คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม. 14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและความชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีอาญา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีปลอมแปลงเอกสารธรรมดา แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและ ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การยื่นฟ้องคดีตามสถานที่เกิดเหตุและการใช้ดุลพินิจของศาล
การยื่นคำร้องขอฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (2) เดิม กฎหมายให้พิจารณาถึงความสะดวกเป็นสำคัญว่าจะให้ฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นหรือไม่ เมื่อมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรีโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดชลบุรีได้ และโจทก์จะยื่นคำร้องเมื่อศาลจังหวัดชลบุรีมีคำสั่งรับฟ้องแล้วก็ได้ เมื่อศาลจังหวัดชลบุรีได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) เดิม ศาลจังหวัดชลบุรีมีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การฟ้องคดีที่มูลคดีเกิดในเขตศาล และการยื่นคำร้องขอฟ้องต่อศาลที่ไม่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การยื่นคำร้องขอฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิม กฎหมายให้พิจารณาถึงความสะดวกเป็นสำคัญว่าจะให้ฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นหรือไม่ เมื่อมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรีโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดชลบุรีได้และโจทก์จะยื่นคำร้องเมื่อศาลจังหวัดชลบุรีมีคำสั่งรับฟ้องแล้วก็ได้เมื่อศาลจังหวัดชลบุรีได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิมศาลจังหวัดชลบุรีมีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากหนังสือมอบอำนาจปลอม และผลกระทบต่อการขายฝาก
จำเลยที่ 1 ใช้ใบมอบอำนาจของ อ. ซึ่งเป็นใบมอบอำนาจปลอมโอนขายที่ดินของ อ.ให้จำเลยที่2โดยอ. มิได้รู้เห็นยินยอม แล้วจำเลยที่ 2 นำที่ดินไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและย่อมไม่มีอำนาจที่จะนำไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ได้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกลับคืนมาเป็นของ อ. ตามเดิมได้
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐม การที่ศาลแพ่งรับฟ้องรับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงว่าศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเนื่องจากมีการปลอมเอกมอบอำนาจ และการซื้อขายไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ใช้ใบมอบอำนาจของ อ. ซึ่งเป็นใบมอบอำนาจปลอมโอนขายที่ดินของ อ. ให้จำเลยที่ 2 โดย อ. มิได้รู้เห็นยินยอม แล้วจำเลยที่ 2 นำที่ดินไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและย่อมไม่มีอำนาจที่จะนำไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ได้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกลับคืนมาเป็นของ อ. ตามเดิมได้
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐม การที่ศาลแพ่งรับฟ้องรับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงว่าศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แม้แก้ฟ้องภายหลัง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างต่อศาลแพ่งโดยระบุในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานคร ศาลแพ่งสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสมุทรสาคร โจทก์จึงแก้ฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองใหม่ ศาลแพ่งอนุญาตและในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองที่ศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต เมื่อศาลแพ่งมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งและจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) ได้ด้วยและศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งได้ตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว แม้คำร้องขอของโจทก์จะยื่นเข้ามาภายหลังจากยื่นคำฟ้องแล้วก็ตามย่อมแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งในการพิจารณาคดีนอกเขตอำนาจศาลและภูมิลำเนาจำเลย การใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างต่อศาลแพ่งโดยระบุในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ศาลแพ่งสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสมุทรสาคร โจทก์จึงแก้ฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองใหม่ ศาลแพ่งอนุญาตและในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองที่ศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต เมื่อศาลแพ่งมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งและจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ได้ด้วยและศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งได้ตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว แม้คำร้องขอของโจทก์จะยื่นเข้ามาภายหลังจากยื่นคำฟ้องแล้วก็ตามย่อมแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องจำเลยนอกภูมิลำเนาต้องมีคำขออนุญาตจากศาล
คำฟ้องคดีไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์เหล่านั้น โจทก์ต้องฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) ถ้าโจทก์จะฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสุรินทร์ที่มูลคดีเกิดขึ้น โจทก์จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องแสดงให้เห็นว่าการพิจารณาคดีในศาลจังหวัดสุรินทร์จะเป็นการสะดวกเพื่อให้ศาลจังหวัดสุรินทร์ใช้ดุลยพินิจอนุญาตเสียก่อน โจทก์จึงจะฟ้องจำเลยได้ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) บัญญัติบังคับไว้ การที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องและมิได้แสดงให้ศาลจังหวัดสุรินทร์เห็นว่าจะเป็นการสะดวกในการพิจารณา แม้ต่อมาศาลจังหวัดสุรินทร์จะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ดำเนินดคีอย่างคนอนาถา ให้รับคำฟ้อง หมายเรียกจำเลยแก้คดี ก็ถือไม่ได้ว่าศาลได้อนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยนอกเขตศาลจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่
ข้อเท็จจริงใหม่ที่โจทก์ยกขึ้นมาอ้างในชั้นฎีกาซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอใหม่ ไม่เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลเดิม เว้นแต่มีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวง พ.ศ. 2517 บัญญัติให้ศาลแขวงชลบุรีมีเขตอำนาจครอบคลุมท้องที่อำเภอบ้านบึงจึงมีเขตอำนาจรวมถึงกิ่งอำเภอหนองใหญ่ซึ่งเป็นท้องที่ส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านบึงในขณะนั้น แม้ต่อมาจะมีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองใหญ่ ฯลฯ พ.ศ. 2524 ให้ตั้งกิ่งอำเภอหนองใหญ่เป็นอำเภอหนองใหญ่ก็ตาม แต่พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองใหญ่ ฯลฯ พ.ศ.2524 มิได้บัญญัติไว้ว่าบรรดาคดีของท้องที่กิ่งอำเภอหนองใหญ่ที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลแขวงชลบุรีก่อนตั้งอำเภอหนองใหญ่จะให้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลใดอำเภอหนองใหญ่จึงยังคงอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงชลบุรีดังเดิม
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเขตอำนาจของศาลแขวงชลบุรีไม่คลุมถึงอำเภอหนองใหญ่ ให้ศาลจังหวัดชลบุรีประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาและศาลจังหวัดชลบุรีได้สั่งประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาคดีไปแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าศาลจังหวัดชลบุรีใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (2) แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้ไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้
of 2