พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน, ครอบครองไม้ผิดกฎหมาย, และหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ศาลฎีกาแก้ไขข้อหาฐานทำไม้ให้ถูกต้อง
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 โดยในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 ที่เป็นบทกฎหมายมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นว่านั้นเป็นความผิดมาด้วย ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โจทก์มีหน้าที่สืบพยาน
แม้ตามคำฟ้องโจทก์ได้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม กล่าวคือ ข้อแรก จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำไม้มะค่าโมงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าขุนซ่องโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตัดฟันเป็นท่อน ๆรวม 2 ท่อน วัดปริมาตรได้ 3.48 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่...ฯลฯ... ข้อสอง จำเลยทั้งห้าร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินบุกรุกเข้าไปทำไม้ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เข้าไปทำไม้มะค่าโมงจำนวน 2 ต้น ทำลายต้นไม้ในป่าขุนซ่องอันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต...ฯลฯ... ก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาในการกระทำผิดว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 เวลากลางวัน โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง การบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในคราวเดียวกันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การสืบพยานและการสอบถามคำให้การจำเลย
แม้ตามคำฟ้องโจทก์ได้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม กล่าวคือ ข้อแรก จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำไม้มะค่าโมง ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ในเขตป่าขุนซ่องโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตัดฟันเป็นท่อน ๆ รวม2 ท่อน วัดปริมาตรได้ 3.48 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ฯลฯ ข้อสอง จำเลยทั้งห้าร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินบุกรุกเข้าไปทำไม้ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เข้าไปทำไม้มะค่าโมงจำนวน 2 ต้นทำลายต้นไม้ในป่าขุนซ่องอันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ ก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาในการกระทำผิดว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิดในวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 เวลากลางวัน โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง การบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในคราวเดียวกันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอาการที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ทำไม้ในเขตป่าสงวน ความผิดต่อเนื่องเจตนาเดียว
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกัน แต่เมื่ออ่านรวมกันแล้วได้ความว่าจำเลยเข้าไปตัดต้นยูคาลิปตัสในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 38 ต้น แล้วทอนออกเป็นท่อนได้ 250 ท่อน และใช้รถยนต์บรรทุกออกจากป่าไปในวันเวลาเดียวกันไม้ที่จำเลยตัดฟันและลักเอาไปจึงเป็นไม้จำนวนเดียวกัน และได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อประสงค์ต้องการไม้เท่านั้น จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ตัดไม้ในเขตป่าสงวนฯ แม้ฟ้องแยกกรรม แต่เจตนาเดียว โทษฐานทำไม้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกันแต่เมื่ออ่านรวมกันแล้วได้ความว่าจำเลยเข้าไปตัดต้นยูคาลิปตัสในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน38ต้นแล้วทอนออกเป็นท่อนได้250ท่อนและใช้รถยนต์บรรทุกออกจากป่าในวันเวลาเดียวกันไม้ที่จำเลยตัดฟันและลักเอาไปจึงเป็นไม้จำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อประสงค์ต้องการไม้เท่านั้นจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14,31วรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำกินในป่าสงวนสิ้นสุดเมื่อหมดอายุอนุญาต การฟ้องร้องหน่วยงานรัฐด้วยสิทธิครอบครองเป็นโมฆะ
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทตามหนังสืออนุญาต สทก.1 มีกำหนดระยะเวลา5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2527 ถึง 1 ตุลาคม 2532 ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทในปี 2533 อันเป็นเวลาหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสืออนุญาต สทก.1 ของโจทก์ สิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507มาตรา 16 ประกอบมาตรา 14 ย่อมสิ้นสุดไปแล้ว ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่เป็นส่วนราชการและเป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั่นเอง ซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7719/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกณฑ์การลงโทษบทหนัก-บทเบา: ใช้บทที่มีโทษจำคุกสูงสุด แม้บทหนักไม่มีโทษขั้นต่ำ
การวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดมีโทษหนักกว่ากัน ต้องถือตามลำดับที่วางไว้ใน ป.อ.มาตรา 18 ถ้าเป็นโทษในลำดับเดียวกันต้องถือบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เมื่อ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54วรรคหนึ่ง กำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง50,000 บาท โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบทหนักกว่า และเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้ว ก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียว ถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำ แต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7719/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษบทหนักตามกฎหมายอาญา: เปรียบเทียบอัตราโทษจำคุกและปรับเพื่อลงโทษบทที่หนักที่สุด
การวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดมีโทษหนักกว่ากันต้องถือตามลำดับที่วางไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา18ถ้าเป็นโทษในลำดับเดียวกันต้องถือบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์เมื่อพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535มาตรา54วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน7ปีหรือปรับไม่เกิน100,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับแต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา31วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่6เดือนถึง5ปีและปรับตั้งแต่5,000ถึง50,000บาทโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535มาตรา54วรรคหนึ่งจึงเป็นบทหนักกว่าและเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้วก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียวถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำแต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตกทอดแก่ทายาท ผู้ครอบครองแทนไม่มีสิทธิโต้แย้ง และฎีกาเรื่องสิทธิครอบครองซ้ำหากไม่เคยอุทธรณ์
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของอ.มิใช่สิทธิเฉพาะตัวจึงตกได้แก่ทายาทโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของอ. จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่เข้าโต้แย้งสิทธิได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของอ.ผู้ตายและตกได้แก่ฤ.ทายาทตามพินัยกรรมจำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของอ.เท่านั้นไม่มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใดจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติแล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยที่2จึงหาอาจยกปัญหาเรื่องจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ต่อไปไม่เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินตกได้แก่ทายาท การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาต้องห้าม
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของ อ.มิใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงตกได้แก่ทายาท โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ.จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่เข้ามาโต้แย้งสิทธิได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของ อ.ผู้ตายและตกได้แก่ ฤ.ทายาทตามพินัยกรรม จำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ อ.เท่านั้น ไม่มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใดจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 จึงหาอาจยกปัญหาเรื่องจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ต่อไปไม่ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของ อ.ผู้ตายและตกได้แก่ ฤ.ทายาทตามพินัยกรรม จำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ อ.เท่านั้น ไม่มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใดจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 จึงหาอาจยกปัญหาเรื่องจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ต่อไปไม่ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง