พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบอัตราโทษระหว่าง พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ: บทหนักกว่าคือ พ.ร.บ.ป่าไม้
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองมีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้และสนับสนุนการเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: ความผิดฐานสนับสนุนและการลงโทษ
ไม้ฟืนเป็นไม้ที่ไม่เหมาะสมจะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นนอกจากเป็นเชื้อเพลิงพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา4ก็ได้ให้คำนิยามของคำว่าไม้กับคำว่าของป่าไว้แยกต่างหากจากกันและไม้ฟืนถูกกำหนดให้เป็นของป่าอย่างหนึ่งไม้ฟืนจึงไม่ใช่ไม้ตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยนำไม้ฟืนออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงไม่มีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม้ฟืนของกลางที่จำเลยรับจ้างบรรทุกรถยนต์มานั้นถูกเก็บกองอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติความผิดฐานเก็บหาไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงยังไม่ขาดตอนการที่จำเลยหลบหนีไปเพราะพบเห็นเจ้าหน้าที่แสดงว่าจำเลยทราบดีว่าไม้ฟืนของกลางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำเลยรับจ้างบรรทุกไม้ฟืนอันเป็นของป่าซึ่งมีผู้กระทำผิดนำมากองไว้เพื่อจะนำออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดฐานเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14,31วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา86ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา29ทวิ71ทวิลงโทษบทหนักที่สุดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้และเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวน: ไม้ฟืนไม่ใช่ไม้แต่เป็นของป่า, ผู้สนับสนุนการกระทำผิด
ไม้ฟืนเป็นไม้ที่ไม่เหมาะสมจะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นนอกจากเป็นเชื้อเพลิง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามของคำว่าไม้กับคำว่าของป่าไว้แยกต่างหากจาก กัน และไม้ฟืนถูกกำหนดให้เป็นของป่าอย่างหนึ่ง ไม้ฟืนจึงไม่ใช่ไม้ตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยนำไม้ฟืนออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงไม่มีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม้ฟืนของกลางที่จำเลยรับจ้างบรรทุกรถยนต์มานั้นถูกเก็บกองอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ความผิดฐานเก็บหาไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงยังไม่ขาดตอน การที่จำเลยหลบหนีไปเพราะพบเห็นเจ้าหน้าที่ แสดงว่าจำเลยทราบดีว่าไม้ฟืนของกลางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำเลยรับจ้างบรรทุกไม้ฟืนอันเป็นของป่าซึ่งมีผู้กระทำผิดนำมากองไว้เพื่อจะนำออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดฐานเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ,71 ทวิลงโทษบทหนักที่สุดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้และเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวน การสนับสนุนความผิด และการลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนและป่าไม้
ไม้ฟืนเป็นไม้ที่ไม่เหมาะสมจะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นนอกจากเป็นเชื้อเพลิง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามของคำว่าไม้กับคำว่าของป่าไว้แยกต่างหากจากกัน และไม้ฟืนถูกกำหนดให้เป็นของป่าอย่างหนึ่ง ไม้ฟืนจึงไม่ใช่ไม้ตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยนำไม้ฟืนออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงไม่มีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม้ฟืนของกลางที่จำเลยรับจ้างบรรทุกรถยนต์มานั้นถูกเก็บกองอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ความผิดฐานเก็บหาไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงยังไม่ขาดตอน การที่จำเลยหลบหนีไปเพราะพบเห็นเจ้าหน้าที่ แสดงว่าจำเลยทราบดีว่าไม้ฟืนของกลางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยรับจ้างบรรทุกไม้ฟืนอันเป็นของป่าซึ่งมีผู้กระทำผิดนำมา กองไว้เพื่อจะนำออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดฐานเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ71 ทวิ ลงโทษบทหนักที่สุดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่แสดงสิทธิภายในกำหนด ทำให้สิทธิสิ้นสุด และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวน
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงและแผนที่ท้ายกฎกระทรวงให้ราษฎรได้ทราบว่าบริเวณป่าที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้วไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน 90วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ แม้จำเลยปลูกบ้านอยู่มาก่อนก็ถือว่าจำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้วตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อนายอำเภอสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป ย่อมเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติเพราะทำให้ที่ดินนั้นกลายเป็นที่บ้านอยู่อาศัย ไม่เป็นที่ดินตามสภาพเดิมอีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ การสละสิทธิเมื่อไม่แสดงเจตนาภายในกำหนด และความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงและแผนที่ท้ายกฎกระทรวงให้ราษฎรได้ทราบว่าบริเวณป่าที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้วไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ แม้จำเลยปลูกบ้านอยู่มาก่อนก็ถือว่าจำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้วตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อนายอำเภอสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป ย่อมเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติเพราะทำให้ที่ดินนั้นกลายเป็นที่บ้านอยู่อาศัย ไม่เป็นที่ดินตามสภาพเดิมอีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เขตควบคุมการแปรรูปไม้เป็นหน้าที่โจทก์ การกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้และมีไม้สักแปรรูปในท้องที่ซึ่งอยู่ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวหา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ นำสืบให้เห็นว่าได้มีการคัดสำเนาประกาศซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรประกาศกำหนดให้ตำบลที่เกิดเหตุเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้ปิดไว้ ในที่ต่าง ๆ ตามที่พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 5 กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว คดีจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้และมีไม้สักแปรรูปไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1333/2523) การทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และการมีไม้สักมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครอง การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้เป็นหน้าที่ของโจทก์ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ คดีความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้และมีไม้สักแปรรูปต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้และมีไม้สักแปรรูปในท้องที่ซึ่งอยู่ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวหา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการคัดสำเนาประกาศ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรประกาศกำหนดให้ตำบลที่เกิดเหตุเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้ปิดไว้ในที่ต่าง ๆ ตามที่พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 5 กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว คดีจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้และมีไม้สักแปรรูปไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1333/2523)
การทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และการมีไม้สักมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครอง การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
การทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และการมีไม้สักมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครอง การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินป่าสงวนต่อเนื่อง: ไม่ถือเป็นการทำลายป่าใหม่ แม้มีการขุดดิน
จำเลยขุดดินทำคันนาในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุอันเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากการกระทำความผิดในคดีก่อนคือการยึดถือครอบครองที่เกิดเหตุที่ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว การขุดดินทำคันนาเป็นการแสดงออกว่าจำเลยยังคงเป็นผู้ยึดถือครอบครองอยู่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำลายและทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติขึ้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3700/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินในเขตป่าสงวนโดยไม่มีเจตนา กฎหมายกำหนดให้ต้องมีเจตนาในการกระทำผิด จึงไม่มีความผิด
การที่จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยจำเลยไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำ ของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด จำเลยไม่มีความผิด ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14
คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งจำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองนั้น เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรานี้แล้วศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้
คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งจำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองนั้น เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรานี้แล้วศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้