นปรับบทจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำร้องของจำเลยใช้คำว่าขอให้ "ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" อนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยว่า กรณีคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำร้องของจำเลยใช้คำว่าขอให้ "ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" อนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยว่า กรณีคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225