คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 218

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินตามสัญญาเช่าเกษตร: ศาลมีอำนาจปฏิเสธคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ขัดกฎหมาย
เมื่อ คชก.ตำบลวินิจฉัยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ผู้เช่านากับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ให้เช่านา โดยให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่งกรณีย่อมอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 221 ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นขัดต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 218 วรรคสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 2 เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ คชก.ตำบล แต่มิได้ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ในข้อพิพาทซื้อขายที่ดินเช่า หากผู้รับโอนไม่ปฏิบัติตาม
เมื่อ คกช.ตำบลวินิจฉัยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ผู้เช่านากับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ให้เช่านา โดยให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ขายที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กรณีย่อมอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคสุดท้ายเมื่อจำเลยที่ 2 เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ คชก.ตำบล แต่มิได้ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมสำนวน - อำนาจวินิจฉัยศาลฎีกา - ข้อเท็จจริง - ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียว กันหกสำนวนซึ่ง เกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียว กัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้อง ฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎี กาของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึง ข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่ง ต้องห้าม ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใด ไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน และการพิจารณาโทษบรรเทาตามมาตรา 78
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียวกันหกสำนวน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้องฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎีกา ของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึงข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใดไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอข้อพิพาทราคาเวนคืนที่ดินต่อนอกศาล และการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรม จึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกันได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ.ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่า ให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ.ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วย จึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเรื่องเวนคืนที่ดิน: การเสนอคดีต่อศาลต้องเป็นคำฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรมจึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกัน ได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ. ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่าให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ. ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วยจึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาทผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้อง และผู้คัดค้าน กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธาน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการ จนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ. เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้ มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล กรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ. และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องและผู้คัดค้านกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธานศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการจนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ.เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาลแม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาลกรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ.และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: สัญญาซื้อขายระหว่างไทย-สหรัฐฯ และข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
แม้คำให้การจำเลยตอนแรกจะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้อง แต่ในตอนต่อมาเมื่อได้อ่านโดยตลอดแล้ว สรุปได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาตามสำเนาท้ายฟ้องจริง เพียงแต่ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวจะต้องบังคับตามกฎหมายไทย ศาลจึงรับฟังความมีอยู่และความถูกต้องของสัญญาได้
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์ค คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต่างประเทศและข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลไทยรับรองคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้
แม้คำให้การจำเลยตอนแรกจะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้องแต่ในตอนต่อมาเมื่อได้อ่านโดยตลอดแล้วสรุปได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาตามสำเนาท้ายฟ้องจริงเพียงแต่ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวจะต้องบังคับตามกฎหมายไทยศาลจึงรับฟังความมีอยู่และความถูกต้องของสัญญาได้
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทยโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์คคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
of 3