พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิครอบครอง แม้ครอบครองก่อนประกาศเป็นเขตป่าสงวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตป่า ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 239 (พ.ศ. 2510) ออกตามความใน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ทับที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ แม้ว่าโจทก์หรือบิดาโจทก์ได้ครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับที่ 239 ดังกล่าว จะได้ประกาศให้ที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาท เมื่อได้มีกฎกระทรวงประกาศกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ โจทก์หรือบิดาโจทก์จึงหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ และแม้โจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้ แต่การได้รับอนุญาตดังกล่าวก็มีผลให้โจทก์หรือบิดาโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิดังกล่าวในที่ดินพิพาทและโจทก์หรือบิดาโจทก์ก็ไม่อาจนำไปให้บุคคลอื่นเช่าได้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวไปให้จำเลยเช่าได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่า จำเลยได้ให้การไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็น ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการครอบครองของจำเลยมิได้อาศัยสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ด้วย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่า จำเลยได้ให้การไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็น ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการครอบครองของจำเลยมิได้อาศัยสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับของผิดกฎหมาย และการแยกความผิดเป็นหลายกรรมต่างกัน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับ เลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียว หรือหลายกรรมต่างกัน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ระบุในฟ้องแล้วว่า จำเลยได้บังอาจซื้อ รับจำนำ หรือ รับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลาง และได้ช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้นซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ดังกล่าว โดยจำเลย รู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นได้ลักลอบนำหนีศุลกากรเข้ามา ในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ทั้งนี้ โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และคำขอท้ายฟ้อง โจทก์อ้าง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ และ พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 เช่นนี้ นับว่าเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางเป็นของต้องห้าม ต้องกำ กัดตามกฎหมายในการนำเข้าและต้องชำระภาษี โจทก์หาจำต้องระบุว่าเป็นของต้องห้ามต้องกำ กัดตามประกาศ ของกระทรวงใดอีกไม่ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และ (6) แล้ว การพิจารณาว่า การกระทำเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงว่า ถ้าเป็นการกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวแล้วจะต้องเป็นกรรมเดียวเสมอไป การกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกันหรือประสงค์จะให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐาน การที่ตามวันเวลาเกิดเหตุซึ่งเจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดของกลางในคดีในข้อหาความผิด ทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แปรรูปไม้ มีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครอง เกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร กรณีมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน และการจ่ายรางวัลผู้แจ้งความนำจับต้องเป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา4, 6, 9, 14, 31, 35 พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 11, 48,73, 74, 74 ทวิ, 74 จัตวา ป.อ.มาตรา 83, 91 พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9ริบของกลาง จ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและจ่ายรางวัลแก่ผู้จับจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และได้บัญญัติความแทนว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้จำคุกคนละ 4 เดือน ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายระวางโทษไว้ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางที่ศาลสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางที่ศาลสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน และการจ่ายรางวัลผู้แจ้งความนำจับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 4,6,9,14,31,35 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4,11,48,73,74,74 ทวิ,74 จัตวา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 4,5,6,7,8,9 ริบของกลางจ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและจ่ายรางวัลแก่ผู้จับ จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งยกเลิกโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และได้บัญญัติความแทนว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ จำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็น ไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้จำคุก คนละ 4 เดือน ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายระวางโทษไว้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัล ร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า การที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคา เครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษา แก้เป็นให้ จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลาง ที่ศาลสั่งให้ริบตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและในเขตป่าสงวน ถือเป็นความผิดฐานทำไม้ แม้ไม้จะตกเป็นของแผ่นดิน
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (5) ประกอบมาตรา11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้น การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามมาตรา 73
จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลงพ.ศ.2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย
จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลงพ.ศ.2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักลากไม้โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ และความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) ประกอบมาตรา 11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้นการชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำ ต้องรับโทษตามมาตรา 73 จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนด หลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำ ไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลง พ.ศ. 2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการทำไม้ตามฟ้อง: การชักลากไม้เกินคำฟ้อง
แม้ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 และ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้นิยามความหมายของคำว่า "ทำไม้" นอกจากจะหมายความว่า "ตัด" "ฟัน""ทอน" แล้วยังรวมถึง "ชักลาก" ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำไม้โดยตัดฟันออกจากต้นแล้วทอนเป็นท่อน ๆ โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนี้ ข้อที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชักลากไม้ออกจากป่า เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือคำฟ้องจึงรับฟังลงโทษจำเลยฐานทำไม้โดยการชักลากไม้ออกจากป่าไม่ได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในความผิดฐานทำไม้ การบรรยายฟ้องต้องครอบคลุมการกระทำทั้งหมด
แม้ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ให้นิยามความหมายของคำว่า "ทำไม้" นอกจากจะ หมายความว่า "ตัด""ฟัน" "ทอน" แล้วยังรวมถึง "ชักลาก" ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้อง ว่า จำเลยทำไม้โดยตัดฟันออกจากต้นแล้วทอนเป็นท่อน ๆ โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ข้อที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชักลากไม้ออกจากป่า เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือคำฟ้องจึงรับฟังลงโทษจำเลยฐานทำไม้โดยการชักลากไม้ออกจากป่าไม่ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน, ครอบครองไม้ผิดกฎหมาย, และหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ศาลฎีกาแก้ไขข้อหาฐานทำไม้ให้ถูกต้อง
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 โดยในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 ที่เป็นบทกฎหมายมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นว่านั้นเป็นความผิดมาด้วย ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ และการแก้ไขคำพิพากษาฐานความผิด
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 โดยในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 ที่เป็นบทกฎหมายมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นว่านั้นเป็นความผิดมาด้วย ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้หาได้ไม่