พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในห้องแถวบนที่ดินป่าสงวน: สิทธิระหว่างเอกชนย่อมมีผลผูกพัน แม้ที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันเมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอม รับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาท จากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิก สัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในห้องแถวบนป่าสงวน: สัญญาเช่าผูกพันแม้ราษฎรยึดครองโดยมิชอบ สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่า
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของ เมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอมรับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลยเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังประกาศเป็นป่าสงวน: การสละสิทธิจากการไม่แสดงเจตนาภายในกำหนด
จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินมาก่อนที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่เมื่อจำเลยได้ทราบประกาศให้ที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ จึงถือว่าจำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้วตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อป่าไม้อำเภอแจ้งว่าจำเลยบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติให้ออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกโดย ยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 14,31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ และป่าสงวนฯ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ครอบครองที่ดินพิพาท เป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ จำเลยอาศัยสิทธิของกรมป่าไม้จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เรียกกรมป่าไม้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินเขาแหลมหญ้าตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติออกใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2524 ที่ดินพิพาทก็อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 893(2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 16(1) ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้างแผ้วถางหรือเผาป่า โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องขอกันที่พิพาทออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติหรืออุทยานแห่งชาติ ดังนั้นการที่โจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดิน ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง แม้จะรับโอนมาจากผู้ที่ครอบครองอยู่ก่อนนานเท่าใดก็ตามเพราะเป็นที่ดินที่ไม่อาจโอนกันได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งมารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีบุกรุกป่าสงวน การรับสารภาพของผู้ต้องหา และการพิจารณาความชัดเจนของสถานที่เกิดเหตุ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สถานที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนแนวเขตเพิกถอนปรากฏตามสำเนากฎกระทรวงและภาพถ่ายแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวงที่แนบท้ายฟ้อง แม้ตามกฎกระทรวงจะมีการเพิกถอนป่าแม่แตง บางส่วนออกจากการเป็นป่าสงวน ก็ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุ ครบองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 14 พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว และเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงเป็นการรับรวมไปถึงว่าสถานที่ที่จำเลยบุกรุกอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ: จำเลยทราบสถานะที่ดินแล้ว แม้ไม่มีประกาศหรือป้ายเตือน
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงการปิดประกาศกฎกระทรวง มีหลักป้ายหรือเครื่องหมายแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ไม่ได้หมายความว่าทางราชการไม่ได้เคยดำเนินการดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็คงไม่รู้ว่าบริเวณนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงการที่ทางราชการได้ปิดประกาศดังกล่าว ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียไปจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความสุจริตทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และแม้จะไม่ได้แจ้งหรือสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียก่อนดำเนินคดี ก็จะถือว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะกระทำผิดทางอาญาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยทราบสถานะป่าสงวนแห่งชาติ แม้ไม่มีหลักฐานประกาศ, สุจริตไม่มีผล, เจตนาผิดมี
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงการปิดประกาศกฎกระทรวง มีหลักป้ายหรือเครื่องหมายแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ไม่ได้หมายความว่าทางราชการไม่ได้เคยดำเนินการดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็คงไม่รู้ว่าบริเวณนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงการที่ทางราชการได้ปิดประกาศดังกล่าว ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียไป จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความสุจริตทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และแม้จะไม่ได้แจ้งหรือสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียก่อนดำเนินคดี ก็จะถือว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะกระทำผิดทางอาญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ความผิดต่อเนื่องกับการครอบครองไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองแผ้วถาง เผาป่า และโค่นตัดฟันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยระบุเวลาในการกระทำผิดว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่ 4เมษายน 2532 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน แต่มิได้ระบุว่ากระทำผิดฐานใด ในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในคราวเดียวกัน เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ส่วนความผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานยึดถือครอบครองแผ้วถาง เผาป่าและโค่นตัดฟันทำไม้ในป่าสงวนแห่งชาติ ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดในความผิดป่าสงวนฯ การครอบครองก่อนเป็นป่าสงวนฯ ถือไม่มีเจตนา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถาง ทำไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและมิได้รับยกเว้นตามกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพว่า ได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวจริง เป็นเวลา 33 ปีแล้ว โจทก์ไม่สืบพยาน ดังนี้คำให้การของจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ว่าจำเลยได้เข้าไปในที่ดินตามฟ้องก่อนที่ที่ดินดังกล่าวจะเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิด ลงโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราโทษป่าไม้สูงกว่าป่าสงวนแห่งชาติ: เปรียบเทียบ พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 กับ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง มีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสองซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปีโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ.