พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศภายใต้กฎหมายอนุญาโตตุลาการและการปฏิเสธการบังคับตามเหตุที่กฎหมายกำหนด
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่งซึ่งศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 34 หรือมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เหตุใดเหตุหนึ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวมิได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นเลยว่า มีเหตุที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นโดยเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของคนต่างด้าว, อายุความค่าสิทธิประดิษฐ์, การบอกเลิกสัญญา, และการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ช.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลย หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้ประกอบธุรกิจบริการ โดยการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนการค้าไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 4 และตามบัญชี ก.ท้ายประกาศ หมวด 3(5)
ค่าสิทธิประดิษฐ์ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ฝึกสอนวิธีการประดิษฐ์กระเบื้องซีรามิคตามสัญญา ซึ่งมีการตกลงจ่ายเป็นงวด ๆ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย นั้น ไม่เข้าลักษณะการเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) (7) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
หนังสือของจำเลยตอบหนังสือของโจทก์ที่ถามความเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาว่าจำเลยตกลงใจไม่ต่อสัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิคกับโจทก์และโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่า โจทก์ตกลงตามที่จำเลยตัดสินใจ ดังนี้ หนังสือของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ แต่เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสนองตอบตามที่โจทก์ขอความเห็นหรือหารือล่วงหน้าก่อนครบกำหนดต่ออายุสัญญาว่า จะมีการต่ออายุสัญญาต่อไปหรือไม่โจทก์กลับมีหนังสืออันมีข้อความในลักษณะเป็นการตกลงตามที่จำเลยสนองตอบข้อหารือของโจทก์นั้น จึงเท่ากับตกลงที่จะไม่ต่ออายุสัญญากันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จำเลยมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ข้อขัดแย้งหรือข้อเรียกร้องใดซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้หรือการประพฤติปฏิบัติผิดสัญญานี้ คู่สัญญาจะทำความตกลงกันด้วยสันติวิธี ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้จะต้องชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ ดังนี้ สัญญามิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องตั้งอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน จึงจะฟ้องได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน
ค่าสิทธิประดิษฐ์ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ฝึกสอนวิธีการประดิษฐ์กระเบื้องซีรามิคตามสัญญา ซึ่งมีการตกลงจ่ายเป็นงวด ๆ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย นั้น ไม่เข้าลักษณะการเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) (7) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
หนังสือของจำเลยตอบหนังสือของโจทก์ที่ถามความเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาว่าจำเลยตกลงใจไม่ต่อสัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิคกับโจทก์และโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่า โจทก์ตกลงตามที่จำเลยตัดสินใจ ดังนี้ หนังสือของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ แต่เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสนองตอบตามที่โจทก์ขอความเห็นหรือหารือล่วงหน้าก่อนครบกำหนดต่ออายุสัญญาว่า จะมีการต่ออายุสัญญาต่อไปหรือไม่โจทก์กลับมีหนังสืออันมีข้อความในลักษณะเป็นการตกลงตามที่จำเลยสนองตอบข้อหารือของโจทก์นั้น จึงเท่ากับตกลงที่จะไม่ต่ออายุสัญญากันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จำเลยมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ข้อขัดแย้งหรือข้อเรียกร้องใดซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้หรือการประพฤติปฏิบัติผิดสัญญานี้ คู่สัญญาจะทำความตกลงกันด้วยสันติวิธี ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้จะต้องชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ ดังนี้ สัญญามิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องตั้งอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน จึงจะฟ้องได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์-สัญญาประกันภัย-อายุความ-การชำระหนี้ต่างประเทศ: ศาลรับฟังเอกสาร-คำให้การไม่ชัดเจน
จำเลยที่2เป็นกรรมการจำเลยที่1จำเลยที่2ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้ติดต่อกับต่างประเทศในด้านการทำประกันภัยต่อระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศของจำเลยที่1จำเลยที่2ลงชื่อในสัญญาที่ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่1รู้เห็นและไม่ทักท้วงจำเลยที่2จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่1ในการทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เมื่อสัญญาเหล่านั้นเกี่ยวด้วยการรับประกันภัยอันอยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่1โจทก์กับจำเลยที่1จึงย่อมมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยที่2มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารที่อ้างและทนายจำเลยที่1คัดค้านมิให้ศาลรับฟังแต่เมื่อประธานกรรมการจำเลยที่1เบิกความทนายจำเลยที่2ได้ถามพยานเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวพยานเบิกความรับรองศาลชั้นต้นรับเอกสารนี้ไว้และสั่งให้จำเลยที่2เสียค่าอ้างจำเลยที่2ได้เสียค่าอ้างเอกสารแล้วศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ ตามเอกสารท้ายฟ้องมีข้อความว่าโจทก์เป็นผู้ถือบันทึกประกันภัยจำเลยที่1เป็นผู้รับประกันภัยโดยยอมรับส่วนการประกันภัยและยอมให้โจทก์มีอำนาจผูกพันบัญชีของจำเลยที่1และมีอำนาจออกกรมธรรม์ประกันภัยในนามของจำเลยที่1อันเกี่ยวกับการประกันภัยโดยตรงและการประกันภัยโดยทางอ้อมเมื่อได้ความตามฟ้องว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้มีการทำสัญญาเกี่ยวกับการรับประกันภัยเกิดขึ้นและมีหนี้ผูกพันเกี่ยวด้วยการปฏิบัติตามสัญญานั้นที่จำเลยที่1ค้างชำระแก่โจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่ปรากฏตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่1ว่าจำเลยที่1ไม่มีสัมพันธ์ใดๆกับโจทก์ดังนั้นจึงไม่มีกรณีที่จำเลยที่1จะยอมเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแม้โจทก์มีความประสงค์เช่นนั้นและปรากฏตามฟ้องว่าก่อนฟ้องโจทก์ทวงถามจำเลยที่1ให้ชำระหนี้แล้วจำเลยที่1ไม่ชำระการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ โจทก์ฟ้องเรียกเงินในส่วนที่จำเลยที่1จะต้องรับผิดต่อโจทก์อ้างความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่1และบริษัทคนกลางมีเอกสารท้ายฟ้องประกอบแสดงรายละเอียดจำนวนเงินที่จำเลยที่1ค้างชำระในแต่ละงวดแต่ละปีรวมเป็นยอดหนี้ทั้งสิ้นและขอให้ศาลบังคับจำเลยที่1ชำระตามยอดเงินตรงกับเอกสารท้ายฟ้องเป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความโดยมิได้อ้างเหตุว่าขาดอายุความกรณีใดบ้างเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในแต่ละประเภทมีกำหนดเวลาต่างกันคำให้การจำเลยที่1จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ในกรณีที่ต้องชำระหนี้กันเป็นเงินตราต่างประเทศศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินตราต่างประเทศหรือมิฉะนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินไทยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวไม่มีก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยต่อ สัญญาประกันภัย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับประกันภัย โจทก์ และบริษัทคนกลาง อำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้ติดต่อกับต่างประเทศในด้านการทำประกันภัยต่อ ระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาที่ทำกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นและไม่ทักท้วง จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ในการทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ เมื่อสัญญาเหล่านั้นเกี่ยวด้วยการรับประกันภัยอันอยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 1 โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารที่อ้าง และทนายจำเลยที่ 1 คัดค้านมิให้ศาลรับฟัง แต่เมื่อประธานกรรมการจำเลยที่1 เบิกความทนายจำเลยที่ 2 ได้ถามพยานเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว พยานเบิกความรับรองศาลชั้นต้นรับเอกสารนี้ไว้และสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าอ้าง จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารแล้ว ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
ตามเอกสารท้ายฟ้องมีข้อความว่า โจทก์เป็นผู้ถือบันทึกประกันภัยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัย โดยยอมรับส่วนการประกันภัย และยอมให้โจทก์มีอำนาจผูกพันบัญชีของจำเลยที่ 1และมีอำนาจออกกรมธรรม์ประกันภัยในนามของจำเลยที่ 1 อันเกี่ยวกับการประกันภัยโดยตรงและการประกันภัยโดยทางอ้อมเมื่อได้ความตามฟ้องว่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มีการทำสัญญาเกี่ยวกับการรับประกันภัยเกิดขึ้น และมีหนี้ผูกพันเกี่ยวด้วยการปฏิบัติตามสัญญานั้นที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด แต่ปรากฏตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ดังนั้นจึงไม่มีกรณีที่จำเลยที่ 1 จะยอมเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ แม้โจทก์มีความประสงค์เช่นนั้น และปรากฏตามฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินในส่วนที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ อ้างความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 และบริษัทคนกลางมีเอกสารท้ายฟ้องประกอบแสดงรายละเอียดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในแต่ละงวด แต่ละปี รวมเป็นยอดหนี้ทั้งสิ้น และขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระตามยอดเงินตรงกับเอกสารท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้อ้างเหตุว่าขาดอายุความกรณีใดบ้าง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในแต่ละประเภทมีกำหนดเวลาต่างกันคำให้การจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
ในกรณีที่ต้องชำระหนี้กันเป็นเงินตราต่างประเทศศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินตราต่างประเทศหรือมิฉะนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษา ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวไม่มี ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารที่อ้าง และทนายจำเลยที่ 1 คัดค้านมิให้ศาลรับฟัง แต่เมื่อประธานกรรมการจำเลยที่1 เบิกความทนายจำเลยที่ 2 ได้ถามพยานเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว พยานเบิกความรับรองศาลชั้นต้นรับเอกสารนี้ไว้และสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าอ้าง จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารแล้ว ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
ตามเอกสารท้ายฟ้องมีข้อความว่า โจทก์เป็นผู้ถือบันทึกประกันภัยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัย โดยยอมรับส่วนการประกันภัย และยอมให้โจทก์มีอำนาจผูกพันบัญชีของจำเลยที่ 1และมีอำนาจออกกรมธรรม์ประกันภัยในนามของจำเลยที่ 1 อันเกี่ยวกับการประกันภัยโดยตรงและการประกันภัยโดยทางอ้อมเมื่อได้ความตามฟ้องว่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มีการทำสัญญาเกี่ยวกับการรับประกันภัยเกิดขึ้น และมีหนี้ผูกพันเกี่ยวด้วยการปฏิบัติตามสัญญานั้นที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด แต่ปรากฏตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ดังนั้นจึงไม่มีกรณีที่จำเลยที่ 1 จะยอมเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ แม้โจทก์มีความประสงค์เช่นนั้น และปรากฏตามฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินในส่วนที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ อ้างความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 และบริษัทคนกลางมีเอกสารท้ายฟ้องประกอบแสดงรายละเอียดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในแต่ละงวด แต่ละปี รวมเป็นยอดหนี้ทั้งสิ้น และขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระตามยอดเงินตรงกับเอกสารท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้อ้างเหตุว่าขาดอายุความกรณีใดบ้าง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในแต่ละประเภทมีกำหนดเวลาต่างกันคำให้การจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
ในกรณีที่ต้องชำระหนี้กันเป็นเงินตราต่างประเทศศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินตราต่างประเทศหรือมิฉะนั้นให้คิดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินไทย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษา ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวไม่มี ก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นตัวแทน สัญญาประกันภัย และอำนาจฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทน, จำเลย และโจทก์ในการทำสัญญาประกันภัย
จำเลยที่1มีกิจการประกันภัยต่อกับบริษัทต่างๆทั้งที่มีชื่อเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศหลายสิบแห่งจำเลยที่1มอบหมายหน้าที่ให้จำเลยที่2เป็นผู้ติดต่อกับต่างประเทศในด้านการทำประกันภัยต่อระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศของจำเลยที่1โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของจำเลยที่1ควบคุมดูแลการทำงานของจำเลยที่2อย่างใกล้ชิดจำเลยที่2ได้ทำสัญญาโดยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนรับประกันภัยในประเทศฮอลแลนด์ ฯลฯแทนจำเลยที่1โดยจำเลยที่1รู้เห็นและไม่ทักท้วงเช่นนี้จำเลยที่2จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่1ในการทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์โจทก์กับจำเลยที่1จึงมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ตามข้อสัญญากำหนดให้ทั้งสองฝ่ายเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแต่ปรากฏตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่1ว่าจำเลยที่1ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆกับโจทก์จึงไม่มีกรณีที่จำเลยที่1จะยอมเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องโจทก์ทวงถามจำเลยที่1ให้ชำระหนี้แล้วจำเลยที่1ไม่ชำระการกระทำของจำเลยที่1เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนได้ จำเลยที่1ให้การเพียงว่าฟ้องขาดอายุความมิได้อ้างเหตุว่าขาดอายุความในกรณีใดบ้างเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาซื้อขาย, อายุความค่าเสียหาย, และผลของการคืนสัญญาค้ำประกันโดยเข้าใจผิด
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่า ถ้ามีกรณีโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อสัญญา อันคู่สัญญาจะตกลงประนีประนอมกันมิได้ ให้คู่สัญญาเสนอข้อพิพาทที่โต้แย้งต่ออนุญาโตตุลาการที่พักอาศัยในประเทศไทยเพื่อชี้ขาด โดยต่างฝ่ายต่างมีสิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละหนึ่งคนนั้น หมายถึงข้อขัดแย้งอันเป็นอุปสรรคที่ทำให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ การที่จำเลยที่ 1 ส่งของไม่ตรงตามกำหนดสัญญาและส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับพิธีศุลกากรให้โจทก์ล่าช้า จึงมิใช่ข้อขัดแย้งอันเกิดจากสัญญาซึ่งจะต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ทั้งตามสัญญาก็ไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลได้
จำเลยมิได้ยกอายุความเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การคงให้การต่อสู้เฉพาะเรื่องเบี้ยปรับ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความเกี่ยวกับค่าเสียหายมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะรับวินิจฉัยหรือศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไม่มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์คืนสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันโดยเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับกับค่าเสียหายให้โจทก์แล้ว ดังนี้ไม่ทำให้สัญญาค้ำประกันระงับ จำเลยที่ 2ยังผูกพันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยมิได้ยกอายุความเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การคงให้การต่อสู้เฉพาะเรื่องเบี้ยปรับ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความเกี่ยวกับค่าเสียหายมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะรับวินิจฉัยหรือศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไม่มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์คืนสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันโดยเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับกับค่าเสียหายให้โจทก์แล้ว ดังนี้ไม่ทำให้สัญญาค้ำประกันระงับ จำเลยที่ 2ยังผูกพันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน: กรณีส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามสัญญาและคืนสัญญาค้ำประกันโดยเข้าใจผิด
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่า ถ้ามีกรณีโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อสัญญา อันคู่สัญญาจะตกลงประนีประนอมกันมิได้ ให้คู่สัญญาเสนอข้อพิพาทที่โต้แย้งต่ออนุญาโตตุลาการที่พักอาศัยในประเทศไทยเพื่อชี้ขาด โดยต่างฝ่ายต่างมีสิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละหนึ่งคนนั้น หมายถึงข้อขัดแย้งอันเป็นอุปสรรคที่ทำให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ การที่จำเลยที่ 1 ส่งของไม่ตรงตามกำหนดสัญญาและส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับพิธีศุลกากรให้โจทก์ล่าช้า จึงมิใช่ข้อขัดแย้งอันเกิดจากสัญญาซึ่งจะต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ทั้งตามสัญญาก็ไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลได้
จำเลยมิได้ยกอายุความเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การคงให้การต่อสู้เฉพาะเรื่องเบี้ยปรับ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความเกี่ยวกับค่าเสียหายมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะรับวินิจฉัย หรือศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไม่มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์คืนสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน โดยเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับกับค่าเสียหายให้โจทก์แล้ว ดังนี้ไม่ทำให้สัญญาค้ำประกันระงับ จำเลยที่ 2 ยังผูกพันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยมิได้ยกอายุความเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การคงให้การต่อสู้เฉพาะเรื่องเบี้ยปรับ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความเกี่ยวกับค่าเสียหายมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะรับวินิจฉัย หรือศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไม่มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์คืนสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน โดยเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับกับค่าเสียหายให้โจทก์แล้ว ดังนี้ไม่ทำให้สัญญาค้ำประกันระงับ จำเลยที่ 2 ยังผูกพันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเรื่องเวนคืนที่ดิน: การเสนอคดีต่อศาลต้องเป็นคำฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรมจึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกัน ได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ. ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่าให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ. ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วยจึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาทผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วยจึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาทผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอข้อพิพาทราคาเวนคืนที่ดินต่อนอกศาล และการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรม จึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกันได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ.ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่า ให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ.ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วย จึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วย จึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นของทั้งสองฝ่าย
ที่ดินของผู้คัดค้านอยู่ในเขตเวนคืนกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับผู้คัดค้านไม่ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ผู้บัญชาการทหารบกผู้ร้อง ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงได้มีหนังสือถึงผู้คัดค้านกำหนดราคาเด็ดขาดสำหรับค่าทดแทนที่ดิน หากผู้คัดค้านไม่สนองรับภายใน 15 วัน ผู้ร้องจะขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไป ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบมาภายใน 15 วัน ว่าไม่ยินยอมตกลงตามราคาที่ผู้ร้องกำหนดมา และขอใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายเช่นเดียวกัน แสดงว่าผู้คัดค้านเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ประสงค์ใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการ และนำเงินค่าทดแทนมาวางศาลเพื่อจะเข้าครอบครองที่ดินหาได้ไม่ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มิได้บังคับว่าการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการจะต้องระบุข้อบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 211 ไว้ด้วย และการดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไปนั้น มิได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายในอันที่จะดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไป